เด็กสมาธิสั้น

เด็กสมาธิสั้น
( Hyperactive)

หมายถึง เด็กที่ซนมากไม่อยู่นิ่ง แยกได้ 2 กลุ่มคือ
1. มีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง เช่น มีความลำบากในการฟังคำสั่งยาวๆ มีความลำบากในการทำงานหรือเล่นกิจกรรม อุปกรณ์การเรียนสูญหายบ่อย สนใจในสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ ขี้ลืม มักทำของหาย เหม่อลอย ช่างฝัน ลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานาน
2. อาการหุนหันพลันแล่นจนขาดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งมีลักษณะคือ ไม่รู้จักระวังตัวเอง ลุกออกจากที่นั่งบ่อย ชอบวิ่งหรือปีนป่าย พูดคุยมากเกินไป มีความลำบากในการเล่นคนเดียว ลุกลี้ลุกลน อารมณ์ร้อนแปลี่ยนแปลงง่าย ขาดความอดทน ชอบพูดขัดจังหวะ รบกวน ช่างฟ้อง

สาเหตุส่วนใหญ่ มาจาก ลักษณะถ่ายทอดทางพันธุกรรมในเรื่องของสารเคมีในสมองหรือระบบประสาทและ สภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง

ครูสามารถช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้ เช่น เขียนคำสั่งให้ชัดเจนสั้นๆไว้บนกระดาน แบ่งคำสั่งเป็นลำดับขั้นตอนย่อยๆ จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้นเรียนหรือนั่งกับเพื่อนที่มีศักยภาพและความเข้าใจการช่วยเหลือเด็ก ให้เวลาเพิ่มขั้น เตือนให้ส่งการบ้านทุกวัน เวลาครูพูดหรืออธิบายต้องแน่ใจว่าสนใจฟัง เลือกใช้หนังสือที่ไม่ซับซ้อน แบ่งการบ้านออกเป็นส่วนๆ จำนวนน้อยลง ให้รางวัลพฤติกรรมที่พึงประสงค์ อย่าสนใจพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อย่ากาเครื่องหมายกากบาทในสมุดทำงานของเด็ก อย่าลงโทษเด็กหากมัปัญหาเกี่ยวกับการสะเพร่า ขาดความเป็นระเบียบ ขาดช่วงความสนใจ


ที่มา : เด็กสมาธิสั้น. ดร.พัชรีวัลย์ เกตุจันทร์. 2542



โดย : นาง ศรีรัตน์ จันทโพธิ์, ร.ร.เคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2, วันที่ 3 เมษายน 2545