หวัดมรณะ

ไข้หวัดมรณะ

การระบาดของไข้หวัดมรณะหรือที่เรียกว่า SARS

ไข้หวัดมรณะมีอาการอย่างไร

ท่านที่ไปประเทศที่มีการระบาด หรือดูแลผู้ป่วยที่มีโรคไข้หวัดมรณะ หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ อาการที่พบได้บ่อยคืออาการไข้สูงโดยมากมักจะเกิน 38 องศานอกจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดตามตัว บางคนอาจจะมีอาการน้อยเมื่อเริ่มเป็นโรค จะเห็นได้ว่าอาการที่ปรากฏไม่แตกต่างจากไข้หวัด

หลังจากมีอาการ 2-7 วันผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ เจ็บหน้าอก หายใจตื้นหรือหายใจหอบ ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกว่าโรคได้ดำเนินในทางที่แย่ลง มีผู้ป่วยปราณ10-20%ที่อาการเป็นมากจนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และมีอัตราการตายร้อยละ4%

จะเกิดอาการเมื่อไรหลังได้รับเชื้อ

ระยะฟักตัวของโรคหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการของโรค โดยประมาณใช้เวลา 2-7 วันโดยเกิดอาการไข้ก่อน แต่มีบางรายงานพบว่าอาจจะใช้เวลา 10 วันสำหรับประเทศไทยให้ระยะเวลา 14 วันในการสังเกตอาการว่าจะเป็นโรคหรือไม่

การรักษาโรคไข้หวัดมรณะ

จากข้อมูลล่าสุดในการรักษาไข้หวัดมรณะยังไม่มีแผนการรักษาที่ได้ผลดี การรักษาส่วนใหญ่รักษาแบบปอดบวมที่ไม่ทราบชนิดของเชื้อ ประกอบด้วยการรักษาแบบประคับประคอง บางคนให้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัสเช่น oseltamivir หรือ ribavirin บางคนก็ให้ Steroids

การแพร่กระจายหรือการติดต่อ

โรคหวัดมรณะแพร่กระจายโดยวิธีไหน

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคหวัดติดต่อโดย 3 วิธีคือ

  • การแพร่กระจายเชื้อโดยการไอหรือจาม

  • การที่เสมะหรือน้ำลายไปเปื้อนของใช้ เช่นลูกบิดประตู โต๊ะ เมื่อเราเอามือจับแล้วเอาเข้าปากหรือขยี้ตาก็จะได้รับเชื้อนี้เข้าไป

  • การที่เราใช้ของส่วนตัว เช่น ถ้วย ชาม หรือผ้าเช็ดตัว

การแพร่กระจายของโรคหวัดมรณะส่วนใหญ่แพร่โดยการที่มีการกระจายของน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยเมื่อเวลาจามหรือไอ เชื้อนี้จะอยู่ในอาการ เมื่อเราสูดดมเข้าไปก็จะได้รับเชื้อนี้ และทำให้เกิดโรค แต่การแพร่กระจายของไข้หวัดมรณะด้วยวิธีอื่นก็สามารถเกิดได้เช่นเดียวกันเท่าที่มีหลักฐานพบว่าการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดมรณะผ่านทาง

  • น้ำลายหรือเสมะที่เกิดจากการจามหรือไอ มักจะติดคนใกล้ชิด เช่นญาติพี่น้อง หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

  • สำหรับฮ่องกงมีการระบบแบบ clusster คือระบาดในอาคารเดียวกันที่ Amoy garden พบว่าเชื้ออาจจะระบาดจากระบบในห้องน้ำ กล่าวคือผู้ป่วยที่เป็นไขหวัดมรณะของตึกนี้จะพบว่ามีอาการท้องร่วงมาก เมื่อนำไปตรวจก็พบชิ้นส่วนของไวรัส เชื่อเกิดจากระบบการของส้วมมีปัญหา การระบายอากาศในห้องน้ำด้วยพัดลม การที่ท่อน้ำเสียมีการรั่ว

เชื้อโรคไข้หวัดมรณะจะติดต่อคนอื่นได้นานแค่ไหน

จากข้อมูลเท่าที่มีอยู่เชื้อไข้หวัดใหญ่จะแพร่เชื้อเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการของโรค เช่น ไข้ ไอหรือจาม แต่ก็ยังไม่ทราบว่าก่อนที่จะมีอาการของโรคหรือเมื่อหายจากโรคแล้วเชื้อจะยังสามารถแพร่ไปสู่คนอื่นได้นานแค่ไหน

ใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดมรณะ

ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อคือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย มีการใช้ของร่วมกัน เช่นถ้วย ผ้าเช็ดตัว หรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะอยู่ในรัศมี 1 เมตร รวมทั้งเจ้าหน้าที่บุคลากรทางแพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วย จากข้อมูลในขณะนี้ยังไม่มีการระบาดแบบกระจายในชุมชน

เชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดมรณะ

เท่าที่มีรายเชื้อที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดมรณะคือ

  • เชื้อไวรัสที่เรียกว่า  SARS-associated coronavirus (SARS-CoV)

