ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย

เมื่อเอ่ยถึงเรื่องคำขวัญของแต่ละจังหวัด สิ่งที่เป็นจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการนำเสนอ
เรื่องราวของวัฒนธรรม ประเพณี อาหาร และอาชีพที่สำคัญมาเป็นประโยครวมที่ได้ใจความอ่านแล้วรู้ถึงได้ทันทีว่าจังหวัดนั้น ๆ มีอะไรเด่นบ้าง และถ้าจะพูดถึงจังหวัดแถบภาคตะวันออกจุดแรกก็คงพูดถึง "ชลบุรี" ที่มีทะเลอยู่แค่เอื้อมและมีคำขวัญที่น่าสนใจว่า
" ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีวิ่งควาย"ของ จ.ชลบุรีเป็นประเพณีเก่าแก่และ ดั้งเดิมมีการสืบทอดมาเป็นเวลากว่า 100 ปี แล้ว ซึ่งจะจัดขึ้นในวันขึ้น14 ค่ำเดือน 11 และในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นประจำในทุก ๆ ปี และจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีประเพณีวิ่งควายประเพณีวิ่งควายเกิดขึ้นมาจาก ในวันออกพรรษาพุทธศาสนิกชนทุกคนจะต้องเดินทางมาวัดเพื่อทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะและ เมื่อก่อนถึงวันออกพรรษาชาวไร่ชาวสวนจะนำสินค้าในสวนของตนออกมาจำหน่ายอาทิ กล้วย มะพร้าว ใบตอง ข้าวเหนียว ฯลฯ และเนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีรถที่จะใช้บรรทุกสินค้ามาขายเหมือนในปัจจุบันจึงต้องนำสินค้าเดินทางมาด้วยเกวียน โดยใช้ควายลากมาจำหน่ายให้กับชาวบ้านเพื่อ ไปทำข้าวต้มหางและกับข้าวอื่น ๆ นำไปใส่บาตรและถวายแด่พระสงฆ์เมื่อเดินทางมาถึงก็จะนำควายของตนไปพักอยู่ในบริเวณวัด ซึ่งในสมัยนั้นรอบ ๆ ตัวเมืองชลบุรี มีวัดติดต่อเรียงรายกันเป็นแถวกว่า 10 วัด และในแต่ละวัดจะมีลานกว้างขวางไม่มีอาคารร้านค้าในบริเวณวัด จึงทำให้เกวียนเมื่อบรรทุกสินค้าเข้ามาจำหน่ายในเมือง จึงพักเกวียนตามลานวัดสุดแท้แต่ที่จะสะดวกและใกล้เคียงกับตลาดที่ติดต่อค้าขายด้วย และเอกชนแห่งหนึ่งข้างวัดต้นสนและเป็นที่พักเกวียนเพื่อถ่ายสินค้าเรียกกันว่า "ตลาดท่าเกวียน" เมื่อจับจ่ายขายสินค้าซื้อหาสิ่งของที่ต้องการ จนเสร็จแล้วก็จะถือโอกาสนี้พบปะพูดคุยกันจูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายสืบมาเป็นวิ่งควายรอบๆตลาด ด้วยความสนุกสนานในปีต่อ ๆ มาก็เพิ่มการตกแต่งควายให้สวยงามและเป็นการทำขวัญควายไปในตัว เช่น ทำถุงสวมเขาควายตกแต่งเชือกจูงควายปฏักเฆี่ยนควายทำฉบังแต่งหน้าควายและเพิ่มการตกแต่งคนขี่ควาย ให้สวยงามวิจิตพิสดารไปตามความคิดของตนจนกลายเป็นประเพณีวิ่งควายในระยะหลังๆแม้จะไม่ได้ใช้เกวียนในการบรรทุกสินค้ามาตลาดเหมือนแต่ก่อน แต่เมื่อถึงเทศกาลวิ่งควายก็ยังนำควายเข้ามาวิ่งเป็นประจำ นำควายมาพักตามลานวัดต่าง ๆ สุดแท้แต่จะสะดวก ลานวัดเกือบทุกวัดจึงเป็นลานสำหรับพักควายวิ่ง ในเทศกาลวิ่งควายและหากในระหว่างปีควายเกิดการเจ็บป่วย เจ้าของควายก็จะบนบานศาลกล่าวด้วยการนำควายมาวิ่งแก้บนในประเพณีวิ่งควายนี้ด้วย จนทำให้การวิ่งควายสืบทอดมาเป็นประเพณีของ จังหวัดชลบุรี จนถึงทุกวันนี้ ในปัจจุบันสถานที่วัดมีการก่อสร้างของอาคารบ้านเรือนจึงทำให้ลานวัดคับแคบลงทำให้ไม่สามารถจัดการแข่งขันวิ่งควาย ได้จึงได้ทำการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันวิ่งควายมาวิ่งที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรีและ ในปีนี้ เทศบาลเมืองชลบุรีได้เล็งเห็นถึงประเพณีวิ่งควายซึ่ง
เป็นการจรรโลงสร้างสรรค์สืบสานและนิยมยึดถือปฏิบัตสืบเนื่องกันมาจนเป็นแบบแผนมาเท่าทุกวันนี้ จึงได้กำหนดจัดงานประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีขึ้นในระหว่าง
วันที่ 6-14 ตุลาคม 2543 ณ. สนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี โดยมีพิธีเปิดในวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2543 ซึ่งเป็นวันประเพณีวิ่งควาย ณ. เวทีกลางจังหวัดชลบุรี ประเพณีวิ่งควาย ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรีจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 อำเภอบ้านบึงจัดแรม 1 ค่ำเดือน 11เป็นประเพณีของชาวไร่ชาวสวน หรือเกษตรกรที่จะได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์การประกวดประชันในการดูแลบำรุงเลี้ยงควายของกันและกัน ควายของใครสมบูรณ์กว่ากันมีทุกข์สุขอันใดก็ปรึกษาหารือซึ่งกันฉันมิตร เพิ่มไมตรีจิตผูกความสนิทสนมให้มากยิ่งขึ้น เป็นประเพณีแห่งเดียวของประเทศไทย ถึงแม้ในปัจจุบันเกษตรกรจะใช้ควายเหล็กมาใช้งานแทนควายในด้านการไถนาปลูกข้าว เป็นจักรกลเครื่องผ่อนแรงแต่ปรากฎว่าการจัดการแข่งขันวิ่งควายของแต่ละหน่วยงานที่จัดขึ้นนั้นจำนวนของควายที่เข้าร่วมการแข่งขันก็ไม่ลดน้อยลงเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนของชาวชลบุรีนั้นยังเห็นความสำคัญของประเพณีประจำท้องถิ่นของเรา และหากยังมีความร่วมแรงร่วมใจกัน เช่นนี้ตลอดไปจะสามารถดึงคนต่างถิ่น และชาวต่างชาติเข้าชม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาติและ ชาวชลบุรีและทำให้ประเพณีวิ่งควายประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของจังหวัดชลบุรีอยู่คู่กับจังหวัดชลบุรีตลอดไป



แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรียนท้องถิ่นของเรา ส 071

โดย : นางสาว สิริพร ฤทธิ์งาม, ร.ร. พนัสพิทยาคาร, วันที่ 18 กันยายน 2545