ตรุษไทย

ตรุษไทย
คำว่า ตรุษ เขียนแตกต่างกันมาเป็น ๓ แบบ คือ ตรุศ ตรุษณ์ ตรุษ มาจากรากศัพท์ในกาษาสันสกฤตว่า ตรุฏ แปลว่า เผด็จ ตัด ขาด สิ้น ตรงกับความหมายที่ใช้ในการพระราชพิธีว่า สัมพัจฉรฉินท์ และเผด็จศก ซึ่งแปลว่า ตัดปี สิ้นปี ขาดปี
ครั้นถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร.๖ ) ได้ทรงนำคำพ้องรูป ตรุษ ( ตะ - รุ - สะ = ยินดี ) มาใช้คู่กับเทศกาลพิธีสงกรานต์ว่า ตรุษสงกรานต์ แปลว่า สงกรานต์ที่น่ารื่นเริงยินดี มีความหมายแตกต่างกันกับคำว่า ตรุษ ในเทศกาลตรุษ จึงเป็นข้อที่น่าทำความเข้าใจให้ชัดเจน
ความหมาย

เทศกาลตรุษ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ตรุษ มีความหมายว่า " เทศกาล " คราว สมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและรื่นเริงในท้องถิ่นเมื่อสิ้นปี "
เทศกาลตรุษกำหนดนับวันทางจันทรคติ ( ขึ้น - แรม ) เป็นเกณฑ์แต่วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ถึงวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ รวม ๓ วันด้วยกัน ตรงกับเทศกาลสงกรานต์ นับวันทางสุริยคติ ( วันที่ ) เป็นเกณฑ์ ซึ่งปกติตกในราว วันที่ ๑๓ เมษายน
มีความสำคัญประมวลได้ รวม ๔ ประการคือ
๑. นับเป็นนักขัตฤกษ์ใหญ่ประจำปี
๒. ถือเป็นพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลแผ่ส่วนบุญให้เทพยดา ยักษ์ นาค ครุฑ คนธรรพ์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย
๓. เป็นพระราชพิธีขจัดเหตุเภทภัย ปัดเป่าเหตุร้ายและอันตรายต่าง ๆ แก่ทวยอาณาประชาราษฎร์
๔. ขอพรให้บ้านเมืองอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ชนิดและความเป็นมา

ตรุษไทย แบ่งได้เป็น ๒ ชนิด คือ ตรุษหลวงและตรุษชาวบ้าน ( ตรุษราษฎร์ )
ตรุษหลวง มีความเป็นมา ปรากฏตามความใจพระราชพิธี ๑๒ เดือน พระราชนิพนธ์ใน ร.๕ ซึ่งสมเด็จพระดำรงค์ราชานุภาพ ทรงวิจารณ์ไว้ว่า มีมาแต่รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลก ปรากฏหลักฐานตามกฎมณเฑียรบาลในกฎหมายตรา ๓ ดวง มีความหมายว่า " เดือน ๔ การพิธีสัมพัจฉรฉินท์ " ( = พิธีเผด็จศก หรือตัดปี สิ้นปี ) ซึ่งการพิธีแต่เดิมมีอยู่เพียงพิธีพราหมณ์ ต่อมาถึงปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ตกอยู่ในราว พ.