การดูดซึมอาหาร
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

การดูดซึมสารอาหาร

การดูดซึมอาหารเป็นกระบวนการที่มีการนำเอาสารอาหารเข้าสู่เซลล์อย่างแท้จริง ผนังด้านในของลำไส้เล็กเป็นคลื่นและมีส่วนยื่นออกมาเป็นปุ่มเล็กๆจำนวนมากมายเรียกว่าวิลลัส (villus) ความหนาแน่นวิลลัสประมาณ 20-40 อัน ต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร วิลลัสช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหารให้มากขึ้น ผิวด้านนอกของเซลล์ของวิลลัสยังยืนออกมา เรียกว่า ไมโครวิลลัส (Microvilli) ซึ่งทำให้เพิ่มพื้นที่มากขึ้นอีก ภายในวิลลัสแต่ละอันมีเส้นเลือดและเส้นน้ำเหลืองซึ่งจะรับอาหารที่ย่อยแล้วและซึมผ่านเซลล์ที่บุผนังลำไส้ขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีเซลล์บางชนิดในวิลลัสทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยอีกด้วย

การดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ผนังลำไส้เล็ก ส่วนอาหารที่ยังไม่ถูกย่อยหรือย่อยไม่ได้เช่นเซลลูโลส ก็จะถูกส่งต่อไปในลำไส้ใหญ่

ส่วนต้นของลำไส้ใหญ่มีไส้เล็กๆ ปลายต้น เรียกว่าไส้ติ่ง ไส้ติ่งของคนไม่ได้ทำหน้าที่อะไรแต่ก็อาจเกิดอักเสบถึงต้องผ่าตัด

อาหารที่เหลือจากย่อยและดูดซึมแล้วจะผ่านสู่ลำไส้ใหญ่ ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก แบคทีเรียบางชนิดยังสังเคราะห์วิตามินบางชนิด เช่น วิตามินเค วิตามินบี 12 เซลล์ที่บุผนังลำไส้ใหญ่สามารถดูดน้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคสจากกากอาหารเข้าสู่กระแสเลือด

กากอาหารที่หมักอยู่ในลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดก๊าซขึ้น บางครั้งกากอาหารค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเกินไปทำให้

เกิดอาการที่เรียกว่าท้องผูก หากปล่อยให้ท้องผูกบ่อยๆ อาจเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคอื่นได้อีก เช่นริดสีดวงทวาร ในทางตรงข้ามถ้าผนังลำไส้ถูกรบกวนด้วยสารบางอย่างหรือจุลลินทรีย์บางชนิด เช่น เชื้อบิดจะทำให้ผนังลำไส้ดูดน้ำกลับไม่ได้ ทำให้อุจจาระเหลวถ่ายบ่อย

ในลำไส้เล็กสารอาหารส่วนใหญ่และน้ำจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอยหรือเส้นน้ำเหลืองในวิลลัสโดยวิธีต่างๆกัน เช่น การแพร่หรือการแพร่แบบฟาชิลิเทต การเคลื่อนที่โดยกระบวนการแอกทีฟทรานสปอร์ตหรือวิธีพิโนไชโทซีสของเชลล์บสงชนิดของวิลลัส



แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรียนชีววิทยา ว 041

โดย : นางสาว ศิริลักษณ์ สำราญจิต, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 17 กันยายน 2545