วันพระทำบุญใส่บาตรที่โรงเรียน

               เมื่อเอยถึง การทำบุญ และการใส่บาตร ทุกคนก็คงจะนึกถึงการนำข้าวปลาอาหาร ใส่ปิ่นโต หรือไม่ก็ใส่ถุง หิวไปใส่บาตรที่วัด แต่วันนี้ไม่จำเป็นจะต้องไปทำบุญใส่บาตรที่วัดทุกวันพระเสมอไป หลายคนเมื่อได้อ่านแล้วคงจะงง และสงสัยว่า ทำไมไม่ไปที่วัด และถ้าไม่ไปที่วัดไปใส่บาตรที่ไหน คำตอบก็คือ ไปที่โรงเรียน ซึ่งโครงการนี้จัดขึ้นโดยคณะครูโรงเรียนแสนตอวิทยา อำเภอเมือ จังหวัดอุตรดิตถ์

ทำไมต้องมาทำบุญใส่บาตร ที่โรงเรียน ?

               ทุกวันนี้ชีวิตประจำวันของครู – อาจารย์ยุ่งอยู่กับภาระครอบครัวต่าง ๆ และยุ่งอยู่กับการเตรียมตัวมาทำงานตั้งแต่วันจันทร์ จนถึง วันศุกร์ พอถึงวันเสาร์-อาทิตย์ก็อ่อนเพลียทำให้ครูไม่คอยอยากจะไปทำบุญที่วัดสักเท่าไร การไปทำบุญแต่ละครั้ง ก็นาน ๆ ที่ถึงจะไป ในหนึ่งปีแทบนับครั้งได้เลยที่เดียว ยิ่งถ้าเป็นนักเรียนด้วยแล้ว ถ้าพูดถึงการไปวัดก็แทบนับจำนวนคนได้เลยที่อยากไปวัด เพราะพวกเขาเป็นวันรุ่นซึ่งวัยนี้ถือว่าเป็นวัยชอบกินชอบเที่ยวแล้ว และชอบอยู่กับเพื่อน ๆ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยจะทำให้ครูและนักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนของชาติห่างไกลจากวัดทุกที่ การห่างไกลจากวัดก็คือการห่างไกล จากธรรมะ ดังนั้น เพื่อเป็นการให้ครู และนักเรียนได้มีโอกาส ทำบุญ ใส่บาตรในวันพระ จึงได้มีการจัดโครงการทำบุญ ใส่บาตร ทุกวันพระที่โรงเรียนขึ้น

ทำบุญ ใส่บาตรที่โรงเรียนทำกันอย่างไร ?

               ในแต่ละเดือนจะมีวันพระประมาณ 4 ครั้ง วันพระใดที่ตรงกับวันมาเรียน ( จันทร์ ถึง ศุกร์ ) ครูและนักเรียนทั้งโรงเรียน จะนำข้าว กับขาว ขนมหวาน และอื่น ๆ มาร่วมทำบุญ ใส่บาตร จุดธูปเทียนกราบพระ พร้อมทั้งถวายปัจจัยซึ่งแล้วแต่กำลังศรัทธาและกำลังทรัพย์ โดยการทำบุญ ใส่บาตรจะเริ่มตั้งแต่เวลา 7.00 น. ถึง 7.40 น. ซึ่งเมื่อนักเรียนมาครบแล้ว จากนั้น จะนิมนพระจากวัดต่าง ๆ ที่อยู่ไกลเคียงซึ่งหมุนเวียนกันไป ขึ้นบนเวทีที่จัดไว้ให้ จากนั้นประธานนักเรียน หรือ ตัวแทนนักเรียน จะจุดรูปเทียน ตัวแทนนักเรียนนำสวดมนต์ ตามขั้นตอนที่ทำต่อกันมา จากนั้นพระก็จะฉันภัตราหาร และก็จะมีตัวแทนพระขึ้นมาเทศนาให้ครู และนักเรียนฟัง เมื่อพระเทศนาจบ พระก็จะให้พร นักเรียนก็จะกรวดน้ำ สวดมนต์ และพอเสร็จพิธีทางสงฆ์นักเรียนและครูประจำชั้นจะรับประทานอาหารรวมกันเป็นวง ๆ ตามห้องของตัวเอง ซึ่งอาหารที่รับประทานร่วมกันนั้นเป็นอาหารที่ครู และนักเรียนได้นำมาใส่บาตร นั้นเอง

กิจกรรมนี้เกิดประโยชน์แก่ใคร และเกิดประโยชน์อย่างไร ?

               กิจกรรมนี้เกิดประโยชน์แก่ทุกคนที่ร่วมกิจกรรม โดย เกิดประโยชน์ดังนี้

1. ครูและนักเรียนได้มีโอกาสในการทำบุญ ใสบาตร ในวันพระมากขึ้น

2. เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงานของชาวพุทธ คือการทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ในวันพระ

3. ครู - นักเรียนมีหลักธรรมไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ

4. เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของครูกับนักเรียน

 


โดย : นาย พัฒนพงษ์ สีกา, โรงเรียนแสนตอวิทยา, วันที่ 28 กันยายน 2546