วัดพะโคะ(วัดราชประดิษฐาน)
            วัดพะโคะ  มีชื่อเป็นทางการว่าวัด ราชประดิษฐาน ตั้งอยู่บนเขาพระโคะหรือเขาพิพัทสิงห์
         วัดพะโคะอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลชุมพล  อำเภอสทิงพระ  จังหวัดสงขลา  พงศาวดารเมืองพัทลุงเรียก  วัดหลวงสร้างสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ.2057)  ต่อมาสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ.2091-2111) ได้รับพระราชทานที่กัลปนา(ยกให้) วัดนี้เรียกว่า  วัดราชประดิษฐาน  เคยถูกโจรสลัดมลายู(อุชงฆตนะ)ยกทัพเรือมาปล้น 2 ครั้ง เผาผลาญทำลายพระมาลิกเจดีย์วิหารพระพุทธรูปบาทและศาสนสถานอื่นๆ  จำนวนมาก
         การบูรณะปฎิสังขรณ์วัดพะโคะครั้งสำคัญคือ  ครั้งที่สมเด็จพระราชมุนีสามีราม(สมเด็จพะโคะ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบนำทะเลจืด) ขอพระราชทานที่กัลปนาใหม่ ได้บูรณะพระมาลิกเจดีย์สูง 1 เส้น 5 วา(สูงกว่าเดิม 5 วา)โดยได้รับพระราชทานยอดพระเจดีย์เนื้อเบญจโลหะยาว 3 วา 3 คืบ มาจากกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระราชมุนีสามีรามมีความสำคัญต่อวัดนี้มาก  จนได้มีอนุสาวรีย์ปางธุดงค์จาริกของท่านไว้เคารพสักการะ
        โบราณสถานสำคัญวัดพระโคะ  นอกจากพระมาลิกเจดีย์  สถาปัตยกรรมภาคใต้แบบลังกาสมัยอยุธยา  อันเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุแล้ว  ก็ยังมีพระพุทธไสยาสน์ยาว  18 เมตร  สูง  25  เมตร  ช่างท้องถิ่นเรียกกันว่า  พระโคตมะ  (พะโคะ) ประดิษฐานในพระวิหารด้านทิศเหนือของเจดีย์กับโบราณสถาน  โบราณวัตถุล้ำค่าอีกมากมาย
           วัดพะโคะเคยเป็นสถานที่กระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของเมืองพัทลุง  ทั้งบริเวณดังกล่าว  เคยพบโบราณวัตถุทางศาสนาพราหมณ์และพุทธฝ่ายมหายาน  ศตวรรษที่  12 - 14  อีกเป็นจำนวนมาก
            วัดพะโคะได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ  เมื่อ  พ.ศ. 2528


แหล่งอ้างอิง : ธีระศักดิ์ ลิมปนดุษฎี. 2533. ท้องถิ่นของเรา จังหวัดสงขลา. มปพ. 164 หน้า.

โดย : เด็กหญิง วิไลพร อาษาชำนาญ, ร.ร.กระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 6 กันยายน 2546