ก๊าซชีวภาพ


คลิกสอง

 

ก๊าซชีวภาพ คืออะไร ก๊าซชีวภาพ คือ ก๊าซที่เกิดจากมูลสัตว์ หรือสารอินทรีย์ต่างๆ ถูกย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ในสภาพไม่มีอากาศ ทำให้เกิดก๊าซขึ้น ซึ่งก๊าซที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซที่ผสมกันระหว่างก๊าซชนิดต่างๆได้แก่ มีเทน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แต่ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้

  ทำไมถึงต้องมีก๊าซชีวภาพ ปัจจุบันนี้การเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีการขยายตัวสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ แต่การขยายตัวของกิจการเลี้ยงสัตว์ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาตามมา คือมลพิษที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมอันเนื่องมาจากมูลสัตว์และของเสียต่างๆที่ได้จากระบบฟาร์ม ซึ่งไม่สามารถหาวิธีกำจัดของเสียเหล่านี้ได้ถูกต้องเหมาะสมทำให้เกิดมลภาวะทั้งภายในฟาร์ม และชุมชนใกล้เคียงในเรื่องของกลิ่น แมลงวัน น้ำเสีย โรคภัยต่างๆการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สร้างบ่อก๊าซชีวภาพ สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากรักษาสภาพแวดล้อมแล้วยังได้ก๊าซชีวภาพมาเป็นแหล่งพลังงานในการหุงต้ม และให้แสงสว่างในครัวเรือนซึ่งจะช่วยให้ประหยัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง บ่อก๊าซชีวภาพยังให้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดินเพิ่มผลผลิตพืชได้อีกด้วย หรือนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพใช้ปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์กับพืชมากขึ้น ทำให้ลดการขาดดุลทางการค้าในการสั่งปุ๋ยจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง

ด้านพลังงาน

ก๊าซชีวภาพจุดติดไฟ และให้ความร้อนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น

ใช้หุงต้มอาหาร    

  จุดตะเกียงให้แสงสว่าง    

 ใช้กับเครื่องกกลูกหมู

       

เครื่องทำน้ำอุ่น           

เตาอบผลผลิตทางการเกษตร 

 ใช้กับเครื่องยนต์ผสมอาหารสัตว์      

 

  ด้านการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม

การนำมูลสัตว์ไปหมักในสภาพไร้อากาศในบ่อก๊าซชีวภาพมูลสัตว์ที่นำมาหมักจะถูกย่อยสลายทำให้กลิ่นและไข่แมลงต่างๆ ที่มีอยู่ในมูลสัตว์จะถูกทำลายลงไปในขณะที่มีการหมัก ซึ่งจะทำให้ลดมลภาวะการระบาดของแมลงและกลิ่นได้

     ช่วยลดการเกิดกลิ่นเหม็นในฟาร์ม   

ลดการเน่าเสียของแหล่งน้ำ

               ลดการตัดไม้ทำลายป่า                   

ลดเขม่าจากการใช้ฟืนหุงต้ม    

    

  ให้ปุ๋ยอินทรีย์ในการฟื้นฟูสภาพดิน

มูลสัตว์ที่ผ่านการหมักแล้วสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชและปรับปรุงบำรุงดินที่มีคุณภาพ

กากจากบ่อล้นประกอบด้วยธาตุอาหารพืชพวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมที่เป็นประโยชน์กับพืชและอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที อีกทั้งกากบ่อล้นยังทำให้โครงสร้างดินเกาะตัวกันได้ดีขึ้นมีผลทำให้อินทรียวัตถุคงสภาพในดินได้นาน ซึ่งดีกว่าการใช้อินทรียัตถุในรูปอื่นๆ

การหมักสภาพแบบไร้อากาศ ทำให้ปริมาณของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคพืชบางชนิดลดลงได้ และยังมีส่วนในการทำลายความงอกของเมล็ดวัชพืช เมื่อนำมูลสัตว์ที่ได้จากการหมักไปใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดการระบาดของวัชพืช

