พลังงาน (ญี่ปุ่น)พ.ศ. 2553

 

 


คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

พลังงาน (ญี่ปุ่น) พ.ศ. 2553

นับแต่เหตุการณ์วิกฤตน้ำมัน อุตสาหกรรมเหล็กกล้าญี่ปุ่นสามารถประหยัดการใช้พลังงานลงมามากกว่า 20 % เพื่อสงวนพลังงานและช่วยแก้ไขปัญหาอุณหภูมิโลก และเป็นที่มาของการประหยัดการใช้พลังงานในอนาคตของญี่ปุ่น โดยตั้งเป้าถึงปี พ.ศ. 2553 ให้สูงขึ้นอีก 11.5 %
อุตสาหกรรมเหล็กกล้าญี่ปุ่นมีความต้องการพลังงานถึง 11 % จากจำนวนที่ใช้ภายในประเทศและปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 คิดเป็นสัดส่วน 15% จากกระบวนการผลิตที่ใช้ถ่านหินเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาละลายสินแร่เหล็กในเตาหลอม blastfurnace จากมูลเหตุดังกล่าวจึงกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงาน อาทิเช่น การเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ลดขั้นตอนการผลิตและนำพลังงานที่ปล่อยทิ้งไปกลับมาใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ซึ่งการหมุนเวียนพลังงานมากกว่า 20 % นับแต่เกิดวิกฤตน้ำมันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 (หน่วยการใช้พลังงานเปรียบเทียบจากพลังงานที่ใช้ผลิตเหล็กน้ำหนักหนึ่งตัน)
ผลที่ได้จากการรุกเร้ามาตรการอนุรักษ์พลังงาน อุตสาหกรรมเหล็กกล้าญี่ปุ่นจึงมุ่งมั่นใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุกในโลก มองเห็นคุณค่าความสำคัญมาตรการควบคุมอุณหภูมิโลกและดำเนินการสงวนรักษาพลังงานอย่างต่อเนื่อง ลดการปล่อยแก๊ส CO2 และร่วมมือใน "แผนรณรงค์คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยอาสาสมัครผู้ผลิตเหล็กกล้า" เพื่อสนับสนุนมาตรการอนุรักษ์พลังงานใหม่ภายในปี พ.ศ. 2553

การนำพลาสติกเสียกลับมาใช้ใหม่

ในปีปีหนึ่งพลาสติกเสียที่อยู่ในกองขยะทั่วไปจำนวน 4.5 ล้านตัน และจากขยะอุตสาหกรรม 4.5 ล้านตัน อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าญี่ปุ่นมากกว่าครึ่งประสบความสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำพลาสติกเสียกลับมาใช้ประโยชน์กระบวนการที่มีศักยภาพเชิงปฏิบัตินำมาแทนที่ในสายงานผลิต สามารถจัดการพลาสติกเสียจำนวน 140,000 ตันในปี พ.ศ. 2543 และ 210,000 ตันในปี พ.ศ. 2544
เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับแยกสลายสารประกอบคลอรีนจากขยะพลาสติกที่มีองค์ประกอบ Vinyl Chloride การจัดการพลาสติกเสียดังกล่าวด้วยเทคโนโลยีทั่วไปจะต้องนำมาคัดแยกประเภทก่อนนำกลับมาใช้อีก แต่เทคโนโลยีใหม่สามารถจัดการพลาสติกที่มีองค์ประกอบ Vinyl Chloride ซึ่งสามารถใช้ในกระบวนการผลิตและพร้อมกับนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในเวลาเดียวกัน ผลที่ได้จาการใช้เทคโนโลยีทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พลาสติกเสียประมาณ 6.6 ล้านตันต่อปี

การถ่ายทอดเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานในต่างประเทศ

กลุมอุตสาหกรรมเหล็กกล้าญี่ปุ่นมีสาวในกิจกรรมความร่วมมือเทคนิคกับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างประเทศในเขตพื้นที่อนุรักษ์พลังงาน โดยตั้งเจตนาอย่างแน่วแน่ที่จะขยายภาระกิจคุ้มครองสิ่งแวดล้อมโลกในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนกิจกรรมโครงการลดการปล่อย CO2 ในประเทศกำลังพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในต่างประเทศ

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ


แหล่งอ้างอิง : ภัคพงศ์ ถาวรพาณิช. \"พลังงาน (ญี่ปุ่น) พ.ศ.2553.\" วารสารเทคโนโลยี. 23,2 (เมษายน-มิถุนายน 2545) : 25-27.

โดย : นางสาว ทิพาตินันท์ สุดแจ้ง, สถาบันราชภัฏเพชรบุรี, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547