กลุ่มประชาชน

กลุ่มประชาชน

          ใน พรบ. สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 กลุ่มประชาชนที่สามารถมีส่วนร่วมในการคุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้มีการกล่าวถึงมาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 โดยในมาตรา 6 ได้เน้นสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่อาจได้รับตามกฎหมายและข้อยกเว้นส่วนมาตรา 7 และมาตรา 8 ได้กล่าวถึงสิทธิขององค์กรเอกชนที่มีฐานเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งในแต่ละมาตราจะเห็นได้ว่าการที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงนั้นยังมีข้อจำกัดอีกมากมาย

          การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยรัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ตาม พรบ. สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ได้ระบุว่า “เพื่อเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้องค์กรเอกชนซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการเมือง หรือมุ่งค้าหากำไรจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าว มีสิทธิขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง” ซึ่งจะเห็นได้ว่าการที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้ จะต้องอยู่ในรูปขององค์กรเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฏหมายเท่านั้น การจดทะเบียนได้กำหนดให้ดำเนินการตามประกาศไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2536 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 110 ตอนที่ 6 วันที่ 20 พฤษภาคม 2536 โดยอง์กรเอกชนที่ได้จดทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะต้องมีหน้าที่เสนอรายงานเกี่ยวกับกิจกรรมด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่ออธิบดีกรมส่งเสิมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยปีละครั้ง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่กลุ่มประชาชนโดยทั่วไปและกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติ ยังมีความคลางแคลงใจว่าองค์กรเอกชนดังกล่าวในกฎหมาย เป็นตัวแทนหรือถือว่าทำการแทนประชาชนหรือกลุ่มอนุรักษ์ ฯ อื่นหรือไม่ เพราะการดำเนินการที่ไม่เหมือนกันโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ร่วมกันจัดตั้งองค์กรเอกชนต่างก็มีแนวคิดและเป้าหมายของการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันรวมทั้งไม่มีอะไรยืนยันอย่างแน่ชัดว่า ประชาชนทีต้องการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้มอบหมายให้ทำการแทน แต่จากสภาพการณ์ที่ผ่านมาจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า องค์กรเอกชนที่เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและรักษษคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะพยายามเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชน

          องค์กรเอกชนที่ได้รับการรับรองตาม พรบ. สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ได้ระบุถึงสิทธิในมาตรา 8 ว่า “..อาจได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับการสนับสนุนจากทางราชการในเรื่องดังต่อไปนี้

          1)  การจัดให้มีอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

          2)  การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างจิตสำนึกของสาธารณชนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

          3)  การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่นั้น

          4)  การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติและเสนอแนะแนวความคิดเห็นต่อรัฐบาลหรือราชการที่เกี่ยวข้อง

          5)  การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากมลพิษอันเกิดจากการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษ รวมทั้งเป็นผู้แทนในคดีที่มีการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้ได้รับอันตรายหรือความเสียหายนั้น

          ในกรณีที่องค์กรเอกชนที่ได้รับการจดทะเบียนประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมตามวรรคหนึ่งและร้องขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติช่วยเหลือให้นายกรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจสั่งให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม หรือส่งให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกต่อไป

          คณะกรรมการกองทุนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอาจพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนหรือเงินกู้ให้แก่องค์กรเอกชนที่ได้จดทะบียนแล้วเพื่อสนับสนุนกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร

          ในกรณีที่องค์กรเอกชนใดที่ได้จดทะเบียนแล้วดำเนินกิจการโดยก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือไม่เหมาะสม ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนขององค์กรเอกชนนั้นได้

          บทบาทขององค์กรเกชนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่แล้วจะมีกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้วตามข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อใน 1) ถึงข้อ 5) ของมาตรา 8 โดยได้เริ่มกิจกรรมมาก่อนที่จะมีการออกฎหมาย พรบ. สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 เสียอีก ซึ่งในการดำเนินกิจการตาง ๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้นก็ไม่ได้ทีกรสนับสนุนหรือการช่วยเหลือจากภาครัฐลาลมาก่อน ในบางครั้งเมื่อมีการช่วยเหลือประชาชนเพื่อการคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกลับถูกกล่าวหาว่าได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศหรือฝ่ายตรงกันข้ามที่คัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับโครงการหรือกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือโดนกล่าวหาว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านโครงการหรือกิจการนั้น ๆ

          องค์กรหรือเอกชนที่ได้จดทะเบียนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันมี 97 องค์กร ดังนี้

          1)  มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม

          2)  มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์

          3)  มูลนิธิโครงการราชพฤกษ์

          4) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

          5) มูลนิธิชีวจิต

          6) มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย

          7) มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

          8) มูลนิธิผู้หญิง

          9) มูลนิธิพัฒนาชนบทในเขตภูเขา

          10) มูลนิธิพัฒนาบุคคล อำเภอสุวรรณภูมิ

          11) มูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว

          12) มูลนิธิเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต

          13) มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อม

          14) มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

          15) มูลนิธิโลกสีเขียวในพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

          16) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

          17) มูลนิธิสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงราชนครินทร์

          18) มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย

          19) มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

          20) มูลนิธิส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาชุมชน

          21) มูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรกรไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          22) มูลนิธิศุภนิมิตรแห่งประเทศไทย

          23) มูลนิธิศูนย์ข่าวสารสภาวะแวดล้อมแห่งประเทศไทย

          24) มูลนิธิหมู่บ้าน

          25) มูลนิธิชุมชนอีสาน (มชอ.)

          26) มูลนิธิ วาย. เอ็ม. ซี. เอ. เพื่อการพัฒนาภาคเหนือ

          27) มูลนิธิวิจัยและพัฒนาอานามัย

          28) สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

          29)สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม

          30)สมาคมธิงค์เอิร์ท คิดห่วงใยในผืนโลก

          31)สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อประชาชน

          32)สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)

          33)สมาคมพัฒนาชนบทอีสาน (NERDA)

          34)สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน

          35)สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

          36)สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย

          37)สมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย

          38)สมาคม วาย. เอ็ม. ซี. เอ. กรุงเทพฯ

          39)สมาคมสร้างสรรค์ไทย

          40)สมาคมสถาบันพัฒนาเพ่อชีวิต

          41)สมาคมหยาดฝน

          42)สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม

          43)องค์การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสาธารณสุข (PATH)

          44)องค์การแคร์นานาชาติแห่งประเทศไทย

          45) มูลนิธิชีวิตชนบท

          46) มูลนิธิธรรมนาถ

          47) มูลนิธิพัฒนาสิ่งแวดล้อมฉะเชิงเทรา

          48) มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

          49) มูลนิธิเพื่อนช้าง

          50) มูลนิธิฟื้นฟูชนบท

          51) มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

          52) มูลนิธิภพโท

          53) มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท

          54) มูลนิธิคนรักช้าง

          55) มูลนิธิพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน

          56) มูลนิธิโลกทัศน์ไทย

          57) มูลนิธิพิพิธประชานารถ

          58) มูลนิธิสวัสดี

          59) มูลนิธิทองทศไวทยานนท์ เพื่อการศึกษาและสาธารณประโยชน์

          60) มูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป

          61) มูลนิธิพัฒนาชุมชนยั่งยืน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต จังหวัดขอนแก่น

          62) มูลนิธิหมอเสมพริ้มพวงแก้ว

          63) มูลนิธิเพื่อพัฒนาแม่ฮ่องสอน

          64) มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก

          65) มูลนิธิรักษ์อีสาน

          66) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาชุมชน

          67) มูลนิธิรักษ์ไทย

          68) มูลนิธิธรรมสันติ

          69) มูลนิธิเกษตรกรไทย

          70)มูลนิธิพัฒนาอีสาน

          71) มูลนิธิสุขภาพไทย

          72) มูลนิธิรักบ้านเกิดภาคใต้

          73) มูลนิธิพัฒนาสุขภาพสังคม

          74) มูลนิธิเมืองเขียวฟ้าใส

          75) มูลนิธิศูนย์สิ่งแวดล้อมโลก

          76) สมาคมพัฒนาไทยพายัพ

          77)สมาคมที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมไทย

          78)สมาคมศูนย์กลางเทวา

          79)สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาป่าภูเขียว

          80)สมาคมพัฒนาคุณภาพชีวิต

          81)สมาคมอนามัยการเจริญพันธุ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแห่งประเทศไทย

          82)สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย

          83)สมาคมบริหารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง

          84)สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย

          85)สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

          86)สมาคมเอิร์ทไอแลนด์ อินสติดิวห์

          87)สมาคมอนามัยแห่งประเทศไทย

          88)สมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนนทบุรี

          89)สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย

          90)สมาคมสร้างสรรค์ชีวิต

          91)สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

          92)สมาคมอนุรักษ์พิทักษ์เจ้าหลาว

          93)สมาคมเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

          94)สมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดพัทลุง (ปัญญาวุธ)

          95)องค์การพัฒนาชนบทเซฟเดอะซิลเดร์น

          96)กองทัพธรรมมูลนิธิ

          97)BICENTENNIAL VOLUNTEERS INCORPORATED



แหล่งอ้างอิง : ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี. EIA การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : มายด์พับลิซซิ่งจำกัด, 2541.

โดย : นางสาว พรวิจิตร ชาติชำนาญ, โรงเรียนคอนสารวิทยาคม, วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2546