มีทฤษฎีมากมายที่กล่าวถึงคนเชื้อชาติไทยว่ามาจากไหน และมาอย่างไร เช่น คนไทยเคยอยู่ทางตอน ใต้ของ ประเทศจีน และได้อพยพลงมาทางใต้จนถึงดินแดนที่เป็นดินแดนแหลมทองในปัจจุบัน เนื่อง จากมีการค้น พบหมู่บ้านบางแห่งทางตอนใต้ของจีน ซึ่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนคล้ายกับคนไทย คือ บ้านยกพื้นสูง มีอุปกรณ์การดำรงชีพคล้ายคนไทย ตลอดจนภาษาพูด และประเพณีบางอย่าง และ ที่สำคัญคือ มีสุนัขเฝ้า บ้านคล้ายคนไทย และในบางทฤษฎีก็กล่าวว่า คนไทยไม่ได้อพยพมาจากที่ใด แต่ เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ใน ดินแดนแห่งนี้มาแต่เดิม เนื่องจากมีการค้นพบแหล่งโบราณคดีเช่น บ้านเชียง ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึงา 5,000 ปี ความเป็นอยู่ของคนไทยโดยภาพรวมค่อนข้างเรียบง่ายซึ่งอาศัยปัจจัยพื้นฐานทางธรรมชาติเป็นหลักใน การดำรงชีวิต ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมักจะมีความพอดีอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องขวนขวายมากนัก ในการที่จะต้องทำให้ปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นดีขึ้น ประกอบกับคนไทยส่วนใหญ่ยึดถือแนวทางของศาสนา พุทธที่สอนให้เดินบนทางสายกลาง ไม่เอาเปรียบกัน และสอนให้รู้จักคำว่า "ให้" ทำให้คนไทยดูเหมือน เป็นคนไม่กระตือรือร้น มีชีวิตอยู่ไปวันๆ แล้วแต่ดินแต่ฟ้า เนื่องจากความพร้อมแห่งปัจจัยดังกล่าว แต่เคยมีนักเดินทางชาวยุโรปที่เข้ามาในไทยเมื่อสมัยตอนปลายอยุธยา ได้กล่าวถึงคนไทยเอาไว้ว่า คน ไทยจะดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีที่ได้อยู่ในเรือ แม้แต่เด็กซึ่งอายุเพียง 12-13 ปี ก็ดูเหมือนมีความคล่อง ตัวเป็นอย่างมากในการใช้เรือ และถ้าจะกล่าวว่าคนไทยเป็น "ชาวน้ำ" ก็คงไม่ผิดนัก แต่ภายใต้รูปแบบชีวิตที่ดูเหมือนเรียบง่ายและไม่ขวนขวายนั้น ก็ยังแฝงไว้ด้วยระเบียบแบบแผน และขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ที่คนไทยยึดถือและปฏิบัติกันมาช้านานเช่น ระบบอาวุโส ซึ่งผู้น้อยต้องเคารพผู้ใหญ่ การดูแลผู้ใหญ่เมื่อยามแก่เฒ่า และที่สำคัญคือระบบบ้านพึ่งวัดและวัดพึ่งบ้าน วัด ที่ดูจะมีความหมายมากสำหรับคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตของคนไทยก็ตองผูกพันอยู่กับวัดตลอด เวลา ดังจะเห็นได้ว่า จะมีวัดตั้งอยู่ในทุกๆชุมชนที่นับถือพุทธศาสนา และวัดก็จะเป็นศูนย์กลางของชุมชน นั้นๆ เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือเป็นที่ชุมนุมของผู้คนในชุมชนแห่งนั้นในวาระสำคัญต่างๆ เช่นเมื่อมีการเกิด พ่อและแม่ของเด็กที่เกิดใหม่ก็จะไปที่วัดเพื่อให้พระตั้งชื่อให้ พออายุได้ 2 - 3 เดือน ก็จะนิมนค์พระมาทำพิธีโกนผมไฟ โตขี้นก็มาวิ่งเล่นกันในวัด และติดตามพ่อแม่ไปวัดในโอกาศต่างๆ จน เมื่อเด็กผู้ชายมีอายุถึงวัยพอสมควร ก็ส่งมาอยู่ที่วัดในฐานะเด็กวัด หรือบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาเล่า เรียนในวิชาการเบื้องต้น และเพื่อฝึกความประพฤติ พออายุได้ 20 ปีก็จะบวชเป็นพระ เพื่อศึกษาวิชาการ ต่างๆที่สูงขึ้นและลึกซึ้งขึ้นเช่น การอ่าน เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี รวมทั้งเรียนศิลปป้องกันตัว เช่นดาบ มวย การทำศึก และตำราพิชัยสงคราม ซึ่งถือเป็นวิชาการของลูกผู้ชายที่สมควรจะต้องเรียนรู้ เมื่อสึกจากพระออกมาก็จะแต่งงาน โดยจะนิมนต์พระมาทำพิธีและให้พรที่บ้าน จนกระทั่งเมื่อมีคนตาย ก็ต้องเผากันที่วัด จะเห็นได้ว่า วัดมีความสำคัญอย่างมากในระบบของสังคมไทย โดยวัดจะเป็นที่พึ่งของคนในด้านกำลัง ใจและการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ส่วนคนก็จะเป็นที่พึ่งของวัดทางด้านปัจจัยอุดหนุนเช่น บริจาคเงิน สิ่งของ อาหาร และแรงงาน เป็นต้น สังคมไทยเป็นสังคมเกษตร ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นหลักในการดำรงชีวิตและทำการเกษตร คนไทยจึงนิยม สร้างบ้านสร้างเมืองให้อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ คนไทยจึงมีวัฒนธรรมและประเพณีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับ น้ำเช่น ลอยกระทงสงกรานต์ ทั้งพิธีกรรมและการละเล่นต่างๆที่มีเล่นกันในนาเมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจการ เก็บเกี่ยว หรือในยามหน้าแล้งเช่น การลงแขกเกี่ยวข้าวและเล่นเต้นกำรำเคียวเป็นต้น เรื่องของวัฒนธรรมทางเพศ สังคมไทยมีการแบ่งแยกชายกับหญิงไว้อย่างชัดเจน ไม่มีโอกาศได้พบกัน มากนัก ยกเว้นในงานรื่นเริงหรือในงานพิธีต่าง ๆ เนื่องจากสังคมไทยได้ยกย่องผู้ชายให้เป็นผู้นำและ ผู้หญิงคือผู้ตาม หญิงต้องเรียนรู้งานบ้านและเป็นผู้ให้บริการ รวมทั้งต้องรักษาพรหมจรรย์เอาไว้จนถึง วันแต่งงาน ส่วนผู้ชาย ไม่ได้ถูกสอนให้เป็นผู้ให้บริการ แต่สอนให้เป็นผู้นำและรับบริการ ชีวิตผู้ชายไทย จึงค่อนข้างอิสระ ผิดกับฝ่ายหญิง ที่ถูกกีดกันในสังคมเกือบทุกทาง ประเพณี คือสิ่งที่คนสร้างขึ้น และเกี่ยวข้องอยู่กับคนส่วนรวมในหมู่คณะหรือในสังคม ถ้าไม่มีคน ประเพ ณีก็มีขึ้นไม่ได้ หรือถ้าไม่มีประเพณีสังคมและส่วนรวมก็ดำรงอยู่ไม่ได้ เพราะประเพณีเป็นทางให้คนใน สังคมสามารถดำเนินชีวิตในหมู่ของพวกตนได้อย่างราบรื่น ประเพณีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตาม เวลาที่เปลี่ยนไป มากบ้าง น้อยบ้าง ในสังคมที่ต่างกัน อาจมีการผสมผสานประเพณีเข้าด้วยกัน หรือมี การเลียนแบบกัน ดีบ้าง เสียบ้าง จนบางครั้งก็จับเค้าเดิมไม่ได้ หรือหาเหตุผลมาอ้างไม่ได้ ประเพณีบาง อย่างก็เลิกกันไป บ้างก็ตัดออกไปเพียงบางส่วน บ้างก็ยังคงปฏิบัติกันต่อไป อย่างไรก็ตาม ประเพณี คือ สิ่งที่ทำให้ชนชาติไทยังคงดำรงความเป็นคนไทมาตราบจนทุกวันนี้
เป็นอยู่อย่างไทย . 2545 . [Online] . เข้าถึงได้จาก www.viboon.com
|