ข่า

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

เรื่อง ข่า

หัวข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของ samunpai.com

ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galanga (L.) stuntz

วงศ์ Zingiberaceae

ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)

ลักษณะของพืชข่ามีลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เรียกว่าเหง้า เนื้อในมีสีเหลืองกลิ่นหอม

เฉพาะลำต้นที่อยู่เหนือดินสูงได้ 2 เมตร

ใบสีเขียวอ่อนสลับกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่นอ สีนวลขาว

การปลูก ปลูกโดยใช้เหง้า ข่าชอบที่ดอน ดินร่วนซุย มีอาหารอุดมสมบูรณ์

และความชุ่มชื้นเหมาะสม ไม่ชอบน้ำขัง การปลูกโดยพรวนดินให้ร่วน

จึงขุดแง่งข่าออกมาจากกอเดิมนำเอามาแบ่งให้ยาวประมาณ 1 คืบ ให้มีรากติดด้วย

ฝังในหลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ กลบดินรดน้ำให้ชุ่ม

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงเวลาที่เหง้าแก่

รสและสรรพคุณยาไทย เหง้าข่ามีรสเผ็ด ขับลม แก้บวม ฟกช้ำ

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เหง้าข่าประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)

ในน้ำมันนี้ยัง ประกอบด้วยสารชนิด cinnamate,cineol,

eugenol camphor, pinenes เป็นต้น

น้ำมันนี้มีฤทธิ์ต้านเชื้อราต่างๆ มีฤทธิ์ขับลมต้านเชื้อแบคทีเรีย

วิธีใช้ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ทำได้โดยใช้เหง้าแก่ของข่าสดหรือแห้ง

ขนาดเท่าหัวแม่มือต้มกับน้ำดื่ม กลากเกลื่อน เอาหัวข่าแก่ล้างให้สะอาด

ฝานออกเป็นแว่นบางๆหรือทุบให้แตก เอาไปแช่เหล้าโรงทิ้งไว้ 1 คืน

ทำความสะอาดบริเวณที่เป็น เอายามาทาบริเวณที่เป็น จนกว่าจะหาย

 

 

 



แหล่งอ้างอิง : www.samunpai.com

โดย : นางสาว จีรนันท์ หกทับสาม, โรงเรียนเสนา"เสนาประสิทธ์", วันที่ 23 กันยายน 2545