ศ. ๒๒๙๙ ได้มีการเพิ่มพิธีทางพระพุทธศาสนาเข้าไป ( หลังจากพระอริยมุนีได้ไปพบเห็นพิธีตรุษในลังกา ทั้งได้เข้าร่วมพิธีด้วย ครั้นกลับมาถึงจึงนำมาใช้บ้าง ) ปรากฏความในคำให้การของชาวกรุงเก่ามีรายละเอียดระบุว่า ในการนี้ มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ถึง ๓ วัน เฉพาะในวันที่ ๓ นั้น สวดอาฏานาฎิยสูตร ตลอดรุ่ง ขับไล่เสนียดจัญไร เพื่อให้เกิดสุขสงบร่มเย็นแก่บ้านเมืองในแต่ละจบสะมีการยิงปืนใหญ่ตามป้อมค่ายที่เรียงรายอยู่รอบกำแพงวังและกำแพงพระนคร ๑๐๘ วัด โดยใช้ถุงข้าวสารแถมลูกกระสุนปืนใหญ่ ใช้ใบหนาดและใบสาบแร้งสาบกาทำเป็นหมอนอัดดินปืน ในหลวงเสด็จพิธี เมื่อพิธีเสร็จโปรดให้พรมน้ำมนต์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ สรรพาวุธ และช้าง เป็นต้น
การพระราชพิธีนี้ ได้ทำสืบเนื่องมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขบ้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการลดทอนลงเรื่อย ๆ เพื่อให้เหมาะกับการสมัย กระทั่งที่สุดได้ยกเลิกไป เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ ในรัชกาลที่ ๘ รวมระยะเวลาปฏิบัติสืบเนื่องมา ๑๕๐ ปี
ตรุษชาวบ้าน ( ตรุษราษฎร์ ) มีความเป็นมาและกำหนดตามตรุษหลวงเช่นกัน ดังเป็นที่รู้ทั่วกันว่า " ตรุษ ๓ สงกรานต์ ๔ " ( บางท้องถิ่น ตรุษ ๔ วัน สงกรานต์ ๕ วันก็มี ) มีกิจกรรมทั้งด้านบุญและการรื่นเริงบันเทิงใจประกอบกันเป็น ๒ ภาค คือ
ภาคกลางวัน ทุกบ้านจะรีบแต่งตัวนำอาหารไปทำบุญตักบาตรที่วัดแต่เช้า รับพรเสร็จแล้วตอนสายหนุ่าสายจะรีบกลับบ้านอาบน้ำแต่งตัวออกไปหาเก็บดอกไม้บุชากราบไหว้พระเจดีย์ตามวัด ในโอกาสนี้เอง หนุ่มสายจะถือโอกาสร้องเพลงตอบโต้กันตามถนัด เช่น
- เพลงอธิษฐาน ( ในตอนบูชาพระ เจดีย์ )
- เพลงพวงมาลัย
- เพลงช่วงชัย
- เล่นมอญซ่อนผ้า เป็นต้น
ภาคกลางคืน จะเป็นการเล่นเข้าทรงลงผีต่าง ๆ ตามลานกลางบ้าน เช่น
- แม่ศรี ( เข้าทรงผีนางรำ )
- ลิงลม ( เข้าหัวใจลิงลม ซึ่งจะปีนป่ายประดุจลิง )
- ผีนางด้ง ( มีกระด้งฝัดข้าวเป็นองค์ประกอบ )
สมัยปัจจุบันนี้ การเล่นร้องรำ และการเข้าทรงผี อันเป็นกิจกรรมเนื่องด้วยวัฒนธรรม ประเพณีจุดมุ่งหมาเฉพาะเพื่อการสนุกสนานรื่นเริงดังกล่าว ดูจะจางหายหาดูเกือบไม่พบแล้ว จะคงเหลืออยู่บ้างก็ในซอกมุมที่ห่างไกลความเจริญลึกลับเข้าไป ซึ่งถูกคลื่นวัฒนธรรมใหม่ บ่าทะลักเข้าลบล้าง ผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และดนตรีสมัยใหม่อยู่ไม่สร่างซา เกรงไปว่า ในอีกไม่ช้า ประเพณีมีเอกลักษณ์เฉพาะของไทยเหล่านี้ ก็จะลบเลือนหายไป ไร้ร่องรอยลงในที่สุด เราจะมีวิธีช่วยรักษาไว้ได้อย่างไร ? ในเมื่อปัจจุบัน วัฒนธรรมอันดีงามของชาติดูจะถูกละเลย และเสมือนมีใครจงใจจะให้เลือนหายไปต่อหน้าต่อตาทุกวัน ๆ อย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้ หรือท่านเห็นเป็นอย่างไร ?

