นวัตกรรมเทคโนโลยีเมอร์เซเดสเบซ
นวัตกรรม
 
 
คอมเพรสเซอร์
ความคล่องตัวและการขับขี่อย่างเพลิดเพลินเป็นจุดเด่นที่สำคัญของรถยนต์ C-Class ด้วยเครื่องยนต์ซูเปอชาร์จ (KOMPRESSOR) ที่มีกำลังสูงมากขึ้น
 
ด้วยเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรซูเปอชาร์จพัฒนาใหม่ที่ติดตั้งในรถยนต์ C180 KOMPRESSOR และ C230 KOMPRESSOR ทำให้มันเป็นรถยนต์ที่มีความคล่องตัวที่สุดในรุ่นเดียวกัน C230 KOMPRESSOR เครื่องยนต์ 4 สูบ 192 แรงม้า เสริมด้วยระบบ TWINPULSE สามารถทำอัตราเร่งจากจุดหยุดนิ่งถึง 100 กม/ชม ในเวลาเพียง 8.2 วินาที! และ C180 KOMPRESSOR 143 แรงม้าก็ใช้เวลาเพียง 9.9 วินาทีเท่านั้น และถึงแม้จะเป็นเครื่องยนต์ที่ให้กำลังได้อย่างดีที่สุด ก็ไม่ได้กินน้ำมันมากแต่อย่างใด เพราะ C180 KOMPRESSOR มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยเพียง 8.4 ลิตร และ C230 KOMPRESSOR ใช้เพียง 8.9 ลิตรเท่านั้น
 
THERMOTRONIC Automatic Climate Control (ยกเว้นุรุ่น CLASSIC)
เมื่อพูดถึงระบบปรับอากาศในรถยนต์ C-Class มันเป็นรถยนต์เพียงรุ่นเดียวในรุ่นที่ติดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ ที่ใช้เซ็นเซอร์วัดความเข้มแสงอาทิตย์และปริมาณมลภาวะในอากาศ รวมทั้งฟิลเตอร์ Activated Charcoal กรองอากาศ
 
THERMOTRONIC
ระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ และช่องแอร์แยกส่วนผู้โดยสารตอนหน้าและผู้ขับขี่
เพิ่มเติมเซ็นเซอร์วัดความเข้มแสงอาทิตย์และปริมาณมลภาวะในอากาศภายนอก
ฟิลเตอร์ Activated Charcoal กรองอากาศ (กรองกลิ่น) หน้าจอแสดงผลจัดวางอย่างเป็นระเบียบทั้งอุณหภูมิและความแรงลม ช่องแอร์สำหรับที่นั่งด้านหลัง
 
Ellipsoid Firewall
โครงสร้างแข็งแรงสามารถรองรับแรงกระแทก และกระจายแรงชนนั้นออกไปเท่าๆกันในบริเวณกว้าง จึงช่วยปกป้องผู้โดยสารจากแรงกระแทกไม่ให้เข้ามาถึงห้องโดยสาร
 
Multi-function Steering Wheel
คุณสามารถตั้งค่าการทำงาน, เรียกดูข้อมูลจากหน้าจอบนแผงหน้าปัด, เปลี่ยนสัญญานระบบเครื่องเสียง (วิทยุ และเครื่องเล่น CD) หรือแม้กระทั่งตรวจสอบข้อมูลจาก Trip Computer ได้จากปุ่มที่ติดตั้งอยู่บนพวงมาลัย คุณจึงสามารถควบคุมการทำงานต่างๆเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายด้วยปลายนิ้วโดยไม่ต้องปล่อยมือจากพวงมาลัยหรือแม้กระทั่งละสายตาไปจากท้องถนน
 
Rain Sensor (ยกเว้นุรุ่น CLASSIC)
ถึงแม้ Rain Sensor จะไม่สามารถควบคุมสภาพอากาศได้ แต่อย่างน้อยด้วยอุปกรณ์ชิ้นนี้คุณสามารถควบคุมใบปัดน้ำฝน ไม่ว่าฝนจะตกหนักหรือเบาเท่าไร
ใบปัดน้ำฝนจะทำงานตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเลือกตั้งการทำงานได้ตั้งแต่ “ปิด” ไปจนกระทั่ง “เปิดตลอดเวลา”
 
