โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม |
|
ประวัติ
ประวัติโรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม
โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม เดิมเป็นสาขาของโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ในปี พ.ศ. 2528 โดยนายอนันต์ มาศยดง ผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรพิทยานุกูลได้มอบหมายให้ นายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวังสามหมอวิทยาคาร อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม) ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 2 โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล มาเป็นผู้ประสานงานโรงเรียนสาขา ในปีแรกอาศัยสถานที่ของโรงเรียนมิตรภาพ 6 (สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี)เป็นสถานที่เปิดทำการสอน ต่อมา ได้ย้ายไปตั้งอยู่ในที่สาธารณะ ตำบลกุดสระ พื้นที่ 75 ไร่ อยู่ทางทิศเหนือห่างจากศาลากลางจังหวัดอุดรธานี 11 กิโลเมตร ตามถนนอุดร - หนองคาย ต่อมาในปีการศึกษา 2529 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งใหม่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2529 ให้ชื่อว่า "โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม" เป็นทำการสอนเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2529 โดยจัดชั้นเรียนเป็น 6 - 2 -0 รวม 8 ห้องเรียน นักเรียน 360 คน มีครู - อาจารย์ จำนวน 15 คน มีนายอนันต์ จันทร์ศิลป์ วุฒิ ค.บ. (จุฬาฯ) เป็นผู้อำนวยการคนที่สองและได้เปลี่ยนอักษรต่างย่อจาก "อ.พ.ค." เป็น "อ.ด.พ." ปัจจุบัน มีนายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ วุฒิ ค.บ., ศษ.บ., ศษ.ม. เป็นผู้อำนวยโรงเรียนจัดแผนการเรียน 10 - 8 - 9/ 6 - 6 - 6 รวม 45 ห้องเรียน นักเรียน 1,690 คน ครู - อาจารย์ จำนวน 79 คน ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา ชื่อ โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม ที่ตั้ง เลขที่ 121 หมู่ 1 ถนน มิตรภาพ (อุดร - หนองคาย) ตำบล กุดสระ อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี 41000 โทรศัพท์ (042) 206139, 206140 โทรสาร (042) 206139 อักษรย่อ อ.ด.พ. สัญลักษณ์ รูปท่านท้าวเวสสุวรรณ - เทพผู้คุ้มครองมวลมนุษย์ ทางทิศอุดร(ทิศเหนือ) ปรัชญาโรงเรียน ปัญญาว ธเนน เสยโย (ปัญญามีค่ายิ่งกว่าทรัพย์) คำขวัญ มีวินัย ใฝ่เอื้อเฟื้อ สีประจำโรงเรียน ชมพู - เทา ชมพู หมายถึง ความมีน้ำใจ ความมีมิตรไมตรี ความอ่อนน้อมถ่อมตน เสียสละ อาทรห่วงใย เอื้อเฟื้อต่อบุคคลอื่น เทา หมายถึง ความมีระเบียบเรียบร้อย อดทน ไม่ย่อท้อ รู้การใดควรไม่ควร ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นทองกวาว (ดอกจาน)
|
|
การจัดการเรียนการสอน
โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคมเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ เปิดสอนตั้งปีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2544 มีชั้นเรียนดังนี้
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 7 ห้องเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 7 ห้องเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 7 ห้องเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 5 ห้องเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 5 ห้องเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 5 ห้องเรียน
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
โครงสร้าง
1. วิชาบังคับ จำนวน 57 หน่วยการเรียน ได้แก่ รายวิชาดังต่อไปนี้
1.1 วิชาบังคับแกน จำนวน 39 หน่วยการเรียน
1.1.1 ภาษาไทย 12 หน่วยการเรียน
1.1.2 วิทยาศาสตร์ 9 หน่วยการเรียน