จากข้อมูลเท่าที่มีเชื่อว่าเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุของไข้หวัดมรณะคือเชื้อ Corona virus เพราะสามารถแยกเชื้อจากเนื้อเยื่อของผู้ป่วยหลายคน และยังสามารถเพาะเชื้อได้จากจมูกและคอ และเมื่อทดสอบระบบภูมิคุ้มกันก็พบหลักฐานว่าเพิ่มจะมีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ การตรวจทาง DNA ก็พบว่ามีลักษณะเหมือน Corona virus แต่ยังมีความแตกต่างจึงเชื่อว่าน่าเป็นสายพันธ์ใหม่ แต่ยังไม่สามารถสรุปแน่ชัดว่า Corona virus เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดมรณะซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ยืนยันแล้วว่าเชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุของหวัดมรณะ

ปกติเชื้อ Corona virus เป็นสาเหตุของไข้หวัดในคนมักจะมีอาการไม่มาก การที่โรคนี้จะมีความรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นกับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน  จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการตรวจหรือทดสอบยืนยันว่ามีการติดเชื้อนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการวิจัย

การรักษาโรคไข้หวัดมรณะ

ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดมรณะไม่ว่าจะเป็นชนิด Suspected หรือ Probable case ควรจะรับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อเหตุผลในการควบคุมโรคและเฝ้าติดตามอาการของโรค

การระบาดของโรคหวัดมรณะ

โรคนี้เริ่มแพร่ระบาดในประเทศประเทศจีนและระบาดไปยังประเทศฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ แคนาดา ไต้หวัน

การเดินทางไปยังประเทศเสี่ยง

การป้องกันโรค

ถ้าท่านไปต่างประเทศหรือสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคท่านต้องปฏิบัติดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์โดยด่วน

  • ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชู หรือผ้าเช็ดหน้า สวมหน้ากากป้องกัน เมื่อมีการติดต่อพูดคุยกับผู้อื่น

ถ้าท่านสงสัยว่าตัวเองหรือสมาชิกในครอบครัวจะเป็นโรคไข้หวัดมรณะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  1. ไข้มากกว่า 38 องศา

  2. มีประวัติไปประเทศที่มีการระบาดของโรค จีน ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ แคนาดา หรืออยู่อาศัยหรือดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมรณะ

  3. มีอาการทางระบบหายใจดังต่อไปนี้

  • ไอ

  • แน่นหน้าอก

  • หายใจหอบ หายใจเร็ว

หากมีองค์ประกอบครบก็ให้จะเป็น Suspected case เมื่อแพทย์ได้ตรวจทางรังสีพบว่าเป็นปอดบวมก็จะจัดเป็น Probable case แพทย์จะรับตัวไว้เพื่อป้องกันโรคมิให้ติดต่อไปยังบุคคลอื่น แต่ถ้าหากท่านไปไม่เคยไปต่างประเทศและไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรค แสดงว่าท่านไม่ได้เป็นโรคนี้

ถ้าท่านต้องดูแลผู้ป่วยที่สงสัยหรือกำลังเป็นโรคนี้อยู่ที่บ้าน

  • ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับการปรึกษาและดูแลจากแพทย์แล้ว

  • แม้ว่าผู้ป่วยจะหายจากโรคแล้วจะต้องดูแลและป้องกันการติดเชื้อต่ออีก 10 วันหลังจากไข้ลงโดยไม่ต้องไปทำงานหรือเรียนหนังสือ ไม่ไปในที่สาธารณะ ให้พักอยู่แต่ในบ้าน

  • สมาชิกในครอบครัวต้องรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลโดยเคร่งครัด เช่นการใช้ของร่วมกัน การล้างมือ สมาชิกในครอบให้ล้างมือบ่อยหรือหลังสัมผัสของใช้หรือสารหลั่งของผู้ป่วย โดยใช้สบู่หรือแอลกอฮอล์

  • ให้ผู้ป่วยปิดปากและจมูกด้วยผ้าหรือทิชชูเวลาไอหรือจาม และให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น ถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถสวมหน้ากากก็ให้สมาชิกในครอบครัวสวมแทน

  • ให้สวมถุงมือชนิดเมื่อต้องสัมผัสสารหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำลาย เสมหะ ทิชชู หลังจากนั้นให้ถอดถุงมือทันที และรีบล้างมือทันที ไม่ควรจะนำถุงมือนั้นมาใช้ใหม่

  • ไม่ใช้ของร่วมกันเช่น ชาม ช้อน ถ้วย ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ ควรจะทำความสะอาดด้วยผงซักฟอกหรือสบู่ก่อนนำมาใช้

  • อากาศต้องถ่ายเทเป็นอย่างดี

  • ให้ทำความสะอาดเครื่องใช้ เช่นโต๊ะ ลูกบิด อ่างล้างหน้า ห้องน้ำ ฯลฯ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และให้สวมถุงมือทุกครั้ง

