ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
โลกปัจจุบันนี้เป็นโลกในยุคสารสนเทศไม่ว่าคุณจะทำอะไร หรือประกอบอาชีพอะไร ก็จำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทุกอย่าง พวกคุณทราบไหมว่าเตรื่องคอมพิวเตอร์คืออะไร เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือสำหรับใช้แก้ปัญหา เป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์วึ่งรับเอาข้อมูลเข้าไปเก็ยไว้ เราข้อมูลเหล่านั้ไปจัดการประมวลผล และทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมา เครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมี 2 แบบคือ 1. อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) และ 2. ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (digital computer) อนาล็อกคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับรู้ข้อมูลซึ่งเป็นสมบัติทางฟิสิกส์หรือทางกายภาพซึ่งทำติดต่อกันไป การแสดงผล(output) ของอนาล็อกคอมพิวเตอร์จะแสดงออกมาให้เราอ่านได้บนหน้าปัด หรือแสดงออกมาเป็นกราฟ เช่น วัแรงดันไฟฟ้าเป็น โวลต์ (voltage) วัดความกดดันเป็นบรรยากาศ(atmosphere) วัดความเร็ว(speed) เป้นกิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือวัดอุณหภูมิออกมาเป็นองศาเซลเซียล หรือฟาเรนโฮต์ ตัวอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอนาล็อก เช่น เทอร์โมสแตตของเตาอบ เป็นต้น ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเร็วสูง สามารถใช้โปรแกรม (program) หรือคำสั่งบังคับควบคุมได้ สามารถคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์ สามารถเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ แลสามารถเก็บผลลัพธ์เอาไว้ได้ มันสามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยการแยกความแตกต่างของสัญญาณของแรงดันไฟฟ้าระหว่างแรงดันสูง(เปิด=on) กับแรงดันไฟฟ้าต่ำ (ปิด=off) เรื่องคอมพิวเตอร์ที่จะกล่างถึงต่อไปนี้จะเป็นเรื่องคอมพิวเตอร์ชนิด ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประโยชน์และเหมาะที่จะใช้กับงานทั่ว ๆ ไปมากกว่า
แนวคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์คืออะไร เดิมมนุษย์เราอาศัยการนับจำนวนสัตว์เลี้ยงด้วยก้อนหิน ต่อมาได้มีการจดบันทึกบนกระดาษและมีการทำเป็นสถิติเก็บเป็นฐานข้อมูล มีการใช้เครื่องคิดเลขคำนวณค่าต่าง ๆ จากข้อมูลเพื่อนำมาช่วยตัดสินใจ เมื่อมีตัวอักษรก็สร้างเครื่องพิมพ์ดีด(ค.ศ. 1874 Philo Remington) เพื่อพิมพ์เอกสารแทนการขีดเขียน สื่อสารกันทำให้สะดวก และได้ข้อมูลครบถ้วน จนปัจจุบันได้นำโปรแกรมประมวลคำ (Wordprocessor) มาใช้พิมพ์งาน และเอกสารแทนการขีดเขียน เริ่มมีการทำบัญชี เมื่อมีการค้าขายเจริญรุ่งเรื่องขึ้นต้องมีการคำนวณตัวเลขหลายหลัก และซับซ้อน ทุกอย่างเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า แต่การทำงานยังขาดประสิทธิภาพทำให้เกิดความล่าช้า และข้อผิดพลาดมาก จึงมีผู้คิดเครื่องมืออันทันสมัยเพื่อมาช่วยงานที่มี ขั้นตอนซ้ำ ๆ กัน มีความซับซ้อน หรือต้องใช้แรงงานคนมากมาย ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน จนปัญหาต่าง ๆ ที่กล่างมาได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว และทำให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรื่องได้รวดเร็วอย่างมากดังที่เป้ฯอยู่ในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ก็คือ คอมพิวเตอร์เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาจัดการงานเหล่านี้ จะสามารถทำให้งานเสร็จรวดเร็ว ผลลัพธ์ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ให้แรงงานมนุษย์น้อยลง ทำให้มนุษยืว่างพอที่จะใช้เวลาที่เหลือพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้อีกมากมาย คำว่า "Computer" มาจาภาษาลาตินว่า computare หมายถึงเครื่องคำนวณแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เรียกกันว่า "สมองกล" หมายถึง Electronic & Computer ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้สามารถทำการรับข้อมูล (Data) ที่ป้อนเข้าไปพร้อมคำสั่ง (Program) เพื่อนำไปปฎิบัติงานตามที่ต้องการ "คอมพิวเตอร์" คือเครื่องมือทันสมัยที่ถูกพัฒนาโดยมนุษย์เพื่อช่วยงานของมนุษย์ งานเหล่านี้มักเป็นงานที่มีขี้นตอนซ้ำ ๆ มีปริมาณมาก หรือมีลักษณะสลับซับซ้อนยุ่งยากและต้องใช้แรงงานคนมากมาย
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในปัจจุบัน เป็นวิวัฒนาการของเครื่องนับและเครื่องคำนวณในยุคแรก ๆ โดยเครื่องมือชิ้นแรกสุดที่มนุษย์ใช้ในการคำนวณต่าง ๆ เรียกว่าลูกคิด (ABACUS) ซึ่งชาวจึน ชาวโรมัน ชาวอาหรับ และชาวบาบิโลเนีย ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้จนกระทั่งถึงปัจจุบัน B.C. 3000 เริ่มการนับ และการขีดเขียนบนผนังถ้ำ B.C. 2000 ชาวจีนประดิษฐ์ ลูกคิด (Abacus) ค.ศ. 1617 จอห์น เนเปียร์ (John Napier) คิดอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยการคูณ หาร หรือถอดกรณฑ์ ให้ง่ายขึ้น ชื่อว่า Nepier's bones ค.ศ. 1630 วิลเลี่ยม ออตเทรต (William Augrred) คิดสไลด์รูล (Slide Rule) ซึ่งต่อมาเป็น พื้นฐานของคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก ค.ศ. 1642 เบลส์ ปาสคาล (Blaise Pascal) คิดเครื่องบวกเลขสร้างจาฟันเฟือง 8 ตัวเป็น รากฐานของการพัฒนาเครื่องคำนวณ ค.ศ. 1671 กอทฟริต ฟอร ลิปนิซ (Gottfried Von Leibnitz) คิดครื่อง Leibnitz Calculating Machine เป็นเครื่องกลไกที่ใช้คูณหารได้ ค.ศ. 1745 โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด (Joseph Marie Jacquard) คิดเครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรู ซึ่งถือเป็น เครื่องที่ใช้โปรแกรมเครื่องแรก ค.ศ.1822 ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) คิดเครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ค่าทางตรีโกณมิติ ค.ศ. 1830 ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) คิดเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) โดยแบ่งการทำงานของเครื่องได้ เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนควบคุม และส่วนคำนวณ มีข้อมูลในบัตรเจาะสามารถคำนวณโดยอัตโนมัติและเก็บผลลัพธ์ในหน่วยความจำก่อนที่จะพิมพ์ออกทางกระดาษ แต่เครื่องที่เขาคิดนั้นก้าวหน้าเกินไป จึงสร้างไม่สำเร็จแต่หลักการและแนวคิดได้ถูกนำมาสร้างเครื่องที่คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องเขาว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เอดา ออกุสตา (Ada Augusta) ผู้ช่วยเหลือ Babbage ออกความเห็น เขียนคำสั่ง และวิธีใช้เครื่องนี้แก้ปัญหาดังนั้นจึงได้รับการยกย่องให้เป็น โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก |