การปฏิรูปการศึกษา

การประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ. ศ. 2542 นับได้ว่ามีความสำคัญยิ่งเพราะกฎหมายฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือสำหรับปฏิรูปการศึกษาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพคน โดยรูปแบบการศึกษาฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ 1. การศึกษาในระบบ 2. การศึกษานอกระบบ 3. การศึกษาตามอัธยาศัย สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตราฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้บรรลุตามที่คาดหวังไว้นั่นคือ คุณภาพการศึกษา ดังนั้นผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรยึดหลักคุณธรรมสำคัญ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่งานบริหาร คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร ในยุคปฏิรูปการศึกษาคือ สัปปุริสธรรม 7 เป็นธรรมที่ใช้ทั้งในการครองตน ครองคนและครองงาน มี 7 ประการคือ 1. ธัมมัญญุตา 2. อัตถัญญุตา 3. อัตตัญญุตา 4. มัตตัญญุตา 5. กาลัญญุตา 6. ปริสัญญุตา 7. ปุคคลัญญุตา เป็นธรรมะที่สามารถนำมาน้อมนำให้บังเกิดผลดีแก่ตนเองในฐานะผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษาได้เป็นอย่างดี และเพื่อให้คุณภาพทางการศึกษาเกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ต้องประกอบด้วยคุณภาพ 2 ประการคือ 1. คุณภาพเชิงวิชาการ 2. คุณภาพชีวิตของผู้เรียน และนำมาใช้ในการแสดงบทบาทของผู้บริหารกับการประกันคุณภาพการศึกษาได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนแรก กำหนดเป้าหมายคุณภาพทั้งด้านวิชาการและด้านคุณสมบัติของผู้เรียน ขั้นตอนที่สอง กำหนดมาตราฐานคุณภาพ โดยการระดมพลังสมอง การใช้โยนิโสมนสิการ หาข้อยุติหาตัวบ่งชี้ เกณฑ์ที่จะทำให้เกิดมาตราฐาน และขั้นตอนสุดท้ายคือ สร้างระบบควบคุมคุณภาพ





ที่มา: วันทนา เมืองจันทร์. “ การปฏิรูปการศึกษา : คุณธรรมของผู้บริหารกับบทบาทในการประกัน คุณภาพการศึกษา”
วิทยาจารย์. 100 , 4 ( กรกฎาคม 2544 ) : 21 – 25.



โดย : นางสาว เกษศิณี โฉมโต, สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 30 มกราคม 2545