ประเพณีในทางปฏิบัติในแต่ละครัวเรือนมีอยู่วาแต่ละบ้านเรือนจะต้องหาเตรียมจัดทำเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี คือ
แขวนข้าวผอก กระบอกน้ำไว้ตามทางแยกสามแพร่ หรือสี่แพร่ง เพื่อให้ผีทั้งที่เป็นญาติและมิใช่ญาติ ซึ่งหนีเตลิดตื่นตกใจจากเสียสวดอาฏานา หรือภาณยักษ์และเสียงปืนใหญ่ ( ซึ่งใช้ข้าวสารเสกเป็นลูกปืน ) วิ่งผ่านมาจะได้หยิบ
ฉวยพาเอาไปเป็นเสบียงกินได้ ( คำ " ผอก " แปลว่า ปลาหรือกุ้งป่น คลุกกับเกลือ )
- เตรียมขมิ้นกับปูนวางไว้ เพื่อเมื่อที่วิ่งหนีได้รับบาดเจ็บมาจะได้ทาฟกช้ำ
- ห้ามปัสสาวะลงล่องพื้นเรือนด้วยเกรงจะถูกผีที่วิ่งตื่นตกใจผ่านมาจะถือโทษโกรธแค้นเอาด้วยหาว่าดูแคลน
- ทำข้าวเหนียวแดงและกะละแม ถือเป็นขนมประจำเทศกาลตรุษ เพื่อทำบุญอุทิศเป็นเสบียงให้ญาติผู้ล่วงลับ
ได้เก็บไว้กินได้นานไม่เน่าบูด

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายว่า สงกรานต์ ไว้ว่า หมายถึง " เทศกาลเนื่องในวันขึ้นปีใหม่อย่างเก่าซึ่งกำหนดทางสุริยคติ ตกราววันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน "
กำหนด

เทศกาลประเพณีสงกรานต์ ตามคตินิยมทั่วไปถือตามคติโหราศาสตร์มีเกณฑ์กำหนดอยู่ ๓ วันคือ มหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก บางแห่งเช่นทางภาคเหนือ เพิ่มวันปากปีวันปากเดือนและวันปากวันเข้ามาอีก รวมเป็น ๖ วันด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติตามท้องถิ่นชนบททั่วไปนั้น มักถือทำบุญตักบาตรคล้าย ๆ กันคือทำบุญในเทศกาลตรุษ ๔ วัน ในเทศกาลสงกรานต์ ๕ วัน
๑. วันมหาสงกรานต์ เป็นวันที่ทางโหราศาสตร์คำนวณไว้ว่า ดวงอาทิตย์ยกย้ายจากราศีมีน ย่างเข้าสู่ราศีเมษ ปกติจะตกอยู่ราววันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน วันใดวันหนึ่งแต่ละปี มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามประเพณีท้องถิ่น เช่น
๑.๑ วันว่าง ( ทางภาคใต้ ) โดยถือว่าเป็นวันว่างจากการประกอบอาชีพการงาน ชาวบ้านจะเที่ยวเตร่เล่นรื่นเริง เช่น กีฬาชนวัว ปาข้าวต้ม ( ใช้ข้าวเหนียวห่อใบพ้ออย่างที่ภาคกลางเรียกว่า ลูกโยนต้มให้สุกนำมาขว้างปากันเป็นคู่ ๆ ระหว่างหนุ่มสาวเช่นเดียวกันกับเล่นลูกช่วงทางภาคกลาง )
๑.๒ วันสังขารล่อง ( ทางภาคเหนือ ) คือวันที่ปีเก่ผ่านพ้นไปเนื่องจากดวงอาทิตย์ย้ายราศี มาคมติความเชื่อถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่ควรนำมาเล่าขานไว้ในที่นี้ ก็คือว่า ก่อนวันสังขานต์ล่องจะมาถึง แต่ละบ้านใดไม่ทำจะถูก ( ปู่สังขานต์ ) ถ่มน้ำลายรดเอา จะต้องซวยไปทั้งปีไม่มีความเจริญ ครั้น " วันสังขานต์ล่อง " มาถึง ทุกบ้านจะทำการเผาขยะหยากเยื่อนั้นเรียกกันว่า " เผาสังขานต์ " เป็นการกำจัดความไม่ดี รวมทั้งเคราะห์โสก โรค ภัย ที่มีในปีที่ผ่านมาปล่อยทิ้งไปพร้อมกับปีเก่าที่ผ่านพ้นไป
