นครวัด
นครวัด
วัตถุประสงค์ของการสร้างวัดนครก็คือ เพื่อบูชาพระวิษณุ สิงสถิตอยู่ ณ ปราสาทนครวัดเเห่งนี้ปรัชญาการคิดที่จะรวมเอาเทพเจ้าเข้ากับกษัตรินั่นก็คือ ความเชื่อในเรื่องสมมุติเทพหรือเทวราชานั่นเอง สถาปัตยกรรมของนครวัดประกอบไปด้วย ปราสาท 5 หลัง ซึ่งปราสาททั้ง 5 นี้ เป็นการจำลอง ความเชื่อมาจากเทพปกรณัมของฮินดู โดยมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและจำลองลงมาตั้งบนพื้นโลก ฉะนั้นหากเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ปราสาทจะมีระเบียงคดล้อมรอบ ความยาวเกือบ 1 กิโลเมตร ตามระเบียงคดจะมีภาพแกะสลักนูนต่ำที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกก็คือ ภาพการกวนเกษียรสมุทร ที่เชื่อกันว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รายละเอียดของภาพเป็นเหตุการณ์ต่อสู้ระหว่างเทพกับอสูรมีความยาวถึง 160 เมตรในภาพด้านซ้ายตรงเศียรนาคเป็นภาพทศกัณฐ์กำลังยื้อยุดฉุดนาค ส่วนทางด้านหางของนาคเป็นภาพหนุมานกำลังช่วยเหล่าเทพดึงนาคเอาไว้ให้ได้ ตรงกลางเป็นภาพพระนารายณ์ 4 กร ด้านล่างจะเป็นภาพนารายณ์อวตารเป็นเต่า นอกจากนี้ยังมีภาพอื่น อื่นอีกมากมายส่วนปราสาทองค์กลางก็คือ จุดศูนย์กลางของ
วิษณุโลก ซึ่งเป็นสถานที่สิงสถิตของพระวิษณุ ในบริเวณนี้จะมีรูปแกะสลักนางอัปสรนครวัดถึง 1700 องค์
ทางขึ้นสู่ยอดปราสาทเป็นบันไดสูงชันข้างบนมีปล่องลึกขนาดกว้างใหญซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของพระวิษณุและอัฐิของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
ฉะนั้นนครวัดจึงนับเป็นโบราณสถานที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานแห่งการศรัทธา
ในศาสนาฮินดูและยังคงอยู่มานานเกือบพันปี นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์และเป็นมรดกโลกที่ควรจะอนุรักษ์เอาไว้อย่างดีที่สุด
นครวัดเป็นศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 7
สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ นครวัดเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรพระนครหลวงของขอมโบราณ มีปราสาทนครวัดเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีอายุมากกว่า กรุง สุโขทัยประมาณ 100 ปี โดยมีพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1656 - 1693 รวมระยะเวลาในการก่อสร้างมากกว่า 30 ปี จริง ๆ แล้วคำว่า
นครวัด เป็นเพียงชื่อสามัญที่ชาวบ้านใช้เรียกกันภายหลัง ซึ่งคำว่า นครวัด ก็ไม่ใช่ วัด ในความหมายของคนไทย แต่มีชื่อที่แท้จริงว่า วิษณุโลก ซึ่งก็หมายถึง โลกของพระนารายณ์ และในขณะเดียวกันนครวัดยังเป็นสุสานของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 อีกด้วย



แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรื่องนครวัด หน้า 25-27 25 มกราคม 2534

โดย : นาย ณัฐพงษ์ ชุมแสง, ร.ร.สวนศรีวิทยา, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547