คูน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula Linn. วงศ์ Leguminosae ชื่อท้องถิ่น ลมแล้ง(ภาคเหนือ) ลักเกลือ ลักเคย (ปัตตานี) ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) กุเพยะ (กระเหรี่ยง) ลักษณะของพืช คูนเป็นไม้ยืนต้นมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ปลายแหลมดอกเป็นช่อระย้าสีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ฝักกลมยาวเวลาฝักอ่อนจะมีสีเขียวใบไม้แก่จัดจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อในฝักแก่ ช่วงเวลาที่เก็บยา เก็บในช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม รสและสรรพคุณยาไทย รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ไม่ปวดมวนในช่องท้อง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Anthraquinones หลายตัว เช่น Aloin, Rhein,Sennoside A, B และยังมี Organic acid สาร Anthraquinoneทำให้เนื้อฝักคูนมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ โดยมีฤทธิ์ไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำใช้เนื้อในฝักคูนแล้วไม่จำเป็นต้องไปรับประทานยาถ่ายอีกเพราะเนื้อฝักคูนเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องนี้ได้ดีมาก วิธีใช้ เนื้อในฝักคูน แก้อาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี โดยการนำเอาเนื้อฝักคูนที่แก่แล้วเอามาสักก้อนหนึ่งขนาดนิ้วหัวแม่มือ หรือขนาดประมาณ 4 กรัมเอามาต้มกับน้ำ ใส่เกลือเข้าไปเล็กน้อย ดื่มตอนเช้าก่อนอาหาร สำหรับสตรีมีครรภ์สามารถเอาพืชสมุนไพรนี้มาใช้ได้โดยไม่เป็นอันตรายใดๆเลย
|