๑.๓ วันพระเจ้าลง เรียกประเพณีปฏิบัติของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ คล้ายกับประเพณีของชาวเวียงจันทร์ เมื่อสงกรานต์มาถึง พระสงฆ์ในวัดแถบนั้นจะนำพระเจ้า คือพระพุทธรูปน้อยใหญ่ มาขัดสีฉวีวรรณ สรงน้ำ แห่อันเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นหรือโต๊ะบูชาในศาลาการเปรียญให้คนได้สรงน้ำพระต่อไป ตกเย็น จึงอัญเชิญพระเจ้าองค์ที่สำคัญ ๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นพระทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ลงประดิษฐานไว้ที่หอสรง ที่จัดเตรียมไว้เฉพาะที่บริเวณลานพิธีเพื่อให้คนได้สรงน้ำกันทั่วถึงในตอนเย็นและค่ำคืน จึงเรียกว่ากันว่า " วันพระเจ้าลง "
ส่วนประเพณีชาวบ้านหมี่ ลพบุรี มีข้อแตกต่างกันไปบ้าง ที่น่ารู้คือ
ตอนเย็น หลังจากพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปหรือพระเจ้าแล้วก็ถือโอกาสสรงน้ำพระสงฆ์และเล่นสนุกสนานสาดน้ำกัน เสร็จแล้วทำพิธีขอขมาพระสงฆ์
ตอนกลางคืน ชาวบ้านจะพากันนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาพระเจ้าที่หอสรง จากนั้นก็เล่นรื่นเริงต่าง ๆ เช่น ช่วงชัย เข้าทรงลงผี เล่นลิงลม แม่ศรี เป็นต้น
วันถัดไป ( วันเนา ) ต่างนำดอกไม้ธูปเทียนเดินเป็นขบวนไปสรงน้ำพระตามหอสรงวัดต่าง ๆ พลางเล่นสาดน้ำรื่นเริงกันด้วย เมื่อเสร็จจากสรงน้ำพระตามหอสรงตามวัดและวันที่ต้องการแล้ว ก็จะนำข้าวเหนียวมาแช่และนึ่งทำรวมกันที่ศาลาวัดระหว่างที่คอยเวลาให้ข้าวสุกอยู่นั้น ก็ตีกลองฆ้องเล่นรื่นเริงสนุกสนานบันเทิงกันไป เรียกกันว่า " ง้นข้าวพ้นก้อน " ( ง้น = ฉลอง ) กระทั่งรุ่งเช้า จึงจัดขบวนแห่ข้าวสุกแล้วไปบูชาพระตามหอสรง เรียกว่า " บูชาข้าวสุก " จนครบวัดที่ต้องการแล้วจึงกลับมาทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระที่วัดเสร็จแล้ว ทำพิธี " สู่ขวัญพระเจ้า " ( พระพุทธเจ้า " แล้วอัญเชิญขึ้นจากหอสรง นำไปประดิษฐานเก็บไว้ตามเดิม
๑.๔ บุญสรงน้ำ บุญประเพณีของชาวอีสานนี้ มิได้กำหนดเอาวันสงกรานต์เป็นเกณฑ์เหมือนภาคอื่น ๆ แต่ถือเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันกำหนดบุญประเพณี เรียกว่า " บุญสรงน้ำ " ซึ่งความจริงก็อยู่ในเทศกาลสรงกรานต์นั่นเอง เมื่อวันนี้มาถึงประมาณบ่าย ๓ โมง พระสงฆ์จะตีกลองโฮม (รวม ) ชาวบ้านซึ่งต่างก็นำน้ำอบน้ำหอมที่จัดเตรียมไว้ใส่หาบนแมารวมกันที่ศาลาววันเรียกว่า " ศาลาโรงธรรม " หรือศาลาการเปรียญ พระสงฆ์จะนำพระพุทธรูปน้อยใหญ่ขัดสีฉวีวรรณแล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ " หอโฮง " ( หอโรง ) หรือศาลาโรงธรรม พระสงฆ์มาพร้อมกัน จากนั้นชาวบ้านนำเครื่องสักการะกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยตรัส ขอศีล อาราธนามุงคุล ( มงคล ) พระสงฆ์สูดมุงคุล ( สวดมงคล ) จบแล้ว ชาวบ้านทำพิธีสู่ขวัญพระพุทธรูป สรงน้ำพระ ก่อทราย สวดมนต์เย็นฉลองพระทราย กลางคืนมีมหรสพพื้นบ้านฉลองหรือ " งัน " เป็นการรื่นเริง รุ่งขึ้นทำบุญตักบาตร