  • หากสมาชิกในครอบครัวไม่มีอาการก็สามารถออกไปสู่สังคมได้ สำหรับสมาชิกที่มีอาการ เช่นมีไข้ หรือไอต้องปรึกษาแพทย์

สิ่งที่ท่านต้องปฏิบัติเมื่อท่านถูกกักตัว 14 วัน(มาจากประเทศเสี่ยง หรือสัมผัสคนป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมรณะ)

  • ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด

  • ควรอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันไม่ควรไปเยี่ยมคนอื่น หรือชุมชนขณะเดียวกันก็ไม่ต้องให้คนอื่นมาเยี่ยม

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสมาชิกในครอบครัว

  • แยกห้องนอนชั่วคราว

  • ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆหรือล้างด้วยแอลกอฮอล์โดยเฉพาะหลังจากจามหรือไอ

  • ปิดปากและจมูกด้วยผ้าหรือทิชชูเมื่อเวลาจามหรือไอ

  • ควรจะสวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อเวลาอยู่ในห้องเดียวกับคนอื่น

  • หากที่บ้านมีเด็กเล็กที่ต้องดูแลก็ต้องล้างมือบ่อยๆ ผูกหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือ

  • ไม่ใช้เครื่องใช้ร่วมกันเช่น แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ถ้วย เป็นต้น

  • ทำความสะอาดเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ห้องน้ำ อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า เป็นต้น

  • วัดไข้วันละสองครั้ง

  • สมาชิกในครอบครัวสามารถไปที่ชุมชนได้ตามปกติ

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้อย่างน้อยเป็นเวลา 10 วันหลังจากที่หายจากอาการไข้หรือไอ

หากท่านดูแลผู้ป่วยโรคหวัดมรณะไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หรือญาติ

  • หากท่านเกิดอาการไข้ หรือไอหลังจากสัมผัสผู้ป่วย 10 วันให้ท่านหยุดงานเป็นเวลา 14 วัน

  • หากท่านไม่มีไข้หรือไอก็ไม่จำเป็นต้องหยุดงาน

  • ให้วัดไข้ทุกวัน และเฝ้าดูอาการไอทุกวัน

การเดินทางและการติดเชื้อไข้หวัดมรณะ

เมื่อท่านเดินทางโดยเครื่องบินหรือเรือจากประเทศที่ระบาด

ท่านจะได้รับบัตรแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองเป็นเวลา 14 วัน การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดมรณะ และคำแนะนำให้พบแพทย์เมื่อเกิดอาการไข้ ปวดศีรษะหรืออาการไอ เมื่อท่านเข้าประเทศที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก็จะมีการตรวจสุขภาพ วัดไข้ หากท่านมีอาการว่าติดเชื้อไข้หวัดมรณะ แพทย์จะแนะนำให้ท่านอยู่ห่างจากชุมชนเป็นเวลา 10 วันหรือหากเป็นชาวต่างประเทศก็จะถูกส่งตัวกลับประเทศ

ท่านจะติดเชื้อไข้หวัดมรณะหรือไม่หากอยู่บนเครื่องบิน หรือรถ หรือเรือ

จากข้อมูลพบว่าการติดเชื้อไข้หวัดมรณะจะติดต่อกับคนที่สัมผัสโรคใกล้ชิดเช่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโดยที่ไม่ได้ป้องกัน ญาติหรือเพื่อนร่วมงานใกล้ชิด และยังพบว่านักท่องเที่ยวโดยเฉพาะฮ่องกง จีน สิงคโปร์ ฮานอย ก็สามารถติดเชื้อนี้มาได้ ดังนั้นผู้โดยสารที่มากับผู้ที่เป็นโรคไขหวัดมรณะจะต้องเฝ้าระวังตัวเองว่าจะเกิดอาการของไข้หวัดมรณะหรือไม่เป็นเวลา 14 วัน ทางราชการจะจดชื่อและที่อยู่ของท่านเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ และในช่วงที่ท่านยังไม่มีอาการของโรค ท่านควรจะจดบันทึกสถานที่ท่านไป และบุคคลที่ท่านพบ เพื่อที่จะได้ติดตามคนที่พบหากว่าท่านเกิดเป็นโรคไข้หวัดมรณะ

ท่านจะถูกกักตัวหรือห้ามเข้าประเทศหรือไม่หากมาจากประเทศที่เชื้อกำลังระบาด หรือโดยสารมากับคนที่ป่วย

หากท่านมาจากประเทศที่เสี่ยง หรือโดยสารกับคนที่ป่วยท่านจะต้องได้รับการจดชื่อที่อยู่ เพื่อที่จะได้ติดตามตัว หรือเฝ้าระวังการติดเชื้อ หากท่านไม่มีอาการอะไรทางรัฐยังไม่มีนโยบายที่จะกักตัวท่านไว้ แต่หากท่านมีอาการของไข้หวัดมรณะท่านต้องรีบปรึกษาแพทย์



แหล่งอ้างอิง : www.google.co.th

โดย : นางสาว นพรัตน์ ไชยเทพ, สถาบันราชภัฎสงขลา ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา, วันที่ 30 มกราคม 2546