ภาวะเรือนกระจก
 

ภาวะเรือนกระจก (Green  house  Effect )
   ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งให้ความร้อนกับโลก  แต่ความร้อนส่วนใหญ่จะสะท้อนกลับไปในอากาศทำให้
อุณหภูมิที่พอเหมาะ แต่เมื่อมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ซึ่งได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและสิ่งอื่น ๆ
สู่อากาศมาก ๆ ก๊าซนี้จะไปสะสมที่บรรยากาศ จนกระทั่งกลายเป็นชั้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บาง ๆ ห่อหุ้มโลกไว้ 
ชั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้จะยอมให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้ามาสู่โลกได้  แต่จะไม่ยอมให้ความร้อนออกไป 
โดยทำหน้าที่เหมือนเรือนกระจกสะท้อนความรู้อนที่จะออกสู่ภายนอกกลับเข้ามาสู่โลก  ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 
นักวิทยาศาสตร์เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า ภาวะเรือนกระจก และเรียกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่า ก๊าซเรือนกระจก
 นอกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ก๊าซชนิดอื่น ๆ เช่น ก๊าซไนโตรเจนซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของ
รถยนต์  ก๊าซซีเอฟซี  ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตพวกพลาสติก  โฟม และสารที่ใช้ทำความเย็นในตู้เย็น
และเครื่องปรับอากศ  ก๊าซเหล่านี้มีผลต่อการเกิดภาวะเรือนกระจกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะก๊าซซีเอฟซียังมีผล
ต่อการทำลายชั้นโอโซน  ซึ่งเป็นบรรยากาศโลกที่ช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ให้ผ่านเข้ามาสู่โลก
ในบริเวณที่พอเหมาะ
 ผลเสียของภาวะเรือนกระจก
 เมื่อโลกมีอุณภูมิสูงขึ้น  จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนโลก  โดยเฉพาะการเกิดฝน
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความแห้งแล้ง หรือน้ำท่วมในบางพื้นที่อย่างรุนแรง นอกจากนี้เมื่อโลกร้อนขึ้นจะทำให้ภูเขาน้ำแข็ง
ที่ขั้วโลกละลาย  ซึ่งจะทำให้น้ำทะเลมีระดับสูงขึ้น และพื้นที่บางแห่งจะถูกน้ำท่วมมากยิ่งขึ้น
 
 
 
 
 


ที่มา : คู่มือครู สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (วิทยาศาสตร์) กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

โดย : นาย นายวิทูร คมขำ, โรงเรียนวัดคุ้งยางใหญ่, วันที่ 21 กันยายน 2545