อาณาจักรพืช
คลิกเพื่อเพิ่ม

อาณาจักรพืช

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาให้อยู่ในอาณาจักรพืช

  1. สามารถสร้างอาหารเองได้ เพราะมีคลอโรฟิลล์
  2. เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่เคลื่อนไหวได้
  3. มีการดำรงชีวิตแบบผู้ผลิต
  4. สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีได้
  5. เซลล์ มีผนังเซลล์
  6. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า เพราะไม่มีระบบประสาท
  7. เซลล์เป็นแบบ Eukaryotic cell ( มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส )

เราสามารถจำแนกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชออกเป็น 8 ดิวิชั่น ดังนี้

  1. ดิวิชั่นไบรโอไฟตา ( Bryophyta )
  • เป็นพืชดิวิชั่นเดียวที่จัดว่าเป็น พืชไม่มีท่อลำเลียง ( Non – vascular plant )
  • ไม่มีราก ลำต้น ใบ ที่แท้จริงจะมีส่วนทำหน้าที่คล้ายราก ลำต้น ใบ

ราก เรียกว่า Rhizoid (ไรซอย) ยึดเกาะ, ดูดอาหาร

ลำต้น เรียกว่า Caulidium (คัวลิเดียม)

ใบ เรียกว่า Phyllidium (ฟิลลิเดียม) สังเคราะห์แสง

  • เป็นพืชที่ชอบความชื้นสูง ต้นเตี้ยคล้ายสาหร่าย
  • วงจรชีวิตเป็นแบบสลับมี 2 ช่วง คือ

แกมีโตไฟต์ คือช่วงชีวิตของพืชที่มีส่วนคล้ายราก ลำต้น ใบ มีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เรียกว่า Anterridium และมีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เรียกว่า Archegomiun

สปอร์โรไฟต์ คือช่วงชีวิตที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกิดการงอกเจิญเป็นต้นสปอร์โรไฟต์จะอยู่บนแกมีโตไฟต์ ปลายของสปอร์โรไฟต์มีอับสปอร์ทำหน้าที่สร้างสปอร์

ตัวอย่าง ได้แก่ มอส , ลิเวอร์เวิร์ต , ฮอร์นเวิร์ต

 

 

 

  1. ดิวิชั่นไซโลไฟตา ( Psilophyta )
  • เป็นพืชที่มีท่อลำเลียง แต่มีวิวัฒนาการต่ำสุด , ไม่มีใบ
  • ไม่มีรากและใบที่แท้จริงแต่มีใบเกล็ดเล็ก ๆ ตามข้อ
  • มีลำต้นที่แท้จริงมีสีเขียวขนาดเล็กเป็นเหลี่ยมแตกกิ่งเป็นคู่
  • มีวงชีวิต 2 ช่วงคือ

แกมีโตไฟต์ มีลำต้นขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน ไม่มีสีเขียว มีไรซอย มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเมื่อมีการผสมพันธุ์แล้วเจริญเป็นสปอร์โรไฟต์ แกมีโตไฟต์จะสลายไป

สปอร์โรไฟต์ มีลำต้นขนาดเล็กตั้งตรงเหนือพื้นดิน มีสีเขียว ไม่มีใบหรือใบเป็นเกล็ดเล็ก ๆ มีอับสปอร์ที่บริเวณกิ่ง เรียกว่า สปอร์แรงเจียม (Sporangium)

ตัวอย่าง หวายทะนอย หรือ ไซโลตัม

  1. ดิวิชั่นไลโคไฟตา ( Lycophyta )
  • มีราก ใบ ลำต้นที่แท้จริง
  • บางชนิดมีลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อยตามพื้นดิน มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า Phizoid
  • ใบมีขนาดเล็ก เรียงซ้อนกันเรียกว่า Porophill ทำหน้าที่ห่อหุ้มรองรับสปอร์ส่วนปลายยอดจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ เรียงซ้อนกันเรียกว่า Strobilus

ทำหน้าที่สร้างสปอร์

    • เมกะสปอร์แรงเจียม ( เพศเมีย )
    • ไมโครสปอร์แรงเจียม (เพศผู้ )

