นิยาม SMEs

นิยาม SMEs

SMEs ย่อมาจากภาษาอังกฤษ Small and Medium Enterprises หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม"

สำหรับความหมายของวิสาหกิจ (Enterprises) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

1. กิจการการผลิต (Production Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining)

2. กิจการการค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)

3. กิจการบริการ (Service Sector)

ส่วนลักษณะขนาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดจากมูลค่าขั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร สำหรับกิจการแต่ละประเภท ดังนี้

1. กิจการการผลิต

ขนาดกลาง ไม่เกิน 200 ล้านบาท

ขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้านบาท

2. กิจการบริการ

ขนาดกลาง ไม่เกิน 200 ล้านบาท

ขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้านบาท

3. กิจการการค้า

- ค้าส่ง

ขนาดกลาง ไม่เกิน 100 ล้านบาท

ขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้านบาท

- ค้าปลีก

ขนาดกลาง ไม่เกิน 60 ล้านบาท

ขนาดย่อม ไม่เกิน 30 ล้านบาท

ความสำคัญของ SMEs ต่อระบบเศรษฐกิจ

SMEs คือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นวิสาหกิจที่มีความเหมาะสม มีความคล่องตัวในการ ปรับสภาพให้เข้ากับสถานการณ์ทั่วไปของประเทศอีกทั้งยังเป็นวิสาหกิจที่ใช้เงินทุนในจำนวนที่ต่ำกว่า

วิสาหกิจขนาดใหญ่ และยังช่วยรองรับแรงงานจากภาคเกษตรกรรม เมื่อหมดฤดูกาลเพาะปลูก รวมถึงเป็น

แหล่งที่สามารถรองรับแรงงานที่เข้ามาใหม่ เป็นการป้องกันการอพยพของแรงงานเข้ามาหางานทำใน

เขตกรุงเพทฯ และปริมณฑล ซึ่งช่วยกระจายการกระจุกตัวของโรงงานกิจการวิสาหกิจในเขตกรุงเทพฯ

และปริมณฑลไปสู่ภูมิภาค ก่อให้เกิดการพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาค และของ

ประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

จากรายงานของธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า ในปี 2541 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and

Medium enterprises : SMEs) ซึ่งประกอบด้วย กิจการการผลิต การค้า และธุรกิจบริการ มีจำนวน

รวมทั้งสิ้น 311,518 ราย คิดเป็นสัดส่วน 92% ของวิสาหกิจทั้งหมดในประเทศ ในจำนวนนี้เป็นวิสาหกิจ

ประเภทการค้า (ค้าส่ง ค้าปลีก ภัตตาคารและโรงแรม) มากที่สุด 134,171 ราย คิดเป็น 43% รองลงมา

เป็นภาคการผลิต จำนวน 90,122 ราย คิดเป็น 28.9% และการบริการ จำนวน 87,225 ราย คิดเป็น 28.7%

กล่าวโดยสรุป SMEs มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ คือ

1. ช่วยการสร้างงาน

2. สร้างมูลค่าเพิ่ม

3. สร้างเงินตราต่างประเทศ

4. ช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ โดยการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

5. เป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุน และสร้างเสริมประสบการณ์

6. ช่วยเชื่อมโยงกับกิจกรรมขนาดใหญ่ และภาคการผลิตอื่นๆ เช่น ภาคเกษตรกรรม

7. เป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมือ



แหล่งอ้างอิง : หนังสือsmes หน้า 25-26 25 มกราคม 2531
[ถัดไป>>] 

โดย : นาย ณัฐพงษ์ ชุมแสง, ร.ร.สวนศรีวิทยา, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547