กาลิเลโอ

ชีวิตของกาลิเลโอ นับได้ว่าเป็น ตัวอย่างที่ดี ตัวอย่างหนึ่ง ของผู้ที่มีจิตใจเป็น นักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เพราะเป็นผู้ทีมี คุณสมบัติการเป็นคน ช่างสังเกต มีความอยากรู้ อยากเห็น มีเหตุผล ใจกว้าง และเป็นผู้ที่มี ความอดทน ต้องต่อสู้กับความ ยากลำบาก ในการยืนหยัด ต่อความคิด ที่ถูกต้อง ที่ได้ค้นพบ ความจริงบางอย่าง ของธรรมชาติ จนต้องถูก ต่อต้าน ถูกประณาม ว่าเป็นคนนอกศาสนา เพราะไปคัดค้าน คำสอนทางศาสนา ซึ่งศาสนจักร ในสมัยนั้น มีอำนาจ และมีอิทธิพล ครอบงำ ความเชื่อของประชาชนอยู่ จน ต้องถูกขึ้นศาล และถูกลงโทษจำคุก
ชีวิตในวัยเด็ก เท่าที่มีประวัติเล่าขานกัน เกิดที่เมืองปิซา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศ อิตาลี ครอบครัวไม่ร่ำรวยนัก กาลิเลโอ เป็นเด็กที่ชอบ เรียนหนังสือ บิดาได้ว่าจ้างครู มาสอนหนังสือ ให้ที่บ้าน ในปี ค.ศ. 1574 ได้ย้ายไปอยู่ที่เมือง ฟลอเรนซ์ และได้รับการศึกษา จากบาทหลวง ในเมืองวาลลอมโบรซา

เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้เข้าศึกษา วิชาแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยปิซา เล่ากันว่า วันหนึ่ง ในมหาวิหารปิซา กาลิเลโอได้ยืนจ้องมอง โคมระย้า บนเพดานของวิหาร เห็นโคมแกว่งไปมา เมื่อถูกลมพัด เขาสังเกตเห็นว่า ไม่ว่าโคม จะแกว่งเป็นวงกว้าง หรือแคบ คาบ(ระยะเวลา)การแกว่ง จะกินเวลา เท่ากันเสมอ ซึ่งยังความประหลาดใจแก่เขา เป็นอันมาก และต่อมาเขาได้มีโอกาส เข้าฟังการ บรรยาย วิชาเรขาคณิต ครั้งหนึ่ง ในมหาวิทยาลัย เหตุการณ์ทั้งสองครั้ง ได้จุดประกาย ความสนใจใน วิชาวิทยาศาสตร์ ของเขา โดยเฉพาะด้าน คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์
กาลิเลโอต้องออกจาก มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ ในปีค.ศ. 1585 เพราะไม่มีเงินเรียนต่อ และเพราะเขาไม่ได้ มีความสนใจ วิชา แพทยศาสตร์ ต่อมา เขาได้เข้าทำงานในมหาวิทยาลัยปิซา แต่เป็นอาจารย์ ในภาควิชา คณิตศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1589 เขาได้สอนอยู่เป็นเวลา 3 ปี ในช่วงนั้น เขาได้เขียนบทความ เรื่องการเคลื่อนที่ของวัตถุ ศึกษา การเพิ่มอัตราความเร็ว (ความเร่ง) ของวัตถุเมื่อ ตกลงสู่พื้นโลก โดยเขาได้ ทำการทดลองจาก ยอดหอเอน แห่งเมืองปิซา ซึ่งได้กลายเป็นสถานที่ มีชื่อเสียง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวมาจน ตราบถึงปัจจุบัน
เขาได้ศึกษา เรื่องคานงัด พยายามทดลองทุกอย่าง ให้เห็นจริง ทั้งการวัด ระยะทาง และการจับเวลา การสังเกตการณ์ของเขา ในหลายๆ เรื่องนั้น ขัดแย้งกับ คำสอนของ อาริสโตเติ้ล และนักปราชญ์ในสมัยก่อนอีกหลายท่าน ทำให้เขา ขัดแย้งกับ คณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย จนเขาต้อง หลีกเลี่ยง ความขัดแย้ง โดยได้ย้ายไปสอนวิชา คณิตศาสตร์ ที่เมืองปาโดวา ซึ่ง ณ เมืองนี้เขา ได้รับอนุญาตจาก ผู้ครองเมือง ให้แสดงความคิดเห็น ได้อย่างเสรี กาลิเลโอได้สอนหนังสือ อยู่ที่มหาวิทยาลัย เมืองปาดัว นานถึง 18 ปี โดยสอน วิชา เรขาคณิต และวิชาดาราศาสตร์ เขายังได้ทำการทดลองเรื่อง การเคลื่อนที่ ความเร่ง อื่นๆอีก
ใปีค.ศ. 1597 เขาได้อ่านผลงาน ของนักดาราศาสตร์ ชาวโปแลนด์ นามว่า นิโคลัส โคเพอร์นิคัส ซึ่งได้เสนอความคิดเห็นว่า โลกและดาวเคราะห์ ดวงอื่นๆ โคจรรอบ ดวงอาทิตย์ แนวคิดนี้แตกต่างจาก ความเชื่อเดิม ที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลาง ของเอกภพ ซึ่งในโลกตะวันตก ยังไม่เคยมีความคิด ในเรื่องดังกล่าวมาก่อน
ในเรื่องความคิดที่ว่า โลกกลมและ ดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลาง ของระบบ สุริยะนั้น ความเป็นจริง ในโลกตะวันออก นักวิทยาศาสตร์ ชาวอาหรับ ได้มีความเชื่อดังกล่าว มาเป็นเวลานานแล้ว ก่อนชาวตะวันตกเสียอีก ซึ่งนักวิยาศาสตร์ ในปัจจุบัน เริ่มให้ความสนใจ ศึกษา ผลงานของ นักวิทยาศาสตร์ ในโลกอิสลามในยุคนั้น ซึ่งตรงกับโลกตะวันตก ในสมัยที่เรียกกันว่า ยุคกลาง ที่เป็นยุคตกต่ำของชาวตะวันตก หลังจากการสิ้นสุด ของอาณาจักรโรมัน
ในปีค.ศ. 1607 กาลิเลโอ ตีพิมพ์ หนังสือเล่มแรกของเขา เรื่องวงเวียนปฏิภาค จากนั้นในปีค.ศ. 1609 เขาได้ทราบข่าวว่า มีนักประดิษฐ์ ของฮอลแลนด์ ได้ประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ทำจากเลนส์ขึ้น นั่นคือ กล้องโทรทรรศน์ ต่อมากาลิเลโอ ได้ลงมือสร้าง กล้องโทรทรรศน์ขึ้นเอง ในเวลาไม่กี่เดือน โดยมีกำลังขยาย ประมาณ 32 เท่า เขาได้นำมาใช้ส่องดู ดวงดาวบนท้องฟ้า ทำให้เขาได้พบ เรื่องสำคัญ อีกหลายเรื่อง เช่น เขาพบว่า พื้นผิวของดวงจันทร์ ไม่ได้เรียบเนียน แต่เป็นพื้นผิวที่ขรุขระ มีสิ่งที่มองดู คล้ายแอ่ง และภูเขา เขาได้พบ วงแหวนของดาวเสาร์ ได้พบว่าดาวพฤหัสบดี มีบริวาร อยู่ถึง 4 ดวง
ในบั้นปลายชีวิต เขาได้ถูกนำขึ้นศาลศาสนา ในกรุงโรม หลายครั้ง โดยถูกกล่าวหาว่า สั่งสอนประชาชน ให้มีความคิด แตกต่าง ไปจาก ความเชื่อเดิมที่ศาสนจักร มีอยู่ในขณะนั้น จนต้องถูกจำคุก ต่อมากาลิเลโอ ได้ล้มป่วยลง และเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642
เมื่อเวลาผ่านพ้นจนถึงศตวรรษต่อมา จึงมีผู้เห็นความสำคัญ ของกาลิเลโอ ได้เคลื่อนย้าย ศพของเขา มาฝังในมหาวิหาร กาลิเลโอนับได้ว่า เป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้ยิ่งใหญ่ คนหนึ่ง ที่ได้ทิ้งผลงาน อันยิ่งใหญ่เอาไว้ให้โลกได้รู้จัก



ที่มา : http://free.prohosting.com/~namtarn/story13.htm

โดย : นางสาว จิรารัตน์ ไต่ทัน, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 17 กันยายน 2545