header

            วิธีการจัดตั้งวงดนตรีเครื่องสายของโรงเรียนบ้านห้วยกุ่ม  เริ่มจากการจัดหาศิษย์เก่ามาช่วยสอนนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนดนตรีไทย มีการฝึกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม  ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกฝึกเครื่องดนตรีที่ตนชอบ โดยครูสอนวิธีการจับเครื่องดนตรี  ท่านั่ง  ครูจะสาธิตให้ดู 

               วิทยากรสอนให้นักเรียนเรียนรู้โน๊ต  โดยวิทยากรบรรเลงตามโน๊ตให้นักเรียนสังเกตความแตกต่างของโน๊ตแต่ละตัว  นักเรียนเรียนพื้นฐานของโน๊ต   การบรรเลงเฉพาะเครื่อง   และฝึกแต่ละประเภท  ฝึกซ้ำๆจนจำได้แม่นยำ  ฝึกตัวโน๊ต ซ้ำๆ ช้า ปานกลาง เร็ว จนคล่อง  ฝึกโน๊ตทีละตัว   ทีละห้อง  ทีละบรรทัด  จนจบเพลง  ฝึกแยกเครื่อง และเรียกรวมวง  การเลือกเพลงที่ใช้ฝึกครูจะเลือกเพลงง่ายๆคุ้นหูนักเรียน

               การฝึกซ้อมจะมีในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 16.00 - 17.00 น.ฝึกเพลงใหม่และทบทวนเพลงเก่า และมีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาช่วยปรับปรุงแก้ไขแนะนำเพื่อให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น

               นอกจากนี้ยังใช้วิธี  " พี่สอนน้อง-เพื่อนสอนเพื่อน " เพื่อสร้างนักดนตรีรุ่นใหม่  หาเวทีให้นักเรียนได้แสดงออก   ได้ร่วมกิจกรรมของโรงเรียน   ส่งนักเรียนร่วมแข่งขันเมื่อมีโอกาส 

               จากเริ่มต้นจนถึงวันนี้   ครูนภาเห็นว่านักเรียนมีทักษะทางดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น  วงดนตรีมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นและมีหลายรุ่น   มีผลดีต่อตัวนักเรียน  โรงเรียนและชุมชน  วงดนตรีไทยของโรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นกิจกรรมเด่นของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพระดับ 5 ดาว  นักเรียนได้รับรางวัลจากการประกวดบรรเลง ขิม จะเข้ ในระดับกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสฯ 

               สิ่งที่ครูนภาอยากทำต่อไปคือ  เข้าร่วมงานของชุมชน  เพื่อเปิดโอกาสให้กับนักเรียน  สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนและชุมชน เป็นการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยด้วยค่ะ


โดย : คุณ วันชมพู บุญทวงษ์, โรงเรียนบ้านห้วยกุ่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3, วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547