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้แก่ มูลสัตว์นำมาผลิตก๊าซชีวภาพให้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากบ่อก๊าซเชื้อเพลิง
ควบคุมมลพิษจากของเสียที่ปล่อยจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชนใกล้เคียง
เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำกากที่ได้จากการหมักของบ่อก๊าซชีวภาพมาเป็นปุ๋ยบำรุงดิน และเพิ่มผลผลิตพืช
เพิ่มโอกาสการจ้างงานแก่ช่างฝีมือท้องถิ่นในการก่อสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ

การให้บริการจากโครงการ

ให้คำแนะนำเทคนิคการก่อสร้าง การใช้ประโยชน์และการดูแลรักษาบ่อก๊าซชีวภาพ
จัดหาช่างฝีมือที่ผ่านการฝึกอบรมจากโครงการไปเป็นผู้ก่อสร้างบ่อก๊าซชีวภาพให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
บริการตรวจสอบและรับประกันคุณภาพการใช้งานภายในระยะเวลา 1 ปี
อุดหนุนค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละ 45 ของราคาค่าก่อสร้างมาตรฐานที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดไว้
ประสานงานกับ ธ.ก.ส. เพื่อให้บริการสินเชื่อเป็นค่าก่อสร้างในส่วนที่เหลือร้อยละ 55 ที่เกษตรกรต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

 

 

  เกษตรกรจะเข้าร่วมโครงการได้อย่างไร

       หากเกษตรกรมีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่พร้อมกับแจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการ โดยโครงการมีแนวทางในการให้ความช่วยเหลือคือ จะสนับสนุนเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอัตราร้อยละ 45 ของราคาค่าก่อสร้าง ส่วนที่เหลือร้อยละ 55 เกษตรกรเจ้าของบ่อจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งในส่วนที่เกษตรกรจะต้องออกค่าใช้จ่ายเองนี้ เกษตรกรสามารถขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. ได้ ถ้ามีคุณสมบัติตามที่ ธ.ก.ส. ได้กำหนดไว้

 

  คุณสมบัติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรที่จะสร้างบ่อก๊าซชีวภาพจะต้องมีสัตว์เลี้ยงในจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดบ่อก๊าซชีวภาพ
เกษตรกรต้องมีคอกสัตว์และทำการเลี้ยงสัตว์อย่างถาวร
เกษตรกรจะต้องมีความสนใจในการใช้ก๊าซชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์
เกษตรกรยินดีออกค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากราชการสนับสนุน
เป็นผู้ยื่นความจำนงเข้าร่วมโครงการ

 

ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง

     บ่อขนาด     (ลบ.ม)

  ค่าก่อสร้าง      (บาท)

เงินสนับสนุน (บาท)

เกษตรกรออก*ค่าใช้จ่ายเอง (บาท)

12

27,000

12,150

14,850

15

33,000

14,850

18,150

30

48,900

22,000

26,900

50

86,000

38,700

47,300

100

160,000

72,000

88,000

 

ชนิดและจำนวนสัตว์ที่เหมาะสมกับขนาดบ่อ

ขนาดบ่อ (ลบ.ม)

สัตว์เลี้ยง (ตัว)

 12

 16

 30

 50

 100

วัวนม (ตัว)

5

7

17

28

56

วัวเนื้อ/ควาย (ตัว)

12

18

31

52

104

สุกร แม่พันธุ์ (ตัว)

25

38

83

139

278

สุกรขุน (ตัว)

55

74

140

230

460

สัตว์ปีก (เป็ด,ไก่)

2,200

2,960

5,600

9,200

18,400

สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอคำแนะนำได้ที่ เกษตรตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน   หรือ สถาบันพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต กรมส่งเสริมการเกษตร จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 5793664

 



แหล่งอ้างอิง : สถาบันพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต กรมส่งเสริมการเกษตร จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 5793664

โดย : นาย ศิริพล ชัยชนะ, มหาวิทยาราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547