ประเพณีทำบุญวันสารท

ประเพณีทำบุญวันสารทเดือนสิบจังหวัดสงขลา
การทำบุญวันสารทเดือนสิบหรือวันชิงเปรตนั้นในเดือนสิบ (กันยายน) มีการทำบุญที่วัด 2 ครั้งคือ ครั้งแรกวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่าวันรับเปรต ครั้งที่สองวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่าวันส่งเปรต
การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการี ผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิ พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรต อาจสับเปลื่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่ง จึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบอาชีพต่างถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น
ขนมเดือนสิบที่จำเป็นมี 5 อย่างคือ
1.ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
2.ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
3.ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ

4.ขนมเจาะรูหรือขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
5.ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า



แหล่งอ้างอิง : ธีระศักดิ์ ลิมปนดุษฎี. 2533. ท้องถิ่นของเรา 1 จังหวัดสงขลา. มปพ. 164 หน้า.

โดย : เด็กหญิง พวงทิพย์ หัสรังษี, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 16 กันยายน 2546