กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

              1. กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Nature  Conservation Act)  กฎหมายและข้อบังคับประเภทนี้ประกอบด้วย  พ.ร.บ. คุ้มครองและรักษาสัตว์ป่า พ.ศ. 2535,  พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ  ซึ่งพ.ร.บ.ทั้ง  3  ฉบับนี้  พื้นที่ครอบคลุมทั้งส่วนพื้นดินและพื้นน้ำ โดยเฉพาะพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาตินั้นได้ให้ความหมายว่า ส่วนพื้นที่  ในที่นี้รวมถึงส่วนพื้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติด้วยให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานที่ใช้กฎหมายฉบับนี้

               2. กฎหมายว่าด้วยการสำรวจและใช้ประโยชน์ทรัพยากร (Natural  Resources  Exploitation  Act)  กฎหมายประเภทนี้มีหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ในการคุ้มครองและจัดการป่าไม้ของประเทศไทย  พ.ร.บ.ประมง ปี 2490  เป็นกฎหมายที่ควบคุมและจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมง กรมประมงเป็นผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้  พ.ร.บ.แร่ ปี 2510  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีอนุญาตการทำเหมืองรวมทั้งควบคุมการผลิตและการจำหน่ายแร่  พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ปี 2511  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการสำรวจและผลิตน้ำมันและแก๊ส  ซึ่งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้และ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยปี 2522  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการสำรวจ  วางแผน  และพัฒนาการท่องเที่ยว 

               3. กฎหมายว่าด้วยการป้องกันสิ่งแวดล้อม  (Environmental  Protection  Act)  กฎหมายว่าด้วยการป้องกันสิ่งแวดล้อมได้แก่  พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  ปี  2535  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ  รวมทั้งการควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ  พ.ร.บ. ดังกล่าวมี  3  หน่วยงาน  คือ  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ  และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบและดำเนินการตามกฎหมาย

               4.  กฎหมายว่าด้วยการใช้ประโยชน์ดินและน้ำ  กฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินในประเทศไทยนั้นมีความสลัลซับซ้อน แต่เมื่อพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายที่อยู่ในกลุ่มนี้แล้ว ประกอบด้วย  2  กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่  กฎหมายการถือครองที่ดิน  และกฎหมายการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน  สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยการถือครองที่ดินประกอบด้วยกฎหมายว่าด้วยกฎหมายที่ดินของประเทศไทย  ปี  2497  และกฎหมายอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการถือครองที่ดินซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอื่น ๆ ที่าำคัญได้แก่  พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ปี  2521  และพ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ปี 2518  สำหรับกฎหมายในกลุ่มของการวางแผนการใช้ที่ดินนั้นประกอบด้วย  พ.ร.บ.ผังเมือง ปี 2535  พ.ร.บ.จัดประเภทการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร ปี 2457  พ.ร.บ.พัฒนาที่ดิน ปี  2526  กฎหมายดังกล่าวนี้จะเป็นกรอบในการวางแผนการใช้ที่ดินทั้งในเมืองและชนบท  และผนวกกับกฎหมายการแบ่งเขตที่ดิน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งเก่าและใหม่ เช่น พ.ร.บ. ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ปี 2522

               ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับพื้นที่น้ำ  ได้แก่  พ.ร.บ.การเดินเรือในเขตน่านน้ำไทย  ปี 2456  ซึ่งเป็นกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ครอบคุมทั้งการเดินเรือในทะเลและลำน้ำภายใน โดยในส่วนที่ 7 ของพ.ร.บ. ดังกล่าวได้ให้ความหมายของคำว่า "น่านน้ำไทย" หมายรวมถึง "เขตน่าน้ำไทยทั้งหมด  ท่าเรือ  ที่จอดเรือ  แม่น้ำ  และลำคลองทั้งหมดในราชอาณาจักรไทย"  ส่วนหนึ่งของข้อตกลงเจนีวาปี 2505  ที่เกี่ยวกับกฎหมายทะเล  และตามข้อตกลงของกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ ปี 2525  ซึ่งประเทศไทยในคู่สัญญาด้วยเขตน่านน้ำไทยครอบคลุมพื้นที่ในระยะ  12  ไมล์ทะเล  และ  24  ไมล์ทะเลสำหรับเขต Contiguous ซึ่งวัดจากเส้นฐานตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา และในปี 2512 รัฐบาลไทยได้ประกาศการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณไหล่ทวีป ทั้งที่อยู่ในน้ำและที่อยู่ใต้ดิน  ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ขณะเดียวกันในวันที่  23  กุมภาพันธ์  2524  ประเทศไทยก็ได้ประกาศขยายอาฯาเขตเศรษฐกิจจำเพาะออกไปเป็น  200  ไมล์ทะเล อย่างไรก็ดีในความหมายของคำว่า  "ชายฝั่งทะเล" นั้น ยังไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายและในเอกสารอื่น ๆ

               นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือในเขตน่านน้ำไทยดังกล่าวแล้วยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่น้ำ เช่น พ.ร.บ. รักษาเส้นทางเดินเรือ ปี 2446 พ.ร.บ.การชลประทาน ปี 2485  พ.ร.บ. คลองส่งน้ำ ปี 2526 เป็นต้น อย่างไรก็ดีกฎหมายดังกล่าวนี้มีความสำคัญน้อยกว่าการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพราะความเกี่ยวข้องของกฏหมายเหล่านี้มีเฉพาะส่วนพื้นน้ำภายในมากกว่าพื้นน้ำบริเวณชายฝั่งทะเล



แหล่งอ้างอิง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี : สิ่งแวดล้อมกับเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2539

โดย : นางสาว พรวิจิตร ชาติชำนาญ, โรงเรียนคอนสารวิทยาคม, วันที่ 28 ตุลาคม 2546