ตัวอย่าง พวก Lycopodium ได้แก่ ช้องนางคลี่ สามร้อยยอด

พวก Selaginella ได้แก่ ต้นตีนตุ๊กแต ,พ่อค้าตีเมีย ,หญ้าร้องไห้ ,เฟือยนก

  1. ดิวิชั่นสฟีโนไฟตา ( Sphenophyta )
  • มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
  • ลำต้นขนาดเล็ก มีสีเขียว ต่อกันเป็นข้อและปล้องชัดเจน
  • ใบไม่มีสีเขียวแต่มีลักษณะคล้ายเกล็ดแตกออกรอบๆข้อ
  • ปลายลำต้นที่เจริญเต็มที่ จะมีกลุ่มที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์เรียกว่า Strobilus
  • รากเจริญจากข้อของลำต้นใต้ดิน
  • ช่วงชีวิตที่เด่นคือ สปอร์โรไฟต์

ตัวอย่าง ( Equiselum ) หญ้าถอดปล้อง , สนหางม้า , หญ้าหูหนวก , หญ้าเหงือก

  1. ดิวิชั่นเทอโรไฟตา ( Pterophyta )
  • มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
  • ใบมีขนาดใหญ่เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ ใบอ่อนจะม้วนจากปลายใบมายังโคนเป็นวง
  • ระยะสปอร์โรไฟต์ จะมีกลุ่มอับสปอร์อยู่ใต้ท้องใบเรียกว่า Sorus
  • ระยะแกมีโตไฟต์ จะมีลักษณะเป็นแผ่นสีเขียวบางๆ คล้ายรูปหัวใจเรียกว่า Prothallus

ตัวอย่าง พวกเฟิร์น ผักกูด ย่านลิเภา ผักแว่น ชายผ้าสีดา

  1. ดิวิชั่นโคนิเฟอโรไฟตา ( Coniferophyta )
  • มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
  • ใบมีขนาดเล็กเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปเข็ม
  • ลำต้นสูงใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขา มีเนื้อไม้มาก
  • เป็นพวกแรกที่อาศัยลมในการผสมพันธุ์
  • บริเวณปลายกิ่งจะมี Cone หรือ Strobilus เป็นแผ่นแข็งสีน้ำตาลเรียงซ้อนกันแน่น ( เพศเมีย )
  • มีเมล็ดใช้สำหรับสืบพันธุ์ เมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้มจะติดอยู่กับส่วน Strobilus
  • ช่วงชีวิตที่เด่นคือ สปอร์โรไฟต์ ( อาศัยเพศ )

ตัวอย่าง สนสองใบ , สนสามใบ

  1. ดิวิชั่นไซแคโดไฟตา ( Cycadophyta )
  • มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
  • ลำต้นเตี้ย มีขนาดใหญ่
  • ใบเป็นใบประกอบ มีขนาดใหญ่คล้ายใบมะพร้าวแต่เป็นกระจุกที่ส่วนยอด
  • มีเมล็ดใช้ในการสืบพันธุ์มี Cone เมล็ดไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้มเหมือนพืชพวกสน

งอกได้ทันทีไม่ต้องฟักตัว

ตัวอย่าง ต้นปรง

 

 

 

  1. ดิวิชั่นแอนโทไฟตา ( Anthophyta )
  • มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในพวกพืชมีท่อลำเลียง
  • มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
  • มีระบบลำเลียงเจริญดี มีท่อลำเลียงน้ำ ( Xylem ) และท่อลำเลียงอาหาร (Phloem)
  • มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม
  • การปฏิสนธิ เป็นแบบซ้อน Double Fertilization การปฏิสนธิ 2 ครั้ง

ตัวอย่าง พืชมีดอก แยกได้ออกเป็น พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

พืชใบเลี้ยงคู่

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

  1. มีใบเลี้ยง 2 ใบ
  2. เส้นใบเป็นแบบร่างแห
  3. ใบเลี้ยงชูเหนือพื้นดิน
  4. ระบบรากแก้ว
  5. ระบบท่อลำเลียงเป็นวงรอบข้อ
  6. กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ 4-5
  7. รากจะมีท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหาร 4 แฉก
  8. มี Cambium และมีการเจริญทางด้านข้าง

1. มีใบเลี้ยง 1 ใบ

2. เส้นใบเรียงแบบขนาน

3. ใบเลี้ยงไม่ชูเหนือพื้นดิน

4. ระบบรากฝอย

5. ระบบท่อลำเลียงกระจัดกระจาย

6. กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ 3

7. รากจะมีท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหารมากกว่า 4 แฉก

8. ไม่มี Cambium และไม่มีการเจริญทางด้านข้าง

 

 

 

 

 

ข้อความ

โดย : นางสาว ธนรัตน์ ทีฆพงศ์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 19 กันยายน 2545