การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยภาพเคลื่อน
การท่องไปในเว็บไซต์ต่าง ๆ          หรือ การเข้าไปร่วม
กิจกรรมในห้องสนทนา (Chat room) หรืออ่านข้อความที่มีผู้นำเสนอกระทู้หรือความคิดเห็นต่างๆ ในกลุ่มที่สนใจในเรื่องเดียวกัน (Web board or discussion group) หรือแม้แต่การร่วมให้คะแนนแก่รูปภาพสวยๆ ที่นำเสนอในห้องประกวดสติกเกอร์ ฯลฯ ล้วนกำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้บริการในอินเตอร์เนตในบ้านเรา ซึ่งจากสถิติที่มีผู้สำรวจพบว่าผู้ใช้ที่มีอัตราการเข้าใช้อินเตอร์เนตมากที่สุดคือผู้ใช้ที่มีอายุระหว่าง 20-29 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 30-39 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ในกรุงเทพฯและเขตปริมณฑล และมักเป็นผู้ที่มีความรู้ระดับปริญญาตรีขึ้นไป (อ้างอิง 1)
            อย่างไรก็ดีปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้ประสบบ่อยคือต้องเสียเวลารอในขณะที่ใช้บริการเว็บยอดนิยมของตนเอง และถ้าเป็นเว็บที่มีการนำเสนอด้วยรูปภาพหรือรูปกราฟฟิกที่สวยๆงามๆ ประกอบกับที่มีผู้ร่วมเข้าใช้บริการในเว็บเดียวกันจำนวนมาก ยิ่งต้องทำใจสักหน่อย ด้านผู้พัฒนาเว็บเองก็คงปวดหัวกับปัญหานี้เช่นกันเพราะหากจะพัฒนาเว็บที่ตอบสนองผู้ใช้แบบเร็วๆ ก็ต้องลดปริมาณหรือขนาดของภาพสวย ๆ ลง พยายามนำเสนอเนื้อหาที่เป็นข้อความให้มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาเองรู้อยู่เต็มอกว่า เว็บที่มีแต่ข้อความไม่ค่อยเป็นที่น่าสนใจสำหรับวัยรุ่นหรือประชากรกลุ่มที่ใช้อินเตอร์เนตกลุ่มใหญ่ที่สุดเท่าไหร่นัก ดังนั้นการพัฒนาเว็บสวยและให้บริการได้เร็วทันใจ
             จึงเป็นเหมือนบทพิสูจน์ความพยายามของนักพัฒนาเว็บไซต์ทีเดียว จากแรงกระตุ้นนี้ทำให้เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บได้รับการปรับปรุงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ผลิตโปรแกรมเพื่อการทำหน้าเว็บ ซึ่งพยายามนำเสนอวิธีการที่สามารถทำให้เพิ่มรูปภาพหรือเสียงเข้าไปในหน้าเว็บได้โดยผู้ใช้สามารถรับภาพและเสียงเหล่านั้นในเวลาอันสั้น บางผลิตภัณฑ์อย่าง Adobe Image ready ที่ภายหลังนำมารวมกับการให้บริการของ PhotoShop 6.x นำเสนอวิธีการแบ่งซอยภาพออกเป็นชิ้นเล็ก (Slice) เพื่อให้แต่ละส่วนของภาพมีขนาดเล็กและใช้เวลาอันสั้นที่จะส่งภาพแต่ละชิ้นจากเครื่องที่เป็นเว็บเซอร์เวอร์(Web Server)มายังบราวเซอร์ (Browser) ของผู้รับ ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถต่อภาพเหล่านี้บนหน้าจอภาพของผู้ใช้อย่างไร้รอยต่อ แต่ก็จะเหมาะสำหรับการนำเสนอภาพนิ่งและไม่สะดวกต่อการให้ผู้ใช้ดึงภาพนั้นมาใช้งานได้เพราะต้องคอยเลือกและดึงลงมา(Download)ที่ละชิ้นตามลำดับจนกว่าจะครบ ทั้งยังไม่สนับสนุนการทำภาพแบบเคลื่อนไหวได้ (Graphic Animation)


แหล่งอ้างอิง : จากเว็บไซต์ใหม่ เว็บ \"เด็กมอ\"
[ถัดไป>>] 

โดย : นาย อนุพงค์ พุ่มใหญ่, สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547