กวดวิชา : หนทางสู่มหาวิทยาลัย

โรงเรียนกวดวิชายังคงอยู่คู่กับระบบการศึกษาไทยไปอีกนานตราบเท่าที่ยังมีการเอ็นทรานซ์เข้า มหาวิทยาลัย และค่านิยมเข้าสถาบันเก่าแก่มีชื่อเสียงยังคงมีอิทธิพลในสังคมไทย
ปัญหาคือ หนึ่งในขณะนี้ความพยายามที่จะเลื่อนฐานะรุนแรงมากขึ้นสองระบบของโครงสร้างการศึกษาบ้านเราเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าระดับมหาวิทยาลัยด้วยกัน ถ้าดูข้อมูลจริงๆ มีความแตกต่าง และระบบอุดมศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถาบันราชภัฎต้องยอมรับว่ายังมีความแตกต่างกันอยู่ และแม้ในระดับ ร.ร. เองก็จะเห็นว่า ร.ร. ในเมืองกับ ร.ร. ในชนบทก็ยังมีความแตกต่างกันดังนั้นระบบโครงสร้างของการศึกษาก็เป็นตัวที่นำไปสู่การกวดวิชา
สำหรับการแก้ไขในระยะใกล้ๆ คงจะยาก วิธีแก้ที่ดีที่สุด คือ เปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อของคนในสังคม
ส่วนเรื่องจีพีเออาจมีการกวดวิชาเสริมจริงแต่ถ้ามีการยกเลิกจีพีเอไปในทันทีทันใดก็ไม่ควรตัดสินโดยการกวดวิชามาเป็นเครื่องมือ เพราะการใช้จีพีเอยังมีคุณค่าอย่างอื่น และช่วยทำให้การตื่นตัวในโรงเรียน มีสูงมากขึ้นด้วย ซึ่งเด็กจบ ม.3 ขึ้นม.4 มันเป็นค่านิยม เป็นโรคระบาดในปัจจุบัน ถ้าไม่เรียนกวดวิชาจะถือว่าผิดปกติ สิ่งที่เด็กทุกคนคิดเหมือนกัน คือ
1. ให้เกิดความมั่นใจในตัวเองว่าสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
2. เชื่อมั่นว่า ร.ร. กวดวิชาให้สูตรดี
3. มีเหตุผลร่วมกับพ่อแม่
และเหตุผลสำคัญที่ต้องไปเรียน คือ อยากได้คะแนนเพิ่ม คือ จีพีเอ แรงจูงใจที่ทำให้เข้าเรียนโรงเรียน กวดวิชา คือ เมื่อเด็กที่มากวดวิชาสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้จะได้ขึ้นป้ายใหญ่ขอ โรงเรียน และยังให้เด็กเขียนประสบการณ์โดยมีคะแนนการสอบเข้าด้วย เด็กคนนั้นก็บอกว่าได้ความรู้ ได้ประสบการณ์จากครูดีๆ ที่นี่ เด็กมาอ่านก็เชื่อเพราะเด็กเขียนกันเอง
ในอนาคต โรงเรียน กวดวิชาผมเชื่อว่าจะขยายตัวออกไปยังต่างจังหวัดมากขึ้นเก็กก็จะเรียนมากขึ้นตามลำดับโดยจะไม่หนักที่ม.ปลายอย่างเดียวและจะกินถึงระดับประถมศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นกับ โรงเรียนกวดวิชา เป็นที่นิยมมากกว่า โรงเรียนปกติเพราะสิ่งที่ไม่ได้ใน โรงเรียน ปกติจะมาหาได้ที่ โรงเรียนกวดวิชา แม้การสอบเอ็นทรานซ์จะใช้คะแนนสะสมเฉลี่ยใน ชั้น ม.ปลายมาใช้จีพีเอมากเท่าใดเด็กก็จะแห่ไปกวดวิชามากเท่านั้น

ที่มา : ศิล มติธรรม. “ กวดวิชา : หนทางสู่มหาวิทยาลัย ค่านิยม – ความจำเป็น ของเด็กรุ่นใหม่. วิทยาจารย์. 100 , 3 ( มิถุนายน 2544 ) : 14 – 17.





โดย : นางสาว เกษศิณี โฉมโต, สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 31 มกราคม 2545