1.1.3 คณิตศาสตร์ 6 หน่วยการเรียน
1.1.4 สังคมศึกษา 6 หน่วยการเรียน
1.1.5 พลานามัย 3 หน่วยการเรียน
1.1.6 ศิลปศึกษา 3 หน่วยการเรียน
1.2 วิชาบังคับเลือก จำนวน 18 หน่วยการเรียน
1.2.1 สังคมศึกษา 6 หน่วยการเรียน
1.2.2 พลานามัย 6 หน่วยการเรียน
1.2.3 การงาน 6 หน่วยการเรียน
2. วิชาเลือกเสรี จำนวน 33 หน่วยการเรียน ให้เลือกจากรายวิชาในกลุ่มวิชาต่างๆ ต่อไปนี้
2.1 กลุ่มวิชาภาษา
2.1.1 ภาษาไทย
2.1.2 ภาษาต่างประเทศ
2.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสจร์ - คณิตศาสตร์
2.2.1 วิทยาศาสตร์
2.2.2 คณิตศาสตร์
2.3 กลุ่มวิชาสังคมศึกษา
2.4 กลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ
2.4.1 พลานามัย
2.4.2 ศิลปศึกษา
2.5 กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ
2.5.1 การงาน
2.5.2 อาชีพ
3. กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมต่อไปนี้
3.1 กิจกรรมตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมใน สถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
3.1.1 กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี หรือยุวกาชาดหรือ ผู้บำเพ็ญ ประโยชน์
3.1.2 กิจกรรมอื่นๆ จำนวน 1 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาค
3.2 กิจกรรมแนะแนว หรือกิจกรรมแก้ปัญหา หรือกิจกรรมพัฒนา การ เรียนการ จำนวน 1 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาค
3.3 กิจกรรมอิสระของผู้เรียน จำนวน 2 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาค
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
โครงสร้าง
1. วิชาบังคับ
1.1 วิชาบังคับแกน จำนวน 15 หน่วยการเรียน
1.1.1 ภาษาไทย 6 หน่วยการเรียน
1.1.2 สังคมศึกษา 6 หน่วยการเรียน
1.1.3 พลานามัย 3 หน่วยการเรียน
1.2 วิชาบังคับเลือก จำนวน 15 หน่วยการเรียน
1.2.1 พลานามัย 3 หน่วยการเรียน
1.2.2 วิทยาศาสตร์ 6 หน่วยการเรียน
1.2.3 พื้นฐานวิชาอาชีพ 6 หน่วยการเรียน
2. วิชาเลือกเสรี
2.1 กลุ่มวิชาภาษา
2.1.1 ภาษาไทย
2.1.2 ภาษาต่างประเทศ
2.2 กลุ่มวิชาสังคมศึกษา
2.3 กลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ
2.3.1 ภาษาไทย
2.3.2 ศิลปะ
2.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์
2.7 กลุ่มวิชาอาชีพ
3. กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมต่อไปนี้
3.1 กิจกรรมตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดกิจกรรม ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 1 คาบต่อสัปดาห์ ต่อภาค
3.2 กิจกรรมแนะแนว และหรือกิจกรรมแก้ปัญหา และหรือกิจกรรม พัฒนาการเรียนรู้ จำนวน 2 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาค
3.3 กิจกรรมอิสระของผู้เรียน
( ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2544 )
|
|
|
ณ ปัจจุบันนี้โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม ถือว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการจัดการศึกษาที่เอื้อประโยชน์ให้ชุมชนและการพัฒนาคนให้เป็นคนดีและมีประสิทธิภาพ เราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟั่นเฟื่องตัวเล็กอยู่ภายใต้การบริหารงานอย่างเอาใจใส่ ให้ความช่วยเหลือบุคลากรและนักเรียนในทุก ๆด้านของ
ผู้อำนวยการวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ เราคงยอมรับกันอย่างชื่นชมว่าผลสำเร็จที่เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือ
ร่วมใจของชาวอุดรธานีพิทยาคมทุกคน รวมทั้งคาดหวังว่าโรงเรียนอุดรธานีพิทยาคมจะเป็นสถานศึกษาที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากใจ...........
.... ฟั่นเฟื่องน้อยนิด...
|
โดย : นาง ฉัตรฤดี เคารพาพงค์, โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2544
|