The TWINPULSE
ระบบ TWINPULSE ช่วยให้ระบบ ซูเปอร์ชาร์จ และ แลนเชสเซอ บาลานเซอร์ ทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัวที่สุด เพลาสมดุลย์จะทำงานชดเชยแรงสั่นสะเทือน
ที่เกิดขึ้นตามปกติ ช่วยรักษาระดับความนุ่มนวลของการทำงานของเครื่องยนต์
เทคโนโลยี
 
DIRECT CONTROL
การขับขี่ที่ปราดเปรียวคล่องตัวใน C-Class ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาระบบพวงมาลัยและระบบปีกนก ทำให้พวงมาลัยรตอบสนองได้เที่ยงตรง แม่นยำ ช่วยให้การควบคุมรถทำได้อย่างเฉียบคม
จากการออกแบบช่วงล่างแบบใหม่และอัตราทดพวงมาลัยที่เที่ยงตรงมากขึ้นสำหรับการเข้าโค้งอย่างรวดเร็วแม่นยำ
 
ESP®
ก่อนที่รถจะเสียการทรงตัวหรือเมื่อตกอยู่ในสภาพที่คับขัน โปรแกรมการควบคุมการทรงตัวอัตโนมัติ ESP® (Electronic Stability Program) จะทำงานโดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็วภายในเสี้ยววินาที โดยจะมีตัวเซ็นเซอร์คอยตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพการขับเคลื่อน 
 
ซึ่งหากพบว่ารถกำลังจะสูญเสียการทรงตัว อาทิ มีล้อหนึ่งล้อใดหมุนเร็วกว่าปกติ หรือเกิดภาวะล้อไม่สัมผัสกับพื้นผิวของถนน ESP® จะทำหน้าที่สั่งให้เครื่องยนต์ลดกำลังความเร็วลงหรือสั่งไปยังระบบเบรกให้ลดความเร็วของล้อหนึ่งล้อใดลงในทันที เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ สามารถรักษาระดับของทิศทางและการทรงตัวของรถได้อย่างปลอดภัย
 
ระบบช่วยเบรก BAS (Brake Assist System)
ระบบช่วยเบรกคือ ระบบไฟฟ้าที่ตรวจจับการเบรกอย่างกระทันหัน และช่วยลดระยะเบรกให้สั้นลง หากผู้ขับขี่เบรกรถอย่างช้าๆ หรือเหยียบเบรกเบาเกินไปในเหตุการคับขัน ระบบ BAS จะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติด้วยการเพิ่มกำลังเบรกให้สูงสุดในช่วงเวลาเพียงเสี้ยววินาที จึงช่วยให้ระยะเบรกจากความเร็ว 100 กม/ชม ลดลงถึง 45%
 
Airbags and windowbags
ถุงลมนิรภัยจะทำงานช่วยปกป้องคุณในเสี้ยววินาทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้านหน้า และสำหรับถุงลมนิรภัยด้านหน้าจะสามารถพองลมออกได้เป็น 2 ระดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ ส่วนม่านถุงลมนิรภัยจะขยายตัวแบบม่านพองตัวจากเสา A ถึงเสา C  
 
เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด
เกียร์อัตโนมัติ 5 สปีดที่คุณสามารถควบคุมได้เพียงปุ่มเดียว เป็นเทคโนโลยีเดียวกับ S-Class ให้ความสนุก คล่องตัว ที่คุณสั่งได้เอง   
 
  • นายสุชาติ  ไกลแนว เอกอุตสาหกรรมศิลป์ ปี3
  • คณะเทคโนโลยีอุสาหกรรม
  • มหาวิทายาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์


แหล่งอ้างอิง : Mercedes-Benz

โดย : นาย สุชาติ ไกลแนว, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547