สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันถือว่าหัวใจสำคัญของการเมืองคือประชาชนจึงได้ปรับการเมืองให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศด้วยการเพิ่มสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนในด้านต่างๆ คำว่าสิทธิหมายถึง อำนาจที่จะทำการใดๆอย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย

ขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพ

มาตรา 63 บุคคลที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้

สิทธิของชนชาวไทย

  1. สิทธิในชีวิตและร่างกาย ประชาชนได้รับความคุ้มครองในชีวิตและร่างกายตามกฎหมาย โดยห้ามการทรมาน ทารุณกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้ายโดยไร้มนุษยธรรม
  2. สิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สิน การสืบทอดมรดก และการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จะทำได้โดยพลการไม่ได้ และจะต้องได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากการเวนคืนนั้นอย่างเป็นธรรม
  3. สิทธิในการรับข้อมูลข่าวสารของสาธารณะและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ประชาชนมีสิทธิรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นสาธารณะของหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานอื่นๆ มีสิทธิขอข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้องและความเป็นอยู่ ตลอดจนมีสิทธิในการทำประชาพิจารณ์
  4. สิทธิในการแจ้งความร้องทุกข์ ประชาชนมีสิทธิร้องทุกข์ในเรื่องต่างๆ และมีสิทธิฟ้องหน่วยงานของรัฐได้
  5. สิทธิของคนวัยต่างๆ สิทธิของเด็ก คนชรา และคนพิการ จะได้รับความคุ้มครอง โดยเด็กจะได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยรัฐจากความโหดร้ายทารุณ คนชราและพิการมีสิทะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐตามความเหมาะสม
  6. สิทธิของผู้บริโภค สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
  7. สิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์การปกครองท้องถิ่น
  8. สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา ประชาชนจะต้องไม่รับโทษอาญายกเว้นถ้ามีการทำความผิดตามที่กฎหมายระบุไว้
  9. เสรีภาพในการนับถือศาสนา ประชาชนจะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  10. เสรีภาพทางการเมือง ประชาชนมีเสรีภาพในการรวมตัวการตั้งพรรคการเมืองตามระบบประชาธิปไตย
  11. เสรีภาพของสื่อมวลชน สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสนอข่าวสาร ได้อย่างอิสระ



แหล่งอ้างอิง : หนังสือกฎหมายเกี่ยวกับประชาชน

โดย : นางสาว พัลลภา มีวงษ์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 18 กันยายน 2545