ปัญหาคอมพิวเตอร์

 

   ในยุคดิจิตอลเช่นนี้  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและทันสมัยมากจนเรียกได้ว่าสามารถย่อโลกไว้ในมือกันเลยทีเดียว  โดยกิจกรรมประจำวันต่างๆ  ในยุคดิจิตอล  ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น  การใช้บัตรเอทีเอ็ม  การสื่อสารทางโทรศัพท์  การถ่ายทอดสดกีฬาผ่านดาวเทียม  ตลอดจนการควบคุมอากาศยาน  งานการรักษาพยาบาล  และการฝากเงินธนาคาร  เป็นต้น

    แต่ถึงอย่างไร  ความจริงที่ต้องยอมรับคือ  เทคโนโลยีทุกอย่างนั้น  ให้ทั้งคุณและโทษสำหรับผู้ใช้ทั้งสิ้น  ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง  และจากมนุษย์ที่ใช้เทคโนโลยี

     

   ปัจจัยอย่างหลังนี่เอง  ที่ก่อให้เกิดปัญหา"อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์" (Computer  Crime) อันเป็นปัญหาหลักที่นับว่ากำลังทวีความรุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ  ซึ่งแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ  "อินเทอร์เน็ต"  ที่เป็นเช่นนี้เกิดจากความต้องการเก็บข้อมูลต่างๆทั้งในวงการธุรกิจและแวดวงราชการไว้ในคอมพิวเตอร์  แล้วสามารถติดต่อเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้  จนกลายเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนมาก  และเปิดโอกาสให้สมาชิกคนหนึ่งในเครือข่ายนั้น  นำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้น

   ส่วนรูปแบบที่จะเกิดอาชญากรรมนั้นก็มีหลายรูปแบบ  ปัจจุบันทั่วโลกจัดแบ่งลักษณะของการทำอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  ออกเป็น 9 ประเภทใหญ่ๆดังนี้

   1)  การโจรกรรมหรือการขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

   2)  การปกปิดความผิดของตัวเอง  เช่น  ใช้คอมพิวเตอร์ปกปิดความผิดตนเองโดยตั้งรหัสไม่ให้คนอื่นรู้

   3)  การละเมิดลิขสิทธ์

   4)  ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพหรือเสียงลามกอนาจาร

   5)  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฟอกเงิน

   6)  อันตพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปก่อกวน

   7)  การหลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม

   8)  แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ

   9)  ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง

  นอกจากนี้  ยังมีการแบ่งลักษณะของอาชญากรคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่มๆโดยจำแนกไว้ดังนี้

   1)  พวกเด็กหัดใหม่  ที่เริ่มหัดใช้คอมพิวเตอร์มาได้ไม่นาน

   2)  พวกจิตวิปริต  (Darned  person)  มีลักษณะชอบความรุนแรง  และอันตราย

   3)  พวกกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกัน  (Organized  Crime)  ทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆที่มีระบบ

   4)  พวกอาชญากรมืออาชีพ  (Career  Criminal)  เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก

   5)  พวกหัวพัฒนา  (Com  Artist)  เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์

   6)  พวกบ้าลัทธิ  (Dreamer)  เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง

   7)  พวกแครกเกอร์  (Cracker)  หมายถึง  ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี

    คำว่า"อาชญากรคอมพิวเตอร์"  นี้  คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ให้คำจำกัดความไว้ว่าคือ  การกระทำผิดทางกฎหมายโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ  ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับ  "การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล"  อาทิ  การนำเอาข้อมูลของคนอื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต  หรือขโมยเอา  Passwords  ของคนอื่นมาเพื่อใช้กระทำกิจกรรมอะไรต่างๆที่ไม่ดี 


ที่มา : มานพ เพิ่มพูน ปัญหา Computer Crime ภัยร้ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปีที่ 1 ฉบับที่9 มกราคม 2547 CIO FORUM

โดย : นางสาว ลักขณา สนิทประโคน, สถาบันวไลยอลงกรณ์, วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547