การมีส่วนร่วมของประชาชน

การมีส่วนร่วมของประชาชน

         คำว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชน” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Public Participation” ดังนั้นคำว่า “ประชาชน” ในความหมายที่แท้จริงของประเทศทีพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา และออสเตรเลีย จะหมายถึงหน่วยงานของภาครัฐบาล ภาคเอกชน องค์กรเอกชน กลุ่มคน และประชาชนทั่วไป ที่อาจได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากการมีโครงการหรือกิจการ ซึงได้มีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

        ในประเทศที่พัฒนาแล้วต่างก็มีวิธีการ “การมีส่วนร่วมของประชาชน” แตกต่างกันแต่โดยหลักการแล้วจะเหมือนกันคือให้ประชาชนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านหรือเห็นด้วยสำหรับโรงการหรือกิจการ โดยเริ่มจากระหว่างการทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะมีการให้หน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มคนที่มีความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ เข้ามาพิจารณาวิธีการดำเนินโครงการด้านเทคนิค ซึ่งในขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะเรียกว่าการรับฟังความคิดเห็นทางด้านเทคนิค (Technical Hearing) ในช่วงพิจารณานี้จะมีการเสนอสนับสนุนและข้อโต้แย้งถึงผลดีและผลกระทบของระบบดำเนินงานหรือขั้นตอนทางเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งเจ้าของโครงการจะต้องพยายามชี้แจงถึงข้อดีต่าง ๆ หรือมาตรการในการลดความเสียหายจากผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ รวมทั้งมาตรการในการติดตามตรวจสอบเพื่อเป็นการยืนยันว่าโครงการหรือกิจการนั้น ๆ จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมไม่ว่าด้านใด

          เมื่อเป็นที่ยอมรับด้านเทคนิคแล้วผู้จัดทำรายงานและเจ้าของโครงการก็จะเริ่มเรียบเรียงเอกสารตามข้อแม้หรือการยอมรับซึ่งเรียกว่าการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดลล้อม หลังจากนั้นจะต้องจัดประชุมทำการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนโดยทั่วไป ที่เรียกว่า “ประชาพิจารณ์” (Public Hearing) ในขั้นตอนนี้จะเน้นถึงผลดีและผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Impact Assessment) เป็นหลัก ซึงผู้ประกอบการหรือเจ้าของโครงการจะต้องอธิบายนำถึงวิธีการดำเนินการทางด้านเทคนิค ข้อโต้แย้งและการยอมรับจากประชาชนหรือผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นเป็นหลักประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมหรือโครงการจะโต้แย้งจนกว่าเจ้าของโครงการหรือผู้ประกอบการจะจัดหาสิ่งทดแทน หรือชดเชยจนเป็นที่ยอมรับต่อไป จึงสรุปผลการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้ง 2 ขั้นตอน รวมเล่มแล้วประกาศให้ประชาชนได้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ได้รับซึ่งเรียกว่า Environmental Impact Statement, EIS

       สำหรับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาหลังจากที่ประชาชนได้เริ่มเรียนรู้ถึงขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมปรากฎว่าได้มีการจัด Public Hearing โดยใช่คำว่า “ไต่สวนสาธารณะ” หรือ “ประชาพิจารณ์” และอื่น ๆ ซึ่งการจัดแต่ละครั้งนั้นไม่ได้แยกขั้นตอนของการมีส่วนร่วม จะพยายามโยงเรื่องด้านเทคนิคต่อเนื่องกับด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งทุกครั้งที่มีการจัดประชาพิจารณ์จะไม่สามารถสรุปถึงผลดีหรือผลเสียอย่างแท้จริงของโครงการหรือกิจการนั้น ๆ ได้ เพราะในการจัดประชาพิจารณ์หลายครั้ง จะมีการเตรียมผู้ฟัง โดยในบางครั้งเจ้าของโครงการหรือผู้ประกอบการจะได้เตรียมผู้เข้าร่วมฟังไว้เป็การลาวงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนโครงการ แต่เมื่อผู้คัดค้านโครงการหรือกิจการเป็นผู้จัดการประชาพิจารณ์ก็จะพยายามเชิญองค์กรหรือประชาชนที่มีแนวโน้มคัดค้านโครงการหรือกิจการเข้าร่วม เป็นผลให้สรุปสุดท้ายคัดค้านโครงการหรือกิจการนั้น ๆ ทำให้บางครั้งการจัดกรมีส่วนร่วมของประชาชนก็เป็นเสมือนเครื่องมือของผู้ที่ได้รับผลประโยชน์และเสียประโยชน์แต่ละกลุ่ม และที่สำคัญคือการให้ข่าวสารหลังจากมีการประชาพิจารณ์แต่ละครั้ง จะเป็นผู้จัดการประชาพิจารณ์เป็นผู้ให้ข่าว ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปที่สนใจในโครงการหรือกิจการดังกล่าวเกิดความสับสนเพราะการจัดประชาพิจารณ์บางครั้งเป็นการสนับสนุน บางครั้งเป็นการคัดค้านโครงการหรือกิจการนั้น ๆ

          ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและมีความจำเป็นมากต่อการพัฒนาหรือการคุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศต่อไปในอนาคตเพราะการที่จะให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม จำเป็นจะต้องมีการให้ข่าวสารที่แท้จริงและถูกต้องโดยมีการกำหนดขั้นตอนการมีส่วนร่วมอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

          ที่สำคัญที่สุดที่ผู้ตัดสินใจจะต้องเข้าใจและยอมรับสำหรับสังคมไทย คือ เมื่อมีผู้เสียผลประโยชน์ คนเหล่านั้นจะออกมาคัดค้านและต่อต้านโครงการหรือกิจการทุกรูปแบบและทุกวิถีทาง โดยจะพยายามชี้นำให้ประชาชนนอื่นหรือกลุ่มอื่นได้เห็นถุงผลกระทบหรือความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับตนเองหือกลุ่มของตนเองซึ่งในบางครั้งอาจจะมีผู้เสียประโยชน์จากโครงการไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนประชาชนที่ได้รับประโยชน์และคนกลุ่มนี้สามารถสร้างการคัดค้านให้เป็นข่าวใหญ่โตตามสื่อประเภทต่าง ๆ ในขณะเดียวกันผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการจะนิ่งเฉยเพราะทรายดีอยู่แล้วว่าอย่างไรเสียตนเองก็ได้รับผลประโยชน์ จึงไม่ยอมออกมาชี้แจงหรือสนับสนุนโครงการหรือกิจการนั้น ๆ ทำให้ประชาชนกลุ่มอื่นหรือในพื้นที่อื่นจะได้ยินและฟังข่าวสารของผู้ได้รับผลกระทบหรือผู้เสียประโยชน์เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการเบี่ยงเบนความเข้าใจและการยอมรับในกิจการหรือโครงการนั้น ๆ



แหล่งอ้างอิง : ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี. EIA การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : มายด์พับลิซซิ่งจำกัด, 2541.

โดย : นางสาว พรวิจิตร ชาติชำนาญ, โรงเรียนคอนสารวิทยาคม, วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2546