ตลาดนัดสนามหลวงสู่ "จตุจักร"


เมื่อปี พ.ศ. 2491 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพฯ นั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่ จัดตลาดนัด หลังจากนั้น 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2492 ทางราชการมีความจำเป็นจะต้องใช้สนามหลวง จึงได้ให้ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์จนถึง พ.ศ. 2500 รวมได้ 8 ปี จึงได้ย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามชัยเป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2500 แต่เนื่องจากสนามชัยคับแคบไม่เหมาะสมจึงได้ย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ตลาดนัดสนามหลวงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากพ่อค้า แม่ค้า และประชาชนไม่ว่าจะ เป็นคนไทยในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด รวมทั้ง นักท่องเที่ยงต่างชาติด้วยเพราะว่าสนามหลวงมี พื้นที่กว้างใหญ่ มีสถานศึกษา และสถานที่สำคัญ ๆ ล้อมรอบ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรมศิลปากร, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ,พระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว) กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงกลาโหม เป็นต้น และมีรถประจำทางหลายสายวิ่งผ่าน ตลาดนัดสนามหลวงเติบโตอย่าง รวดเร็วและเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี มีสินค้านานาชนิดให้เลือกซื้อ ต่อรองราคากัน ตามแต่รสนิยม ของผู้ที่ไปเดินจับจ่าย ภายใต้เต้นท์ผ้าใบจำนวนนับพัน ๆ ผืน และ บรรยากาศที่ค่อนข้างร้อนระอุ เพราะแผงสินค้าเป็นแผงสินค้าชั่วคราว ห้องน้ำก็มักจะหายาก จะ ต้องข้ามถนนมาฝั่งกระทรวงยุติธรรมใกล้ ๆรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม ซึ่งบริเวณนั้นจะมีห้อง น้ำสาธารณะไว้ให้บริการ และบริเวณนี้ก็มี แผงหนังสือ ที่ขายหนังสือทั้งไทย และเทศ เก่า และใหม่ ตำราเรียนทั้งในและนอกเวลาให้เลือกหากันตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงอุดมศึกษา หลายคนสามารถ ตั้งตัวได้ จากการหารายได้พิเศษ โดยการตั้งแผงร้านขายของที่สนามหลวงในช่วงสุดสัปดาห์ ไม่มี ใครคิดเลยว่าวันหนึ่งตลาดนัดสนามหลวงจะถูกย้าย ในปี พ.ศ. 2521 สมัย พลเอก เกรียงศักด์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายที่จะใช้สนาม หลวงเป็นสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ ของชาวกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวมถึงจะใช้สนามหลวงเป็น สถานที่จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และงานรัฐพิธีต่าง ๆ ซึ่งขณะนั้นการรถไฟแห่ง ประเทศไทย ได้มอบที่ดิน ย่านพหลโยธินตอนต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่กรุงเทพฯ เพื่อใช้ ในกิจการสาธารณประโยชน์ เป็นจำนวน 74.57 ไร่ นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 42 ล้านบาทเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ให้กรุงเทพมหานคร ทำการปรับพื้นที่ สร้าง ถนน และก่อสร้างอาคารชั่วคราว
ในช่วงแรก ได้ให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและได้พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาแต่ได้รับการคัดค้านจากผู้ค้าตลอดมา จนกระทั่งวันที่ 2 มกราคม2525 จึงสามารถทำได้สำเร็จ ในช่วงแรกใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธินและต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า ตลาดนัดจตุจักร ในปี พ.ศ.2530 เพื่อให้สอดคล้องกับ สวนสาธารณะบริเวณใกล้เคียง ตลาดนัดจตุจักรมีปริมาณพื้นที่ทั้งสิ้น 69.74 ไร่ โดยที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขอคืน จำนวน 4.83 ไร่ เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2526 อยู่ห่างจากสนามบินดอนเมืองมาทางทิศใต้ 16 กิโลเมตรโดยประมาณ อยู่ห่างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาทางทิศเหนือ 4 กิโลเมตรโดยประมาณ

ตลาดนัดสนามหลวงสู่ จตุจักร. 2545. [Online]. เข้าถึงได้จาก www.viboon.com




โดย : นางสาว vassana pramprasong, ripw คลองหลวง ปทุมธานี 13180, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545