เซนทริโน

“เซนทริโน” (Centrino) โมบายล์เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากบริษัทอินเทล (Intel) ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คโดยเฉพาะ อินเทลใช้วันพุธที่ 12 มีนาคม 2003 เป็นดีเดย์สำหรับเปิดตัว “เซนทริโน” อย่างเป็นทางการ ไม่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย  สิ่งที่อินเทลย้ำเป็นพิเศษสำหรับ “เซนทริโน” คือความสามารถด้านการสื่อสารไร้สายที่อินทิเกรตมาในตัว เป็นความสามารถที่อินเทลว่า จะมาเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคใหม่ให้มีอิสระอย่างแท้จริง   เครก แบร์เรตต์ (Craig Barrett) ประธานคณะผู้บริหารบริษัทอินเทล หรือซีอีโอ กล่าวว่า “พีซีไร้สายจะมาเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคุณ ให้ทำงาน, สื่อสาร หรือหาความบันเทิง ได้จากทุกที่ทุกเวลา”   อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลายท่านคงกำลังสับสนเกี่ยวกับ  “เซนทริโน” ดังนั้นจึงขออธิบายให้ได้รู้จักกับคำ 3 คำ ได้แก่ “เซนทริโน”, “เพนเทียม-เอ็ม” (Pentium-M) และ “แบนิแอส” (Banias) เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  “เซนทริโน” เป็นคอมโปเนนต์แพ็คเกจสำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค อันประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ โปรเซสเซอร์, ชิปเซ็ต และโมดูลสื่อสารไร้สาย ดังนั้น “เซนทริโน” จึงไม่ได้หมายถึงเฉพาะโปรเซสเซอร์เหมือนอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ “เซนทริโน” ต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังที่กล่าวมา แต่เวลาพูดถึงโปรเซสเซอร์ในชุด “เซนทริโน” อาจมีการเรียกทับศัพท์กันไปว่า “โปรเซสเซอร์เซนทริโน” จนทำให้เกิดความสับสน  “เพนเทียม-เอ็ม" โมบายล์โปรเซสเซอร์ในชุด “เซนทริโน” มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เพนเทียม-เอ็ม” มีประวัติการพัฒนายาวนานภายใต้ชื่อ หรือโค้ดเนม “แบนิแอส” ซึ่งทางอินเทลประกาศชื่ออย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
            “เพนเทียม-เอ็ม” ที่ปล่อยออกสู่ตลาดจะมีด้วยกันทั้งหมด 3 เวอร์ชั่น คือ เพนเทียม-เอ็ม, โลว์โวลเตจเพนเทียม-เอ็ม (Low) และอัลตร้าโลว์โวลเตจเพนเทียม-เอ็ม (Ultra Low) โดยเพนเทียม-เอ็มจะออกมาทั้งหมด 4 รุ่นความเร็ว คือ 1.3GHz, 1.4GHz, 1.5GHz และ 1.6GHz ขณะที่รุ่นโลว์โวลเตจจะรันที่ 1.1GHz ส่วนรุ่นอัลตร้าโลว์โวลเตจจะรันที่ 900MHz  ช้ากว่ามากเมื่อเทียบกับ 2.4GHz ของเพนเทียมโฟร์-เอ็ม (Pentium 4-M) ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้เพนเทียม-เอ็มจะรันที่ความเร็วต่ำกว่าเพนเทียมโฟร์-เอ็ม แต่อินเทลว่า มันเหนือกว่าเพนเทียมโฟร์-เอ็มในด้านอื่น
            “เซนทริโน” เป็นคอมโปเนนต์แพ็คเกจสำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค อันประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ โปรเซสเซอร์, ชิปเซ็ต และโมดูลสื่อสารไร้สาย “เพนเทียม-เอ็ม” จะมีประสิทธิภาพเท่าๆกับชิปโมบายล์ในปัจจุบัน ด้วยขนาดหน่วยความจำแคชที่ใหญ่กว่า คือ 1MB เทียบกับ 512KB ของเพนเทียมโฟร์-เอ็มรุ่นที่เร็วที่สุด ทั้งนี้หน่วยความจำแคช คือหน่วยความจำบนตัวชิปและอยู่ใกล้กับตัวไมโครโปรเซสเซอร์มากที่สุด หากมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของชิปสูงขึ้นด้วย
