เตี้ยด้วยถุงลม
 เตี้ยด้วยถุงลม  ( Air Lift )

                           ในกระบนการโหลดรถในบ้านเรานั้น  มีให้เราเลือกทำกันหลากหลายอยู่พอสมควร  แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นที่สเตปพื้นฐานกันมากกว่า   และที่สูงสูกของกระบวน การโหลดรถ  ก็คือ  การติดตั้งระบบ  ไฮดรอลิกส์  ซึ่งก็เป็นที่นิยมมากในบ้านเรา

                           ในขณะนี้กำลังมีคู่แข่งของช่วงล่างแบบไฮดรอลิกส์  ก้คือ  ช่วงล่างแบบถึงลม  ( Air Lift )  นั้นเอง

                                    ข้อดีของช่วงล่างแบบถุงลม
                   - ราคาถูกกว่า  ( เมื่อเทียบกับชุด  Hydraulic )
                   - บำรุงรักษาน้อยกว่า
                   - ทรงตัวได้ดี  ขณะใช้ความเร็วสูง
                   - รับน้ำหนักบรรทุกได้ดี

                                   ข้อเสีย
                   - ทำให้รถราคาตกเมื่อขาย
                   - สามารถโหลดเตี้ย - ยกสูงได้ไม่มาก  ( ประมาณ  5  นิ้ว )

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบช่วงล่างแบบถุงลม

                   1. ปั้มลม  ขนาด  150  PSI
                   2. ถังเก็บลม
                   3. เกจ์วัดและสวิทช์ควบคุม
                   4. ท่อทางเดินของลม
                   5. ชุดถุงลม

 

                   

ขั้นตอนการทำงานของระบบถุงลม

                         คือ  เริ่มจากชุดปั๊มลมขนาด  150  PSI  มีระบบการทำงานภายในตัวเองโดยอาศัยกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ เพราะมีMOTOR ควบคุมวางปั๊มลมและสั่งลมที่ได้ต่อไปเก็บยัง  TANK (แท๊งค์)  จนเต็ม  หากเต็มแล้วตัวชุดปั๊มลมจะมีการตัดระบบการทำงานโดยอัตโนมัติปละเมื่อเราต้องการยกรถให้สูงขึ้น  ก็คอนโทรลที่ชุดสวิตช์เพื่อปล่อยลมจาก TANK ไปยังชุดถุงลมและจากนั้นถุงลมก็จะพองขึ้นและดันคัสซีส์รถให้สูงขึ้นไปด้วยและเมื่อเราต้องการให้รถอยู่ในสภาพเตี้ยตติดดินก็ปล่อยลมจากชุดถุงลมเท่านั้น  ตัวรถก็จะเตี้ยลงมาจนกองพื้น

 

 

 

                       

                          ก็นับว่าเป็นอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันมากในหมู่คนที่รักความเตี้ยเพราะมีระบบการทำงานไม่ยุ่งยากและง่ายต่อการติดตั้ง

      

 

 BY  GOAF

 

 Copyright © 2000-2002 http://www.thaiminitruck.com All rights reserved.
81/2 m.1 Pedkaseam RD., Banmai Sampran Nakronpathom 73110 
MOBILE: (09) 803-5057 (01) 8559657 TEL: (02) 813-9398 FAX: (02) 813-9398 E-mail: jinkung13@hotmail.com

 
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

ที่มา : นาย จำนงค์ โมรารักษ์ มหาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เอก อุตสาหกรรมศิลป์

โดย : นาย จำนงค์ โมรารักษ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิรดิตถ์, วันที่ 23 พฤศจิกายน 2547