ยาเสพย์ติดและการป้องกัน

                              ยาเสพย์ติดและการป้องกัน
        "ยาเสพย์ติด"  เป็นภัยต่อชีวิต  เป็นพิษต่อสังคม" 
คำกล่าวนี้ยังคงใช้ได้ดีในทุกยุคทุกสมัย เนื่องจากทุกคนต่างทราบถึงพิษร้ายของยาเสพย์ติดกันเป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์อันเนื่องมาแต่สาเหตุนี้นับเป็นการสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศใด
        "ยาเสพย์ติด"  หมายถึง  สารเคมีหรือสารใดๆก็ตามที่เมื่อบุคคลเสพหรือรับเข้าทางร่างกายไม่ว่าโดยการฉีด สูบ กิน ดื่ม หรือวิธีอื่นๆติดต่อกันเป็นเวลานานในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเมื่อเสพเข้าไปสักระยะหนึ่งจะทำให้ผู้เสพแสดงออกมาตามลักษณะเหล่านี้
        -  ผู้เสพต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพชนิดนั้นต่อเนื่องไป
        -  ผู้เสพจะเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้มากขึ้นทุกระยะ
        -  ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้นอย่างรุนแรงจนระงับไม่ได้
                             ลักษณะที่สังเกตได้ของผู้ติดยา
      
1.  ตาโรย ขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกน้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคลำ้แห้งและแตก
       2.  เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง
       3.  มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดที่บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต
       4.  ท้องแขนมีรอยแผลเป็นที่เกิดจากการกรีดด้วยของมีคม
       5.  ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปกปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
       6.  มักสวมเสื้อแขนยาวปิดรอยฉีดยา
        พบเห็นบุคคลที่มีลักษณะเข้าข่าย 6 ประการข้างต้น ก็ไม่ควรปล่อยให้บุตรหลานของท่านร่วมเสวนาด้วย เพราะคนเหล่านี้อาจเป็นพาหะนำยาเสพย์ติดเข้ามาสู่ครอบครัวท่านก็เป็นได้
                             สาเ้หตุของการติดยาเสพย์ติด  
       1.  ความอยากรู้อยากลองด้วยความคึกคะนอง
       2.  เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
       3.  มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพย์ติดบางชนิดอาจช่วยให้สบายใจลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มาก
       4.  ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยาบางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพย์ติดได้โดยไม่รู้ตัว
       5.  สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัยมีการค้ายาเสพย์ หรือมีผู้ติดยาเสพย์ติด
       6.  ถูกหลอกใช้ยาเสพย์ติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
       7.  เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาและไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้


         



แหล่งอ้างอิง : สุพรรณ บูรณากาญจน์ หนังสือคู่มือประชาชน พุทธศักราช 2543 โรงพิมพ์ตำรวจ : 220หน้า

โดย : เด็กชาย เตชิต รัตนคช, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 15 กันยายน 2546