เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา

INFORMATION TECHNOLOGY FOR……

โดย นางปิยะนุช สารสิทธิยศ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน(ทั่วไป)

สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์

วิสัยทัศน์ การจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาผู้เรียนต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อทันต่อเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงของโลก และเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านข้อมูลสารสนเทศ

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในด้านข้อมูลสารสนเทศในเรื่องต่อไปนี้

    • ส่งเสริมให้หน่วยงานและสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Oganization)

ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ในหน่วยงานและสถานศึกาาให้มากขึ้น และให้ทั่วถึงทุกโรงเรียน

    • ส่งเสริมให้ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศ (IT) และสามารถนำมา

ใช้ในการทำงานได้ ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดนโยบายเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า ในการฝึกอบรมบุคลากรของหน่วยงาน / สถานศึกษา ขอให้อบรม 2 เรื่อง คือ ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์

    • ส่งเสริมให้สถานศึกษามีระบบเครือข่ายโรงเรียน (School Net) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าไปสู่โลก

แห่งความรู้ ดังนั้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการวางแผนดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประสานงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการใช้อินเตอร์เน็ตในระดับตำบล ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่าย

ครั้งละ 3 บาท โดยรองนายกรัฐมนตรีขอหารือเกี่ยวกับขอยกเว้นค่าใช้จ่าย ดังกล่าว

จากผลการดำเนินการเรื่องระบบเครือข่ายโรงเรียน (School Net) ที่ผ่านมาพบว่า

โรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนใหญ่มีการดำเนินการในเรื่องนี้ รวมทั้งโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ แต่จากการติดตามผลการใช้ข้อมูลสารสนเทศ พบว่า เรายังใช้ในการรับ – ส่งอีเมล์เท่านั้น แต่ยังไม่ได้เข้าสู่ WWW.(Worid Wide Web) เพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจจะเป็นข้อจำกัดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสถานศึกษา

นโยบายสำคัญประการหนึ่งของรัฐบาลชุดปัจจุบันในด้านการศึกษามีจุดเน้นอยู่ที่การ

พัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างทุนทางปัญญาให้เพิ่มขึ้นแก่สังคมไทย จะได้นำไปใช้ประโยชน์

ต่อการเพิ่มทุนด้านเศรษฐกิจเป็นการแก้ไขสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังประสบอยู่

ประชาชนทุกคนในชาติจึงต้องได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางและทั่วถึงให้เกิดลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) หรือสังคมความรู้ (Knowledge Society) องค์กรทุกแห่งต้องจัดบรรยากาศให้เป็น Knowledge Organization เพื่อบริการข้อมูลสารสนเทศ เสริมสร้างปัญญาแก่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ สามารถนำไปใช้พัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวม สถานการณ์ปัจจุบันนี้จะต้องพัฒนาด้านเศรษฐกิจ โดยใช้

ความรู้เป็นฐาน ซึ่งจะทำให้โอกาสของการพัฒนาเศรษฐกิจเปิดกว้างออกไปได้หลากหลาย

วิสัยทัศน์ต่างชาติ

สหรัฐอเมริกา

กำหนดนโยบายว่าในปี คศ. 2000 ทุกโรงเรียนจะต้อมมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนห้าคน และทุกห้องเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์ต่ออินเตอร์เน็ตได้

สิงคโปร์

ประกาศนโยบายทำนองเดียวกับสหรัฐอเมริกาว่า เขาจะต้องให้โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนสองคน ในปี คศ. 2002 และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทุกวงการอาชีพ แม้แต่ในระบบราชการ

สรุป

กล่าวได้ว่าหลายประเทศกำลังรีบเร่งนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เพื่อ

การศึกษากันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ให้เป็น

ระบบกลางที่มีราคาถูก เพื่อส่งเสริมการศึกษาของประชาชน การเรียนรู้วิธีนี้จะอาศัยแหล่งความรู้ที่ได้จาก

ทั่วโลก

เทคโนโลยีคือการนำความรู้มาใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ 3 ประการ

    1. เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสังคม
    2. เพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจหรือการค้า
    3. เพื่อนุรักษ์ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

บรรณานุกรม

เกษม วัฒนชัย.ศ.นพ. “นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา”ของกระทรวงศึกษาธิการ. มีนาคม 2544.

พนม พงษ์ไพบูลย์.ดร. “แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ” มีนาคม 2544

ออนไลท์ http://www.moe.go.th/web-panom/article-panom/book-panom03.htm “สังคมแห่งการเรียนรู้”

คำหลักใช้ในการสืบค้น การศึกษา

[ถัดไป>>] 

โดย : นาง ปิยะนุช สารสิทธิยศ, สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดแพร่, วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2546