เส้นทางช้างสุรินทร์


การเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับช้าง คนเลี้ยงช้าง และที่อยู่ของช้างในจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่อดีตความเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของคนกับช้างและสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดในเรื่องปะกำ และภาษาผีปะกำ ซึ่งเป็นสาขาย่อยในคชศาสตร์ เป็นภาษาที่ชาวกูยใช้ในพิธีกรรมเช่นผีปะกำ และใช้สื่อสารกันระหว่างออกล่าช้างป่าจะอุดดมไปด้วยคาถาอาคม เครื่องลางของขลังเวทย์มนต์อาถรรพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในพิภพ ซึ่งเก็บไว้ในชายพกผ้าไหมขิตพื้นสีแดงคาดเอว ผีปะกำเป็นส่วนรวมของเวทย์มนต์คาถา เป็นผีปะจำบ่วงบาศและอุปกรณ์คล้องช้างอื่นๆ ซึ่งมีอำนาจทำให้ช้างป่าลดความดุร้ายป่าเถื่อนลง ส่วนการโพนช้างของชาวกูย (ส่วย) ผู้เป็นชนชาวพื้นเมืองสุรินทร์ที่มีความรู้ความสามารถในการเลี้ยงช้าง การโพนช้างก็คือการคล้องช้างป่า ชาวกูยจะไปคล้องช้างป่าปีละ 2-3 ครั้ง ใช้เวลาครั้งประมาณ 3-4 เดือน การโพนช้างมีขั้นตอนพิธีกรรมหรือข้อปฏิบัติและข้อห้มาสำหรับการออกป่าโพนช้าง มีข้อปฏิบัติและข้อห้ามสำหรับลูกเมียขณะสาออกป่าด้วย เมื่อคล้องช้างป่าได้แล้วต้องฝึกให้ช้างป่าเป็นช้างบ้าน มีพิธีกรรมเปลี่ยนช้างป่าเป็นช้างบ้าน เมื่อเดินทางกลับมาถึงบ้านต้องทำพิธีกรรม เช่น สรวงผีปะกำ แล้วจึงแยกย้ายกันเพื่อฝึกช้างป่าเป็นช้างบ้าน การฝึกใช้งานจะใช้เวลา 2-3 ปี ฝึกช้างบ้านให้เป็นช้างต่อใช้เวลาฝึกแต่ละ
3-5 ปี ชนพื้นเมืองที่พูดภาษากูยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามอำเภอต่างๆ เช่น อำเภอสำโรงทาบ ศรีขรภูมิ จอมพระ ท่าตูมและสังขะบางส่วน และอยู่ร่วมกับชนพื้นเมืองที่พูดภาษาเขมรโดยไม่มีความขัดแย้งกัน

อัจฉรา ภาณุรัตน์ และคนอื่นๆ. เส้นทางช้างสุรินทร์. สุรินทร์ : รุ่งธนเกียรติออฟติเซ็ต, 2539.



โดย : นาย rangsun sodsaithong, 4/3 Klonglaung Prathumtanee 13180, วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2545