อนึ่ง การสรงน้ำพระพุทธรูปจะกระทำต่อเนื่องไปตลอดเดือนจนถึงวันเพ็ญเดือนหก หรือวิสาขบูรณมี จึงอันเชิญพระพุทธรูปขึ้นสถิตไว้ ณ ที่เดิมต่อไป
๒. วันเนา โบราณเขียนรูปต่างกัน วันเนาว์ วันเนา มีความหมายไปตามรูปคำ แต่ก็ยุติลงในวัตถุประสงค์เดียวกันดังนี้
๒.๑. วันเนา ( เนา (เขมร) อยู่ ) หมายถึง ดาวอาทิตย์ยังอยู่กันที่เนื่องมาจากเพิ่งเข้าสถิตราศีเมษดังกล่าวแล้ว จึงไม่ส่งผลในการส่งเสริมดาวสุภเคราะห์ใด ๆ และไม่มีกำลังที่จะต้านทานผลร้ายจากดาวบาปเคราะห์อื่น ๆ ในลักษณะป้องกันได้ จึงถือเป็นวันไม่ดี ไม่ส่งเสริมมงคล
๒.๒. วันเน่า เป็นสำเนียงพื้นบ้านทางภาคเหนือ มีที่มาอยู่ ๒ ทางคือ
๒ เป็นรูปเดียวกับคำว่า " เนา " นั่นเอง แต่เขียนตามสำเนียงพื้นบ้านเป็น " วันเน่า " ไป และมีความหมายเช่นเดียวกันดังกล่าวแล้ว
- มีที่มาจาก " คัมภีร์อานิสงส์ปีใหม่ " ของชาวเหนือ กล่าวถึงที่มาและความหมายของ " วันเน่า " โดยดำเนินเรื่องกล่าวถึงพระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งถูกถามว่า " พระยาสุริยะ " ครองเมือง " กลิงคราช " เลี้ยงผีปีศาจไว้มากมาย ไม่ช้าชีพิตักษัตริย์ไปเกิดเป็นเปรตหัวล้านมีเลือดไหลอยู่มิได้ขาด ครั้นภายหลังภริยา ๒ นางตายไปเกิดเป็นเปรตอยู่ด้วยกัน ครั้นในวันสังขานต์ล่องผ่านไปได้ช่วยกันเอาน้ำล้างเลือดเน่าที่ไหลออกมานั้น จึงเรียกว่า "วันเน่า "
ด้วยเหตุนี้ สรุปแล้ว วันเนาว์ วันเนา ถือเป็นวันที่ไม่ดีดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ดี กิจกรรมตามประเพณีนิยมที่จัดทำในวันเนานั้น นำมารวบรวมกล่าวไว้ดังนี้
- เป็นวันจัดทำของทำบุญตักบาตร ถวายอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ อุทิศผลบุญกุศลให้ญาติมิต บุพพการิชน บรรพบุรุษของตน เป็นการทดแทนบูชาพระคุณที่ปีใหม่มาถึง
- เตรียมชื้อ นก ปลา เต่า วัว ควาย ไถ่ชีวิตให้เป็นทาน เปลื้องทุกข์ ถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ต่ออายุให้เกิดปลอดภัย มีความอยู่เย็นเป็นสุข
- จัดเตรียมชื้อของ เสื้อผ้า น้ำอบ น้ำหอม เพื่ออาบน้ำดำหัว ( สระผม ) ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นปูชนียบุคคลในครอบครัวและในหมู่บ้าน ตั้งปรารถนา ให้ท่านอยู่ดีมีอายุยืน และขอศีลขอพรจากท่านเป็นมงคลแก่ตัว
- เตรียมขนทรายเข้าวัด เพื่อก่อ ฉลองพระเจดีย์ทราย หรือพระทราย ( วาลุกาเจดีย์ ) ซึ่งบางแห่งนิยมทำกันในวันเนานี้ แต่บางแห่งนิยมทำกันในวันรุ่งขึ้นหรือวันเถลิงศก
อนึ่งการก่อเจดีย์ทรายนั้น มีประวัติว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทอดพระเนตรเห็นทรายขาวสะอาดที่ชายหาดด้วพระราชศรัทธาในพระรัตนตรัย ทรงก่อวาลุกาเจดีย์ขึ้น ณ ที่นั้น จำนวนถึง ๘,๔๐๐๐ องค์และได้ทรงรับพระยากรณ์จากพระพุทธองค์ว่ามีอานิสงส์มากยิ่ง อันถือเป็นคตินิยมทำตามกันมา และต่อมา ได้มีความนิยมเชื่อถือเพิ่มเติมขึ้น สรุปกล่าวไว้ ๒ ประเด็น คือ