            “เพนเทียม-เอ็ม” จะกินไฟน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเพนเทียมทรี-เอ็ม (Pentium III-M) และเพนเทียมโฟร์-เอ็ม ขณะที่รุ่นโลว์โวลเตจเพนเทียม-เอ็มนั้น ก็จะยิ่งกินไฟและพลังงานน้อยกว่ารุ่นธรรมดาลงไปอีก ตามการเปิดเผยของอินเทล
              อินเทลตั้งเป้าไว้ว่า โน้ตบุ๊คที่ใช้ “เพนเทียม-เอ็ม” ใหม่จะต้องรันบนแบตเตอรีได้นานกว่ารุ่นปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับประเภทและรุ่นของโน้ตบุ๊คนั้นๆ ตัวอย่างเช่น แท็ปเล็ตพีซีที่ใช้เพนเทียมทรี-เอ็ม แต่เดิมเคยรันได้ 3 ชั่วโมง ก็จะทำได้เพิ่มขึ้นเป็น 4 ชั่วโมงเมื่อใช้เพนเทียม-เอ็ม
              นอกจากนั้น เมื่อโปรเซสเซอร์ใช้พลังงานน้อยลง ปัญหาในเรื่องความร้อนจึงลดลงตามไปด้วย หมายความว่าโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่จะไม่ต้องกลัวตัวร้อนอีกต่อไป ภายใต้โครงสร้างและพื้นที่แพ็คเกจที่จำกัด อันส่งผลให้ระบบสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพโดยต่อเนื่อง  ทั้งนี้ อินเทลมีแผนจะให้ “เพนเทียม-เอ็ม” มาเป็นตัวตายตัวแทนของเพนเทียมโฟร์-เอ็ม ซึ่งเป็นเรือธงสำคัญของอินเทลในตลาดโมบายล์ด้วย ส่วนเพนเทียมทรี-เอ็ม ทั้งรุ่นโลว์โวลเตจและอัลตร้าโลว์โวลเตจ ก็จะถูกแทนด้วยโลว์โวลเตจเพนเทียม-เอ็มและอัลตร้าโลว์โวลเตจเพนเทียม-เอ็ม โดยอินเทลจะเริ่มลดกำลังการผลิตเพนเทียมทรี-เอ็มในทันที แต่จะยังคงเพนเทียมโฟร์-เอ็มไว้ระยะหนึ่ง เพื่อทำตลาดโน้ตบุ๊คขนาดใหญ่
               "ชิปเซ็ต" ในส่วนของชิปเซ็ตนั้น ชิปเซ็ตที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการทำงานของโปรเซสเซอร์เพนเทียม-เอ็มจะเป็นชิปเซ็ตตระกูล อินเทล 855 (Intel 855) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น ได้แก่ “อินเทล 855 จีเอ็ม” (Intel 855GM) และ “อินเทล 855 พีเอ็ม” (Intel 855PM)  ทั้งสองรุ่นจะต่างกันตรงที่ รุ่น “จีเอ็ม” จะมีกราฟิกในตัว ส่วนรุ่น “พีเอ็ม” ไม่มี แต่จะมาเป็นพอร์ตเอจีพี 4x (AGP 4x) แทน นอกนั้นเหมือนกัน ซัพพอร์ตหน่วยความจำแบบ DDR 266/200 ซึ่งขยายได้สูงสุดถึง 2GB ซัพพอร์ตยูเอสบี 2.0 (USB 2.0) และซิสเต็มบัสความเร็ว 400MHz
               " โมดูลสื่อสารไร้สาย"  โมดูลสื่อสารไร้สายในชุดแพ็คเกจ “เซนทริโน” มีชื่อว่า “อินเทล โปร/ไวร์เลส 2100” (Intel PRO/Wireless 2100) ซัพพอร์ตเทคโนโลยีไว-ไฟ (Wi-Fi) หรือมาตรฐาน IEEE 802.11b ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 11Mbps   อย่างไรก็ตาม เซนทริโนรุ่นแรกที่ออกวางตลาดจะยังซัพพอร์ต IEEE 802.11b เพียงมาตรฐานเดียวเท่านั้น ส่วนเวอร์ชั่นที่ซัพพอร์ตทั้ง 802.11a ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นความเร็วสูงและ 802.11b นั้น จะออกมาประมาณกลางปี ตามการเปิดเผยของอินเทล

