ประเพณีวันสารทเดือนสิบ
       การทำบุญวันสารทเดือนสิบ  หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า วันชิงเปรตนั้นในเดือนสิบ (กันยายน) มีการทำบุญที่วัด 2 ครั้ง

         ครั้งแรก  วันแรม  1 ค่ำ  เดือนสิบเรียกว่า  วันรับเปรต
         ครั้งที่สองวันแรม  15  ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า  วันส่งเปรต
        การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการี  ผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิ  เป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา  พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ  ณ  วัดดดดดที่เปป็นภูมิลำเนาของตน  เพื่อร่วมพิธีตั้เปรตและชิงเปรต  อาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ  ณ  ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่ง  จึงทำให้ผูที่ไปประกอบอาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น
       ขนมเดือนสิบ  จัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบ  ที่จำเป็นมี  5  อย่าง คือ
         1.  ขนมลา     เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่ม
         2.  ขนมพอง  เป็นสัญลักษณ์แทนแพ  สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
         3.   ขนมกง    ( ขนมไข่ปลา )  เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
         4.   ขนมเจาะรูหรือขนมเจาะหูหรือขนมเบซำ  เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
         5.    ขนมบ้า   เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า  สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
         ในวันแรม  1  ค่ำเดือนสิบ  ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัด  ชาวบ้านเรียกวันนี้ว่า  วันชิงเปรต  เป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรตชนมาเยี่ยมลูกหลาน  ลูกหลานก็ทำบุญต้อนรับครั้งหนึ่ง  ในวันแรม  15  ค่ำเดือนสิบเรียกว่า  วันส่งเปรต  เป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก  ลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง

                                              



แหล่งอ้างอิง : ธีระศักดิ์ ลิปนดุษฎี. 2539. ท้องถิ่นของเรา. มปพ. 163 หน้า

โดย : เด็กหญิง สุธาสินี ทองเนื้อขาว, ร.ร.กระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 6 กันยายน 2546