หมอลำ

ลักษณะวัฒนะธรรม ประเพณี ศิลป ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ไม่ว่าท้องถิ่นไหนก็จะมีวัฒนะธรรมเป็นของตนเอง สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยก็มีวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติกันมาช้านานและเป็นที่รู้จักกันดีคือเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองของชาวอีสาน เช่น หมอลำ เพลงเซิ้งบ้องไฟ เพลงสวดสรภัญญ์ เพลงโคราช ฯลฯ ในที่นี้ก็จะขอพูดถึงเพลงพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายมากกว่าอย่างอื่น นั่นก็คือหมอลำ
จุดเริ่มต้นของหมอลำ : หมอลำเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวอีสานที่มีการละเล่นมาช้านานจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หลายท่านพบว่า คำว่า “ลำ” ตำนี้มาจากคำว่ายาว เช่นลำห้วย ลำชี ลำไม้ไผ่ ลำตาล เป็นต้น นิทานพื้นบ้านบางเรื่องที่เป็นเรื่องเล่าและเขียนลงในใบลานเป็นเรื่องยืดยาว บางเรื่องยาวขนาด 300 ใบลานเช่น เรื่องสุริยวงศ์ เรื่องสังข์สินไชย ฯลฯ กล่าวกันว่าถ้าจะเอาใบลานมาต่อกันก็ยาวเกือบกิโลเมตรทีเดียว ฉะนั้นเรื่องเล่าเหล่านี้จึงเรียกชื่อลำไปด้วย เช่น ลำการะเกด ลำมหาชาติ ลำท้าวผาแดงนางไอ่ เป็นต้น กล่าวได้ว่าหมอลำมักมีกำเนิดมาจาก
- ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา มีหมดลำที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผี เป็นหมอลำส่อง และลำผีฟ้า
- สภาวะทางจิตใจตึงเครียด หมดลำจะเป็นทางระบาย ผ่อนคลายจิตใจในสมัยโบราณยังไม่มีรูปแบบการนันทนาการมากมายเหมือนปัจจุบัน วิถีชีวิตของชาวอีสานเมื่อถึงเวลางานต้องตั้งหน้าตั้งตาทำงาน เพื่อผ่อนคลายอารมณ์จึงได้เกิดมีหมอลำขึ้นโดยนำนิทานมาเล่าเป็นทำนองเสนาะ

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการเล่นหมอลำในสมัยแรกก็คือแคนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มสีสันให้กับผู้ชม
การเล่นหมอลำส่วนมากจะเล่นเพื่อความบันเทิง ฉะนั้นจึงมักจะเล่นเมื่อมีเทศกาลงานประจำ เช่น งานทอดผ้าป่า งานทำบุญอุทิศกุศลไปยังผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เดิมทีเดียวกมอลำเป็นมหรสพที่สำคัญเพียงอย่างเดียวในสังคมอีสาน และเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมแพร่หลายทั้งคนรุ่นหนุ่ม และคนวัยชรา แต่ปัจจุบันมีประเภทของการนันทนาการเพิ่มมากขึ้นเช่น วงดนตรีลูกทุ่ง ภาพยนตร์ ลิเก มวย รำวง รวมทั้งรายการต่างๆ ในโทรทัศน์ นันทนาการเหล่านี้ทำให้บทบาทของหมอลำลดลง คนเริ่มหันมาสนใจมหรสพดังกล่าวมากขึ้น…

สว่าง เลิศฤทธิ์. สารคดีจากหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2531.



โดย : นางสาว chanya pathamapikul, ripw klongluang pathumthani bangkok, วันที่ 15 มีนาคม 2545