E - Learning เทคโนโลยีเชิงระ

E - Learning เทคโนโลยีเชิงระบบในการพัฒนาบทเรียนโดยใช้ WBI

…………………………………………………………………………………………..

                   โดย ผศ.เกษม สุริยวงศ์ คณะครุศาสตร์ ราชภัฏอุตรดิตถ์

เมื่อเอ่ยถึง E-Learning นักการศึกษาก็จะมองไปที่ การมุ่งพัฒนาระบบการเรียนการสอน การฝึกอบรมในรูปแบบของการใช้เทคโนโลยีเชิงระบบ และใชการพัฒนาบทเรียนด้วย WBI หรือ Web Based Instruction เป็นเครื่องมือ ซึ่งจะต้องใช้ทักษะทางคอมพิวเตอร์ของนักคอมพิวเตอร์ที่รอบรู้ถึงการใช้เครื่องมือ หรือ Tool ต่าง ๆ

เข้ามาจำลองสถานการณ์การเรียนการสอนในห้องเรียน ให้มาอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า ห้องเรียนเสมือนจริง หรือ Virtual Classroom นั่นเอง

กิจกรรมในการเรียนก็เริ่มจากขั้นศึกษาข้อตกลง แล้วปฏิบัติตามไปทีละข้อ

จนประสบผลสำเร็จ ผ่านการประเมิน อาจจะได้คะแนน หรือได้ใบประกาศนียบัตร

เป็นของตนเองด้วย ดังตัวอย่างใน http://www.thaiwbi.com

เรื่องของ E-learning จะเป็นระบบย่อย ที่อยู่ในระบบใหญ่ที่เรียกว่า E-Education และ E-Commerce ตามลำดับ

E-Education คืออะไร?

ในแง่การสื่อสาร E-Education (การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) คือ การส่งข้อมูลที่เป็นสื่อการศึกษา และการบริการ เช่น Course ware , ห้องสมุดอิเลคโทรนิค และ การชำระลงทะเบียนเรียน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในแง่ของระบบและกระบวนการ E-Education คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการ จัดระบบการศึกษา เกิดการทำงานตามขั้นตอน (Workflow) เป็นไปอย่างอัตโนมัติจนเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย ที่เรียกว่า WBI นั่นเอง

ในแง่การให้บริการ E-Education คือ เครื่องมือที่ช่วย สถาบันการศึกษา องค์การจัดการศึกษา ตลอดจนผู้ศึกษาหรือผู้เรียน ลดค่าใช้จ่าย จากการใช้บริการผ่านเครือข่าย ช่วยให้ข้อมูลและการบริการที่รวดเร็ว ทันสมัย (จะไม่เห็นตำราเอกสารประกอบการเรียนเก่าๆสีเหลืองๆอีกต่อไป) อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ทางหนึ่ง

E-Education เปลี่ยนแปลงโลกการศึกษาอย่างไร?

ลดช่องว่างการแข่งขันระหว่างองค์กรหรือสถาบันการศึกษาทั่งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้องค์กรสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ต้องปรับตัวทั้งในด้านการบริหาร การจัดการองค์กร รวมไปถึงวิธีการดำเนิน

ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจการศึกษามากขึ้น

สร้างช่องทางการขยายการศึกษามากขึ้น

เกิดการทำงานภายใต้คอนเซปต์ มหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

สร้างรูปแบบของความร่วมมือทางการศึกษาหรือเครือข่ายการศึกษาที่หลากหลายขึ้น

ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร

ทำให้เกิดแรงพลักดันในการจัดการศึกษารูปแบบแปลกใหม่มากขึ้น

E-Education เอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร?

เป็นตลาดการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเลือกซื้อสินค้าความรู้และบริการการศึกษาจากแหล่งต่างๆทั่วโลก

สามารถคัดเลือและเปรียบเทียบคุณภาพราคา และยังประหยัดเวลาเนื่องจากไม่ต้องเดินทาง (ในขณะนี้มี Website บริการให้เข้าศึกษาก่อนจ่ายเงินที่หลัง)

สามารถรับข้อมูลการศึกษาที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหลากหลายแง่มุม เช่น รายละเอียดของหลักสูตร ข้อมูลอาจาย์ผู้สอน รวมถึงยังสามารถให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การรจัดการศึกษานั้นๆได้โดยตรงอีกด้วย

ได้รับความสะดวกในการศึกษา เพราะสามรถนังศึกษาอยู่ที่บ้านหรือที่ใดๆทั่วโลกที่มีอินเทอร์เนต

E-Education เอื้อประโยชน์ต่อผู้จัดการศึกษา อย่างไร?

ขยายตลาดการศึกษาและการบริการออกไปอย่างกว้างขวาง เพราะเครือข่ายอินเตอร์เน็ตครอบคลุมกลุ่มผู้เรียนทั่วโลก

สามารถใช้เป็นช่องทางเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้สนใจเรียนในสาขานั้นได้ดีขึ้นหรือโดยตรง (เช่น ในลักษณะของ Direct Electronic Mailing)

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลอันมหาศาลที่สามารถช่วยทำการวิจัยการตลาดและการพัฒนาสินค้าได้อย่างประหยัด

สามารถทำธุรกิจการศึกษาระหว่างสถาบันกันและกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

ช่วยให้การบริหาร การตรวจสอบ การจัดจำหน่ายสื่อการศึกษา การทำธุรกรรมทางการรับชำระเงินลงทะเบียนเรียน รวดเร็วมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

E-Education มีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลอย่างไร?

วิธีการป้องกันข้อมูลทำได้ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูลนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดังนี้

ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร (Authentication)

ใช้ในการพิสูจน์ว่าได้มีการบันทึกหรือกระทำรายการจริง (Non-repudiation)

ใช้ในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy)

------------------------------------------------------------------

Copy Right Passkorn Roungrong 2000 www.thaiwbi.com ดัดแปลงและเผยแพร่โดย ผศ.เกษม สุริยวงศ์ เพื่อประกอบการบรรยายนำเรื่อง E-Learning ราชภัฏอุตรดิตถ์ ห้อง A-942 27 กรกฎาคม 2546

 

 


ที่มา : ผศ.เกษม สุริยวงศ์ คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ E-mail: Kasam@chaiyo.com โทร.06-6745295

โดย : ผศ. เกษม สุริยวงศ์, สถาบันราชภัฏ จ.อุตรดิตถ์, วันที่ 14 สิงหาคม 2546