โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

                          โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
             พบได้ร้อยละ 23  ของโรคหัวใจทั้งหมด  ลักษณะของโรคหัวใจที่พบอาจเป็นเพราะผนังกั้นระหว่างห้องหัวใจมีรูขนาด  5-15  มิลลิเมตรหรือลิ้นหัวใจตีบและแคบลงทำให้เกิดโรค   หัวใจรั่ว   เป็นสาเหตุให้เลือดแดงปนกับเลือดดำ  ดังนั้นเด็กที่มีหัวใจรั่วมาแต่กำเนิดเมื่อตอนกิดมาจึงมีผิวหน้าสีเขียวคล้ำไม่แดงเหมือนปกติ  ถ้าหากมีรูรั่วโตมากก็จะอยู่ได้ไม่นานนัก

              สาเหตุ
              สาเหตุของโรคคือ  เกิดจากพันธุกรรม  หรือมารดาเกิดโรคติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์   ทารกที่เป็นโรคสามารถเติบโตจนเป็นผู้ใหญ่และสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติจนตลอดชีวิตตามธรรมชาติ  โดยไม่ปรากฏอาการเลยก็ได้  บางชนิดถ้ารีบรักษาเสียแต่เนิ่นๆ  โดยการผ่าตัดก็สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้หรือสามารถผ่าตัดให้หายขาดได้ด้วย

              อาการ
              โรคที่ปรากฏในผู้ใหญ่ส่วนมากจะเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว  เช่น  เหนื่อย   หอบ   บวม  เป็นต้น    ถ้าโรคนี้เป็นกับเด็กเด็กจะมีอาการเหนื่อยง่าย  หอบ   ดูดนมได้ไม่นาน    ร่างกายและสมองเจริญเติบโตช้า  อาจมีอาการเขียวตามริมฝีปากและเล็บ

               การป้องกันรักษา
               การป้องกันในระหว่างมารดาตั้งครรภ์จะต้องระวังรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาต่างเมื่อมีอาการผิดปกติใดๆควรปรึกษาแพทย์และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่ากำลังตั้งครรภ์
              การรักษา
              ถาพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าเป็นโรคนี้ควรพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

  



แหล่งอ้างอิง : บุญสม มาร์ติน และคณะ.2533.พาลานามัย.อักษรเจริญทัศน์.กรุงเทพ.129หน้า

โดย : เด็กชาย สมพงษ์ รัตนสุวรรณ, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 15 กันยายน 2546