"เซนทริโนในไทย"

         สำหรับในประเทศไทย บริษัทอินเทลไทยแลนด์ ได้เปิดตัว “เซนทริโน” ออกมาในวันที่ 12 มีนาคม พร้อมกับที่อื่นๆทั่วโลก โดยเตรียมดันให้เป็นมาตรฐานใหม่สำหรับโน้ตบุ๊คภายในปลายปีนี้ ด้านราคายังถือว่าสูงแต่เชื่อว่าด้วยกลไกราคาและการเปิดตัวชิปรุ่นใหม่ทุกไตรมาส จะทำให้โน้ตบุ๊คมีราคาถูกลง   นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เซนทริโนจะถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์ไร้สาย โดยเฉพาะโน้ตบุ๊คที่ต้องการความสามารถในการสื่อสารแบบไร้สาย สามารถต่อเชื่อมเครือข่ายได้ทุกสถานที่ โดยธุรกิจบริการเครือข่ายไร้สายหรือ “ฮ็อต สป็อต” (Hot Spot) จะกลายเป็นบริการที่ทำให้โน้ตบุ๊คต้องการคุณสมบัตินี้มากขึ้น เช่น บริการฮ็อตสป็อตในบริเวณสนามบิน, โรงแรม, ร้านกาแฟ และสวนสาธารณะ เป็นต้น
          ขณะนี้มีโน้ตบุ๊ค 7-8 ยี่ห้อแล้วที่ใช้ชิปเซนทริโนและเปิดตัวในประเทศไทย ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 69,900 บาท โดยมีจุดเด่นคือน้ำหนักเบาเพียง 2-3 กิโลกรัม มีแบตเตอรีที่ใช้งานได้นานกว่าโน้ตบุ๊คทั่วไป และรองรับมาตรฐานการต่อเชื่อมแบบ 802.11b  พร้อมกันนี้ อินเทลจะผลักดัน “เซนทริโน” ให้กลายเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับอุปกรณ์โน้ตบุ๊ค ซึ่งคาดว่าจะผลักดันสำเร็จภายในสิ้นปีนี้ ส่วนราคานั้น แม้ช่วงแรกจะยังสูงอยู่ เพราะเซนทริโนเพิ่งจะเปิดตัว แต่เชื่อว่า กลไกตลาดที่มีการเปิดตัวชิปตัวใหม่ทุกๆ 3 เดือน จะทำให้ราคาโน้ตบุ๊คที่ใช้เซนทริโนถูกลงกว่านี้แน่นอน  เอเอ็มดีเปิดตัว “แอธลอนเอ็กซ์พี-เอ็ม” (Athlon XP-M) ออกมาชนกับ “เซนทริโน” โดยเฉพาะ ที่งาน “ซีบิต” ประเทศเยอรมนี รวดเดียว 12 รุ่น คลุมตลาดโน้ตบุ๊คครบทุกเซกเมนต์ คู่แข่ง
ด้านคู่แข่งอย่างเอเอ็มดีก็ไม่ยอมน้อยหน้า ดีเดย์วันเดียวกับอินเทล 12 มีนาคม 2003 เปิดตัวโมบายล์โปรเซสเซอร์ใหม่รวดเดียว 12 รุ่น สำหรับโน้ตบุ๊คทุกประเภท ไล่ตั้งแต่แบบบางและเบา (Thin & Light) ไปจนถึงโน้ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงประเภทเดสก์ท็อปรีเพลสเมนต์ (Desktop Replacement) ที่งานซีบิต (CeBIT) ประเทศเยอรมนี  “แอธลอนเอ็กซ์พี-เอ็ม” (Athlon XP-M) คือโปรเซสเซอร์ที่เรากำลังกล่าวถึง ได้รับการออกแบบมาบนสถาปัตยกรรมแบบเปิด (Open Architecture) ทำให้โปรเซสเซอร์รุ่นนี้สามารถรันกับไวร์เลสโซลูชั่นใดก็ได้ตามมาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g เพิ่มทางเลือกให้กับทั้งผู้ผลิตโน้ตบุ๊คและผู้บริโภค 
           ขณะที่ ”เซนทริโน” ของอินเทล ยังซัพพอร์ตเพียง 802.11b เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  “แอธลอนเอ็กซ์พี-เอ็ม” เวอร์ชั่นโลว์โวลเตจ จะมีออกมาด้วยกันทั้งหมด 5 รุ่นความเร็ว ได้แก่ 1800+, 1700+, 1600+, 1500+ และ 1400+ ซึ่งเป็นรุ่นที่พัฒนามาสำหรับโน้ตบุ๊คประเภทบางและเบาโดยเฉพาะ และเป็นครั้งแรกที่เอเอ็มดีหันมาเจาะตลาดกลุ่มนี้  แมตต์ ซาเจนต์ (Matt Sargent) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ผลิตภัณฑ์พีซี บริษัทเอเอ็มดี กล่าวว่า “โน้ตบุ๊คประเภทบางและเบาเป็นตลาดที่กำลังมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว” ส่วน “แอธลอนเอ็กซ์พี-เอ็ม” สำหรับโน้ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงนั้น จะมีออกมาด้วยกันทั้งหมด 2 กลุ่ม 7 รุ่น ได้แก่ 2600+, 2400+, 2200+ และ 2000+ กลุ่มนี้จะเป็นคอร์ (Core) หรือสถาปัตยกรรมรุ่นเก่า ภายใต้ชื่อ “เธอโรเบรด” (Thoroughbred) มีแคช L1 ขนาด 128KB และแคช L2 ขนาด 256KB  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะพัฒนาขึ้นบนสถาปัตยกรรม “บาร์ตัน” (Barton) ได้แก่รุ่น 2500+, 2400+ และ 2200+ มีแคช L1 ขนาด 128KB และแคช L2 ขนาด 256KB ทั้งนี้ ชิปใหม่ทั้ง 12 รุ่นจะผลิตด้วยเทคโนโลยี 0.13 ไมครอนบนแผ่นซิลิกอนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มม.หรือ 12 นิ้ว 



แหล่งอ้างอิง : www. SiamUOnline.com

โดย : นางสาว ธนินทร ใคล้แค, สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 13 กันยายน 2546