จัดระเบียบโรงเรียนมัธยม
จัดระเบียบโรงเรียนมัธยม
 
 
 

     เพื่อตอบสนองนโยบายการจัดระเบียบโรงเรียนที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบ หมายทุกโรงเรียนในสังกัดให้ดำเนินการในปีการศึกษา 2545 กรมสามัญศึกษาได้ระดมความคิดและประสบการณ์ จาก โรงเรียนเป็นกรอบความคิดเบื้องต้นดังนี้

     การจัดระเบียบโรงเรียนมีเป้าหมายที่จะพัฒนา กำกับดูแลให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ผู้ปกครองและนักเรียน จะมั่นใจ ได้ว่ามีความอบอุ่น ปลอดภัย ปราศจากสารเสพติดและอบายมุข มีบรรยากาศความเป็นกัลยาณมิตร เอื้อต่อ การเรียนรู้ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและระเบียบวินัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

     การจัดระเบียบโรงเรียนจะเกิดขึ้นต้องอาศัยความร่วมแรงจากผู้บริหาร ครู-อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง และ ผู้ที่ เกี่ยวข้องกับโรงเรียนทุกระดับ ทั้งนี้ จะต้องเชื่อมโยงกับการจัดระเบียบครอบครัวและ การจัดระเบียบสังคม อย่าง แนบแน่น

     โรงเรียนที่มีการจัดระเบียบควรมีลักษณะเบื้องต้นดังนี้
     1. มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่น เป็นระเบียบ ปลอดภัย ไร้มลพิษ มีพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ การกีฬาและนันทนาการ เพียงพอ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้อาคารสถานที่ การประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
     2. มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีครูที่ปรึกษาในสัดส่วนเหมาะสม การจัดเครือข่ายผู้ปกครอง เป็นรายห้อง การเยี่ยมบ้าน ซึ่งจะช่วยให้โรงเรียนสามารถร่วมมือกับทางบ้านเฝ้าระวังดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นราย บุคคลอย่างใกล้ชิดทันเหตุการณ์

      3. มีระบบประกันคุณภาพภายในที่จะกำกับติดตามและปรับปรุงการดำเนินงานของโรงเรียน ทั้งด้านบริหาร และ วิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกัน คณะครู - อาจารย์ได้ร่วมกัน ปรับปรุง เพิ่มเติม จากมาตรฐานระดับชาติ

     4. กำหนดเป้าหมายคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างชัดเจน และทำความตกลงร่วมกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ ข้อควรปฏิบัติ ข้อห้าม มาตรการส่งเสริมการทำความดี และการรักษาระเบียบวินัยของนักเรียน โดยถือเป็นพันธกิจที่จะร่วมมือกันอย่างเคร่งครัด และเป็นธรรม
     5. มีกลไกที่จะเปิดโอกาสให้ครู-อาจารย์ ผู้ปกครอง ชุมชนและนักเรียนได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน อย่างเป็นรูปธรรมโดยผ่านองค์กรทางการ เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการหลักสูตรและวิชาการ คณะกรรมการนักเรียน หรือชมรมและองค์กรคณะบุคคลที่ไม่เป็นทางการ
     แต่ละโรงเรียนย่อมมีมาตรการจัดระเบียบด้านอื่นๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น เช่น เรื่องค่าใช้จ่าย การรับนักเรียน โดยการดำเนินการใดๆ ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่นักเรียนเป็นสำคัญ และจัดการติดตามประเมินผล เพื่อ ปรับปรุง มาตรการให้มีประสิทธิภาพและเหมาะกับยุคสมัย และเหนือสิ่งอื่นใด ผู้บริหาร ครู-อาจารย์และผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีงามของนักเรียน

     การจัดระเบียบโรงเรียนจึงไม่ได้หมายความถึงการกำกับดูแลให้นักเรียนอยู่ในระเบียบวินัยเท่านั้น แต่รวมถึงการ ร่วมกันสร้างสังคมและสภาพแวดล้อมที่จะน้อมนำขัดเกลาให้นักเรียนคิดชอบ ประพฤติชอบอย่างต่อเนื่อง จนฝังรากลึกใน จิตสำนึกจวบจนเติบใหญ่ต่อไป

 


แหล่งอ้างอิง : www.ge.go.th

โดย : นาย วิรพงษ์ ทะก๋า, สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 28 สิงหาคม 2546