ลักษณะภูมิประเทศ


ลักษณะภูมิประเทศ
โครงสร้างภูมิประเทศ มีลักษณะเด่นชัดอยู่ 2 ประการ คือ ส่วนที่เป็นคาบสมุทรแผ่นดินใหญ่ติดต่อกับทวีเอเชีย ตั้งแต่บริเวณเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือ ได้แก่ คาบสมุทรอินโดจีน กับส่วนที่เป็นกลุ่มเกาะมลายู ที่อยู่ทางใต้จนถึงตะวันออกเฉียงเหนือของภูมิภาค
ลักษณะภูมิประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่
1. เทือกเขา ในเขตแผ่นดินใหญ่บนทวีป มีแนวเทือกเขาสูงทอดยาวลงมาจากทางเหนือ ได้แก่ เทือกเขาปาตไก ( Patkal) และเทือกเขาอาระกันโยม ( anyoma) ในพม่า ซึ่งมีแนวต่อเนื่องลงไปในมหาสมุทรอินเดียเป็นหมู่เกาะอันดามัน ****อ่านไม่ออก** เกาะสุมาตราของอินโดนีเชีย ถัดมาทางตอนกลาง ได้แก่ เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งมีแนวต่อเนื่องไปภาคใต้ของไทยถึงมาเลเซียตะวันตก และแนวเทือกเขาที่ทอดขวางไปทางตะวันออกเข้าไปในลาวและเวียดนาม คือ เทือกเขาอันนัม
2. แม่น้ำ
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแม่น้ำในเขตแผ่นดินใหญ่หลายสายที่ทอดยาวจากเหนือลงใต้อยู่ระหว่างเทือกเขาต่าง ๆ ส่วนในหมู่เกาะมีแม่น้ำสายสั้นๆ ทอดยาวในลักษณะ แนวนอน แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่
2.1แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดและสำคัญมาก เพราะเป็นแม่น้ำนานาชาติ ไหลมาจากเทือกเขาตังกูลา (Tangkula) ในบริเวณที่ราบสูงทิเบต ผ่านทางตอนใต้ของสาธารณ รัฐประชาชนจีน ลาว ไทย และกัมพูชาออกสู่ทะเลจีนใต้ที่เมืองโฮจิมินห์ซิตีของเวียดนาม เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับลาวส่วนหนึ่งด้วย
2.2แม่น้ำสาละวิน ต้นน้ำอยู่ในทิเบต ไหลมาจากทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงสู่อ่าวเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของพม่า
2.3แม่น้ำอิรวดี เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดและสำคัญที่สุดของพม่า เกิดจากบริเวณที่ราบสูงทางภาคตะวันออกของพม่าไหลลงสู่ทางใต้ที่เมืองสีเรียม บริเวณอ่าวเมาะตะมะ ดินแดนปากแม่น้ำเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญ
2.4 แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของไทย เกิดจากแคว 4 แควทางภาคเหนือไหลมารวมกันที่จังหวัดนครสวรรค์แล้วลงสู่อ่าวไทยสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งเกษตรกรรมปลูกข้าวของประเทศไทย
2.5 แม่น้ำแดง เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเวียดนาม ไหลมาจากทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มาทางตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนามลงสู่อ่าวตังเกี๋ยดินแดนบริเวณแม่น้ำเหล่านี้เป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกข้าวเจ้า จึงเป็นบริเวณปลูกข้าวแหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้แม่น้ำเหล่านี้ยังเป็นเส้นทางคมนาคมภายในประเทศที่สำคัญอีกด้วย



โดย : นาง ศิริวัฒน์ สาดศรี, นารีนุกูล, วันที่ 21 เมษายน 2545