นวัตกรรมเอกอุตสาหกรรมศิลป์

นาย นฤพนธ์ มั่นถึง

นวัตกรรม ดาเวนซี่หุ่นยนต์ผ่าตัดหัวใจ
ดาวินซี่ หุ่นยนต์ผ่าตัดหัวใจ



คลิีกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่



ในงาน "มหกรรมสุขภาพถวายไท้ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ" หรือ Thailand Healthcare Expo 2004 งานแสดงศักยภาพความเป็นผู้นำด้านการแพทย์ และบริการสุขภาพแห่ง เอเชีย ระหว่างวันที่ 1-8 ต.ค. 2547 ณ ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค อารีนา เมืองทองธานี ได้มีโอกาสแวะไปชมหุ่นยนต์ผ่าตัดหัวใจตัวแรกของไทย "ดาวินชี่" (da Vinci surgical System) ที่บูธโรงพยาบาลกรุงเทพ

เพียงเห็นอุปกรณ์ที่โยงใยอยู่ในห้องผ่าตัดจำลองสถานการณ์ถึงกับตะลึง!! ในการเปลี่ยน แปลงของวงการแพทย์ไทย ที่นำความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าทึ่ง

ใครจะไปคิดว่าการผ่าตัดหัวใจด้วยดาวินชี่!! แพทย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่จำเป็นต้อง อยู่ในห้องผ่าตัด หรือ ประเทศนั้นระหว่างการผ่าตัด แต่ใช้วิธีควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์จากการสื่อสารผ่านดาวเทียม!!

พ.ต.ท.น.พ.สุจิตร์ บัญญัติปิยพจน์ศัลยกรรม โรคหัวใจและทรวงอก รพ.กรุงเทพ เล่าว่า ในแต่ละปีมีคนไทย เข้ารับการผ่าตัดหัวใจประมาณ 7,000 คน โดย 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นการผ่าตัดทำบาย พาสและการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ ซึ่งแผลหลังผ่าจะมีขนาดกว้างราว 4-5 นิ้ว ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนาน แต่การผ่าตัดผ่านปลายมีดดาวินชี่มีแผลกว้างเพียง 1 เซนติเมตรเท่านั้น

เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวแปลการเคลื่อนไหวของมือศัลยแพทย์ให้เป็นการเคลื่อนไหวของแขนหุ่นยนต์ที่ใส่เข้าไปในตัวผู้ป่วย ส่งผลให้ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อย แถมแผลเป็นที่ได้ยังสวยงามกว่าเดิม

โดยขั้นตอน การผ่าตัดยังคงถูกควบคุมด้วยศัลย แพทย์มืออาชีพเหมือนเดิม เพียงแต่แพทย์จะใช้แขน หุ่นยนต์ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าทำงานแทน เพื่อให้แผลมีขนาด เล็กและป้องกันอาการมือสั่นระหว่างการผ่าตัด โดยมองภาพการผ่าตัดผ่านจอควบคุมแสดงผลแบบ 3 มิติ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาในการผ่าตัดมากกว่าการผ่าตัดแบบเดิม 30 เปอร์เซ็นต์ จาก 3 ชั่วโมง เป็น 5 ชั่วโมง รวมทั้งค่าใช้จ่ายแพงขึ้น 20-30 เปอร์เซ็นต์

และจากสถิติการทำงานของดาวินชี่ในสหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือน ต.ค. 44-ก.ค. 45 ด้วยการผ่าตัดผู้ป่วยจำนวน 22 ราย (เป็นชาย 4 คน) พบว่า หลังผ่าตัดไม่มีการปลิ้นของรอยซ่อมที่ลิ้นหัวใจ เสียชีวิต หรือต้องผ่าตัดใหม่เพราะเลือดออก โดยระบุเวลาการผ่าตัดทำบายพาสระบบหัวใจและปอดส่วนปลายใช้เวลา 124 นาที การหนีบหลอดเลือดใช้เวลาผ่าตัด 86 นาที โดยผู้ป่วย 8 รายสามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

อ้างอิง www.connectteen.com


ที่มา : www.google.com

โดย : นาย นฤพนธ์ มั่นถึง, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 23 พฤศจิกายน 2547