ประเด็นแรก เป็นการจำลองเจดีย์จุฬามณีในดาวดึงเทวโลกมาสร้างกราบไหว้บูชา ซึ่งถือกันว่า
- เป็นสถานที่บรรจุ พระจุฬาโมลี ( มวยผม ) ที่พระพุทธองค์ทรงใช้พระขรรค์ตัดทิ้งเมื่อครั้งเสด็จออกผนวช ซึ่งพระอินทร์นำไปบรรจุไว้
- เป็นสถานที่บรรจุ พระทาฐธาตุ ( พระเขี้ยวแก้ว ) ด้านขวา ซึ่งพระอินทร์นำมาจากมวยผมของโทณพราหมณ์ที่แอบซ่อนไวว้ในขณะแจกพระบรมสาริริกธาติแล้วนำไปบรรจุรวมไว้ด้วย
การก่อพระเจดีย์ทราย ตามนัยนี้ถือเป็นอุทเทสิกเจดีย์ ( พระเจดีย์ที่สร้างขี้นเป็นเครื่องเตือนให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณเช่นเดียวกันกับ พระพุทธรูป ) ถือว่าได้บุญมาก
ประเด็นที่สอง ถือเป็นการชดเชยใช้หนี้คืนให้แก่ธรณีสงฆ์สมบัติพระศาสนา ในภาคเหนือเรียกว่า " ขอขมาต่อช่วงแก้วทั้งสาม " ( ลานพระรัตนตรัย ) ทั้งนี้ โดยคติความเชื่อเช่นเดียวกันว่า การนำของพระสงฆ์ออกไปโดยมาได้รับอนุญาติเป็นบาปใหญ่หลวง เพื่อเป็นการปลดเปลื้องบาปที่อาจมีเพราะดินทรายที่เหยียบย่ำในวัดติดเท้าออกไปด้วย เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ก็จัดประเพณีขนทรายเข้าวัด โดยก่อพระเจดีทายเป็นอุทเทสิกเจดีย์พร้อมกันไปด้วย ซึ่งประเพณีดังกล่าวนี้ นอกจากจะเป็นการฝึกปลูกฝังคุณธรรมข้อกตัญญูกตเวทีแล้ว ยังปลูกสร้างสำนึกรับผิดชอบให้เกิดสำนึกร่วมในการเป็นประประโยชน์ร่วมและดำรงรักษาสาธารณประโยชน์ร่วมกันอีกด้วย
วันเถลิงศก ทางภาคเหนือเรียกว่า " วันพญาวัน " ถือเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราช ( จ.ศ. ) ใหม่ แต่ต่อมาใช้รั้ตนโกสินทร์สักราช ( ร.ศ. ) แทน มีกิจกรรมตามคติเชื่อถือปฏิบัติกันมา รวมกล่าวได้ ดังนี้
- เป็นวันทำบุญตักบาตร บังสุกุลอัฐิบรรพบุรุษและวงศาคณาญาติอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่านพ้นทุกข์ มีสุขตลอดไป
- เป็นวันก่อพระเจดีย์ทราย ( วาลุกาเจดีย์ )
- เป็นวันสรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำสงกรานต์
- ทางภาคเหนือ จะเอาไม้ค้ำกิ่งโพธิ์ มีความหมายเป็นการอุปถัมภ์ค้ำจุนไม้ตรัสรู้ ถือเป็นการค้ำจุนสืออายุ ส่งเสริมพระศาสดาทางหนึ่ง
๔. เป็นวันที่ชาวเหนือขยายสงกรานต์ออกไปอีก ๓ วัน เป็นวันรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่โดยเฉพาะ โดยแต่ละหมู่บ้านจะรวมตัวกันจัดขบวนแห่ตระเวนไปรดน้ำดำหัวมอบเสื้อผ้าให้ผู้หลักผู้ใหญ่ปูชนียบุคคลของชุมชน ปรารถนาให้อยู่ดีมีสุข และขอศีลขอพรจากท่านเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนนับเป็นเอกอุดมมงคลข้อ " บูชาผู้ที่ควรบูชา " โดยแท้
ความสำคัญ ความสำคัญของสงกรานต์ที่มองเห็นได้ชัดเจนมี ๒ ประการ คือ
๑. ถือเป็นเทศกาลปีใหม่ของชนชาติไทยมานาน ซึ่งแม้มีประกาศยกเลิกเป็นทางการไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๓(สมัย ร.๕. ) แต่ชาวบ้านชาวเมืองก็ยังคงนิยมถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา แม้กระทั่งปัจจุบัน
การถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่นั้น เป็นคติความเชื่อของชนชาวลุ่มน้ำเจ้าพระยามานับเนื่องนานกาล เนื่องจากเป็นคติความเชื่อตามอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ซึ่งครอบงำแถบถิ่นนี้มาก่อน ต่อเมื่อชนชาติไทยอพยพมาจากจีนตอนใต้เข้ามาอยู่ในถิ่นแถบนี้ จึงรับเอาอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ไว้เต็มที่และปรับเปลี่ยนประเพณีแนวปฏิบัติที่เคยนับเริ่มฤดูกาลทำกินตั้งแต่เดือนอ้าย ( เดือนแรก ) ซึ่งตกในราวเดือนพฤศจิกายน อันถือเป็นฤดูเริ่มเพาะปลูกทำกินและถือเป็นวันขึ้นปีใหม่เริ่มชีวิตใหม่มาแต่ต้น เปลี่ยนมาถือเดือนเมษายนเป็นเดือนเริ่มฤดูตั้งต้นทำกินหรือเริ่มปีใหม่ตามฤดูกาลแตกต่างกันไปตามภูมิภาคของโลกตามเป็นจริง ซึ่งน่าจะบันทึกระยะการเปลี่ยนแปลงไว้ดังนี้
เดิมทีชนชาติไทยเราถือเอาเดือนอ้ายเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ซึ่งยังมีชื่อเดือนอ้าย ( แรก หนึ่ง ) เดือนยี่ ( สอง ) เดือนสาม เดือนสี่ เป็นต้น ปรากฏอยู่ในปฏิทินปัจจุบันเป็นหลักฐาน
ครั้นอพยพย้ายถิ่นฐานลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้รับเอาอิทธิพลศาสนาพราหมณ์คือ เดือนห้า เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่เพิ่มเข้ามาอีก เป็นเหตุให้มีเทศกาลประเพณีขึ้นปีใหม่สองครั้งสองหนประดักประเดิดเรื่อยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๓๒ อันเป็นรัชสมัยของ ร.๕ เผอิญว่าวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ อันเป็นเปลี่ยนศกใหม่ ตรงกับวันที่ ๑ เมษายนพอดี ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ถือเอาเดือนห้าเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่เป็นทางการตั้งแต่ครั้งเดียวกระทั่งถึง รัชสมัย ร.๘ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเปลี่ยนแปลงแก้ไขวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลขึ้นคณะหนึ่ง ประชุมกันครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ณ ห้องประชุมราชบัณฑิยสถาน มามติให้ถือเอา วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตามหลักสากล โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นไป เป็นเหตุให้ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ( ปีมะโรง ) มีเพียง ๑๐ เดือนเท่รานั้น ถึงกระนั้น ถึงกระนั้นทางโหรศาสตร์ไทยยังคงนับอายุโดยถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนเริ่มต้นอยุ่เช่นเดิม
๒. เป็นเทศกาลลอนอนุรักษ์และปลูกฝังคุณธรรมอันเป็นเอกลักษณ์แห่งวัฒนธรรมประเพณีไทย


โดย : นาย เหรียญทอง เรืองรอง, ร.ร.วัดหลักสองราษฎร์บำรุง ต.หลักสอง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร, วันที่ 9 กรกฎาคม 2546