ดนตรี..นั้นคือชีวิต

              ขลุ่ย..เป็นเครื่องดนตรีที่นักเรียนของครูนภา วิเศษศรี เลือกจะฝึก  การฝึกขลุ่ยในวิชาดนตรีค่อนข้างได้ผลดี  ครูนภามีวิธีสอนคือ  สาธิต  ฝึกปฎิบัติซ้ำๆ(หลังจากเรียนทฤษฏีแล้ว) 

            การสาธิต  ทุกครั้งที่ทำการสอนเป็นการสร้างความประทับใจ  ทำให้นักเรียนอยากฝึก   เพราะความไพเราะของเสียงดนตรี  การสาธิตจะมีนักเรียนเป็นผู้สาธิต  เป็นการสร้างแรงกระตุ้น  ให้เกิดความคิดว่าเพื่อนของเราสามารถบรรเลงดนตรีได้  ....ตัวเราก็น่าจะทำได้

            ปฏิบัติจริง  นักเรียนฝึกไล่นิ้วตามเสียง โด เร มี...ซ้ำกันบ่อยๆ  จนนักเรียนจำได้ (ต้องอาศัยเวลา) ครูต้องเข้าใจนักเรียน  บางคนช้า บางคนเร็ว  ต้องยิ้มแย้ม ต้องให้กำลังใจ  และเน้นว่าควรฝึกต่อที่บ้าน

            ฝึกร้องโน๊ต  โดยเพื่อนสาธิตบรรเลงเพลงที่ครูเตรียมไว้ให้บนกระดานก่อน   เพื่อฝึกฟังเสียงโน๊ตจากขลุ่ย  นักเรียนฝึกร้องโน๊ต  และตบมือให้เข้ากับจังหวะ  เพลงที่เลือกต้องเป็นเพลงง่ายๆ  สั้นๆ  นักเรียนจะได้รู้สึกว่าไม่ยาก ฝึกซ้ำๆจนร้องโน๊ตได้คล่องและตบมือเข้ากับจังหวะ

            ฝึกเป่าขลุ่ย  ครูชี้กระดานทีละตัวโน๊ต  ฝึกซ้ำๆทีละตัว  จนครบ 1 ห้อง  2  ห้อง  .......ทวนใหม่  ต้องฝึกช้าๆๆ ปานกลางและเร็วขึ้นตามลำดับ  จนเกิดความชำนาญ  และเข้าสู่จังหวะได้  ฝึกซ้ำๆบ่อยๆจนจบเพลง   ครูต้องให้กำลังใจแก่เด็ก  นักเรียนจะไม่เบื่อเพราะครูไม่เร่งรัดเด็ก  เหนื่อยก็หยุด  หันมาฟังเพื่อนเป่า  หรือฟังเทปของครู   การหาเวทีให้เด็กได้แสดงออก เช่นงานวันแม่  วันสุนทรภู่  บางงานได้บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ  หากเด็กเรียนไม่ทันเพื่อน  ก็ให้จับคู่กัน  ช่วยกันฟังหรือฝึกเป็นกลุ่ม 

               ครูนภากล่าวว่า  เธอมีความภาคภูมิใจที่นักเรียนเรียนดนตรีแล้วมีความสุข  มีเสียงหัวเราะ นักเรียนสามารถร่วมวงดนตรีของโรงเรียน  นักเรียนแสดงออกซึ่งความรักดนตรี  นักเรียนได้พยายามฝึกอย่างตั้งใจ นักเรียนม.1 - ม.3 จะเป่าขลุ่ยได้...


โดย : คุณ วันชมพู บุญทวงษ์, โรงเรียนบ้านห้วยกุ่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547