บริการอ้างอิงยุคอินเตอร์เน็ต

 

 

บริการอ้างอิงยุคอินเตอร์เน็ต:เควชชั่นพอยต์(QuestionPoint)

     บริการอ้างอิง  หรืออาจเรียกว่า บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เริ่มกำหนดขึ้นอย่างเป็นรูปแบบเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา โดยแนวคิดของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนแห่งเมืองวูซเชสต์ มลรัฐแมสซาชูเสท ประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อ แซมมวล กรีน(Samuel Green)ห้องสมุดหลายแห่งได้นำแนวคิดนี้มาปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นลำดับ

รูปแบบการดำเนินงานมีวิวัฒนาการจากรูปแบบดั่งเดิมที่ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการต้องมีปฎิสัมพันธ์แบบพบหน้าซึ่งมีข้อจำกัดหลายประการ  จนถึงระบบที่ผู้ใช้มีการปฏิสัมพันธ์กันทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้ขีดจำกัดในด้านเวลาและระยะทางดังตัวอย่างของบริการที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้

 

 

 

ความหมายของบริการอ้างอิง

        หมายถึง  บริการของห้องสมุดประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของผู้ใช้บริการมากที่สุด  เหตุที่เรียกว่าบริการอ้างอิงเป็นเพราะในเบี้องแรกบรรณารักษ์ใช้หนังสืออ้างอิงในการให้บริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้  เนื่องจากหนังสืออ้างอิงจัดว่าเป็ยแหล่งข้องมูลพื้นฐานสำคัญที่สามารถให้คำตอบได้ทุกเรื่อง  ต่อมาเมื่อมีการขยายขอบเขตของการบริการมากขึ้นจึงมีการเรียกบริการนี้เป็นอย่างอื่น  ได้แก่  บริการตอบคำถาม  บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า  และ  บริการสารสนเทศนั่นเอง

ความหมายของเควชชั่นพอยต์

       เป็นบริการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบคำถามอันหมายถึงบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า  หรือบริการอ้างอิงนั่นเอง 

คุณลักษณะเฉพาะของเควชชั่นพอยต์

 1. สามารถตอบคำถาม ติดตาม และจัดการกับคำถามจากผู้ใช้บริการผ่านทางเว็บไซต์

 2. สามารถส่งคำถมาและคำตอบในรูปของแบบฟอร์มคำถามในเว็บไซต์  อีเมล์  หรือการสนทนาสดได้

 3. มีเทคนิควิธีในการจัดการกับคำถามโดยอัตโนมัติ  คือส่งไปยังห้องสมุดท้องถิ่น  ห้องสมุดสมาชิกอื่นๆ หรือห้องสมุดที่เหมาะสมในเครือข่ายอ้างอิงทั่วโลกตามลำดับความเหมาะสม

 4. สามารถระบุได้ว่าห้องสมุดใดมีความเชี่ยวชาญในการตอบคำถมาสาขานั้นเพื่อให้ได้รับคำตอบที่ดีที่สุด

 5.สามารถบูรณาการเข้าระบบห้องสมุดเดิมได้

 6. เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการให้บริการห้องสมุด

 7.เป็นการสร้างความร่วมมือในการให้บริการห้องสมุด

การใช้บริการเควชชั่นพอยต์

      ห้องสมุดที่ต้องการให้บริการเควชชั่ยพอยต์ต้องสมัครเป็นสมาชิกสามารถเสียก่อนโดยสามารถสมัครผ่านทางเว็บไซต์หรือสมัครผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศนั้นๆ ได้ อาจสมัครในนามสถาบันใดสถาบันหนึ่งหรืดกลุ่มสถาบัน  ราคาค่าสมัครประมาณ  2000  เหรียญสหรัฐต่อหนึ่งสถาบัน  แต่หากเป็นกลุ่มสถาบันราคาจะลดลง  ราคาดังกล่าวนี้ไม่จำกัดจำนวนการใช้งาน  ราคานี้ไม่ใช่เป็นเพียงค่าซอฟต์แวร์เท่านั้นแต่จะให้คำแนะนำและอบรมผู้ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดอีกด้วย

        เมื่อห้องสมุดสมัครเป็นสมาชิกบริการเควชชั่นพอยต์แล้ว  ห้องสมุดต้องทำหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์บริการให้สมาชิกผู้ใช้บริการห้องสมุดทราบต่อไป  การใช้บริการอาจสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

1.เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์

        ผู้ใช้บริการห้องสมุดติดต่อเชื่อมโยงไปยังหน้าอ้างอิงในเว็บไซต์ของห้องสมุดที่ผู้ใช้เป็นสมาชิก  กรอกแบบฟอร์มผ่านทางเว็บไซต์ให้ครบถ้วน  ข้อมูลในแบบฟอร์มห้องสมุดอาจเป็นผู้กำหนดรูปแบบได้เองว่าการทราบข้อมูลอะไรเกี่ยวกับผู้ใช้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับระดับการศึกษาผลงานวิจัย  และทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ  ซึ่งคล้ายกับหลักการ "สัมภาษณ์" ความต้องการของผู้ใช้ในเบื้ยงต้นของบริการอ้างอิงรูปแบบเดิม  เพื่อที่จะไดจัดหาหรือตอบคำถามของผู้ใช้ได้ตรงตมาความต้องการมากที่สุด  ผู้ใช้สามารถส่งแบบฟอร์มมาพร้อมๆ กันได้  หากห้องสมุดใช้บริการแบบซิงโครนัส แชท(Synchrous Chat)

2.รับคำถาม-ค้นหาคำตอบ 

        ซอฟต์แวร์ของเควชชั่นพอยต์จำทำหน้าที่ในการรับข้อมูลคำถาม   และติดตามค้นหาคำตอบการค้นหาคำตอบมี 2 ระดับ คือ  ระดับแรกสืบค้นจากฐานข้อมูลในห้องสมุดก่อน  หากคำตอบนั้นมีขอบเขตคำถามนอกเหนือไปจากความสามารถที่ห้องสมุดจะตอบได้  ระบบจะสามารถจัดการส่งข้อคำถามไปยังห้องสมุดสมาชิกที่เป็นพันธมิตรร่วมกันเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดไปยังผู้ใช้  หรืออาจจะให้ระบบส่งข้อคำถามตรงไปยังเครือข่ายทั้งหมดเลยก็ได้  ห้องสมุดสามารถสร้างแฟ้มข้อมูลของตนเองเตรียมไว้ก่อนได้  อาจเป็นฐานข้อมูลสาขาวิชาที่ห้องสมุดเชี่ยวชาญที่สุด  ระบบจะจัดการส่งคำถามไปหาแหล่งคำตอบที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ  นอกจากนี้ยังสามารถส่งข้อมูลประเภทภาพวีดิทัศน์  และการสื่อสารแบบสองทางได้

3.ส่งคำตอบไปยังผู้ใช้

      คำตอบจะกลับไปยังผู้ใช้ทางออนไลน์ส่วนใหญ่ส่งในรูปของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งผู้แจ้งไว้ในแบบฟอร์มการขอใช้บริการในขั้นแรก  ซึ่งห้องสมุดอาจทำการประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ  หรืออาจประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการใช้บริารอ้างอิงแบบเดิมกับแบบใหม่เพื่อปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


ที่มา : ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน บริการอ้างอิงยุคอินเตอร์เน็ต:เควชชั่นพอยต์ วารสารสารสนเทศ ปีที่ 1 ประจำเดือน(มกราคม-มิถุนายน 2547)

โดย : นางสาว ศิริวรรณ ไม้แหลม, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547