สัตว์เลือดอุ่นสัตว์เลือดเย็น

สัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็น

สัตว์เลือดอุ่น คือ สัตว์ที่อุณหภูมิคงที่เป็นอิสระจากอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมและสามารถควบคุมและรักษาอุณหภูมิให้คงที่ตลอดเวลาได้หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็น้อยมาก ไม่ว่าอุณหภูมิภายนอกจะหนาวเย็นหรือร้อนเพียงใดก็ตาม อัตราเมตาโบลิซึมของร่างกายจะแปรผกผันกับอุณหภูมิ สัตว์เลือดอุ่นมี 2 กลุ่มใหญ่คือ นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สัตว์เลือดเย็น คือ สัตว์ที่อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ ดังนั้นอุณหภูมิจึงอยู่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิบรรยากาศแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าสัตว์เลือดเย็นอัตราโบลิซึมจะแปรตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของสัตว์เลือดอุ่น

    1. ผิวหนัง เป็นตัวกลางในการรับหรือถ่ายความร้อนของร่างกายซึ่งกั้นอยู่
    2. ระหว่างภาวะภายในร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอก

    3. ขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมากมีขนปกคลุมร่างกาย ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง
    4. กันไปแม้จะเป็นสัตว์ชนิดเดียวกันแต่อาศัยในที่ต่างกัน

    5. ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง สัตว์เลือดอุ่นในเขตหนาวมีชั้นไขมันใต้ผิวหนังหนา

ทำหน้าที่เป็นฉนวนไม่ให้ความร้อนในร่างกายสูญไปและเป็นแหล่งที่จะให้ความร้อนแก่ร่างกาย

องค์ประกอบของสัตว์เลือดเย็น

สัตว์เลือดเย็นมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับสัตว์เลือดอุ่นเช่นกันเพียงแต่กลไกใน

การควบคุมและรักษาอุณหภูมิในร่างกายต่างกัน

ชนิดของสัตว์เลือดอุ่น

ประเภทของสัตว์เลือดอุ่นคือสัตว์จำพวกนกและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น คน ช้าง แมวน้ำ ปลาวาฬ สุนัข นก เป็นต้น

ชนิดของสัตว์เลือดเย็น

ประเภทของสัตว์เลือดเย็นคือสัตว์จำพวกสัตว์ที่ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู จิ้งเหลน กบ คางคก อึ่งอ่าง ตุ๊กแก เป็นต้น

 

 

ความแตกต่างระหว่างสัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็น

สัตว์เลือดอุ่นมีความแตกต่างจากสัตว์เลือดเย็น คือ

    1. อุณหภูมิในร่างกาย คือ สัตว์เลือดอุ่นจะมีอุณหภูมิคงที่ ส่วนสัตว์เลือดเย็น
    2. นั้นจะมีอุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม

    3. สัตว์เลือดอุ่นเป็นสัตว์จำพวกนกและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม
    4. กลไกในการควบคุมและรักษาภายในร่างกาย คือ สัตว์เลือดอุ่นจะพยายาม

รักษาอุณหภูมิให้คงที่อยู่เสมอ ส่วนสัตว์เลือดเย็นจะเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายไปตามสภาพแวดล้อมที่เเปลี่ยนไป

การหลบหลีกหลีกอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมของสภาวะแวดล้อม

สัตว์มีการปรับสภาพของตัวเองตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพราะอุณหภูมิบนโลกไม่ได้อยู่คงที่ สัตว์จึงมีการปรับเลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายเพื่อให้ตัวมันเองอยู่รอด เนื่องจากในฤดูหนาวอาหารหายากการอยู่นิ่งๆจะเป็นการเผาผลาญไขมันไปอย่างช้าๆ เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า การจำศีล สัตว์ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการนี้ในการสะสมอาหารในยามที่อาหารหายาก

การจำศีล หมายถึงสภาพที่สัตว์ซ่อนตัวอยู่นิ่งๆไม่เคลื่อนไหวในขณะที่อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจากปกติ โดยระยะนี้อัตราเมตาโบลิซึมของร่างกายจะลดลง อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง ร่างกายอาศัยอาหารที่สะสมไว้อย่างช้าๆ สภาพเช่นนี้หากเป็นพฤติกรรมของสัตว์ที่อยู่ในเขตหนาวเมื่ออุณหภูมิต่ำมากๆ เรียกว่าการหนีหนาว ถ้าเป็นสัตว์ในเขตร้อนเมื่ออุณหภูมิสูงมากๆเรียกว่าการหนีร้อน

สัตว์เลือดอุ่น

สัตว์เลือดอุ่นมีวิธีการหลบหลีกสภาวะแวดล้อมของอากาศที่ไม่เหมาะสมแตกต่างกันหลายลักษณะ เช่น การจำศีล ซึ่งอาจเป็นการหนีหนาวหรือหนีร้อน เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินแมลงเป็นอาหาร ค้างคาวบางชนิด หนูบางชนิด กระรอกแถบขั้วโลก เป็นต้น แต่สัตว์จำพวกหมีไม่จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดอุ่นที่จำศีล ถึงแม้ฤดูหนาวมันจะนอนหลับในถ้ำ ไม่ออกมาหากินก็ตาม แต่ว่าอุณหภูมิของหมีก็ไม่ลดลงมาก และจะตื่นมาเมื่อไรก็ได้ในฤดูหนาว ซึ่งตรงข้ามกับสัตว์จำพวกหนูและค้างคาวจะนอนหลับตลอดฤดูหนาวเลย

สัตว์เลือดเย็น

สัตว์เลือดเย็น เมื่อว่าอุณหภูมิของสัตว์เลือดเย็นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม แต่สัตว์เหล่านี้สามารถปรับอุณหภูมิร่างกายได้โดยไปอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น สัตว์จำพวกงูและจิ้งเหลน จะออกตากแดดในตอนเช้าเพื่อจะเพิ่มอุณหภูมิในตัวให้สูงขึ้น แต่อากาศร้อนเกินไป ก็จะหลบเข้าไปในที่เย็นๆ เช่นใต้ก้อนหินและร่มไม้ในรู เป็นต้น การปรับอุณหภูมิเช่นนี้ถือว่าเป็นการปรับตัวทางด้านพฤติกรรม ไม่ใช่การปรับตัวทางด้านสรีระ สัตว์จำพวกกบ อึ่งอ่าง คางคก เมื่ออากาศร้อนหรือในฤดูร้อน มันจะซ่อนตัวอยู่นิ่งๆไม่เคลื่อนไหว อัตราเมตาโบลิซึมต่ำลง อุณหภูมิในร่างกายลดลง และใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ สภาพเช่นนี้เรียกว่า

จำศีล แต่ถ้าอากาศหนาวเย็นหรือในฤดูหนาว สัตว์พวกนี้จะอยู่นิ่ง มีอัตราเมตาโบลิซึมต่ำ อัตราการใช้ออกซิเจนจะลดลงเป็นอย่างมาก เช่นอาจเป็น 1/3 หรือ 1/100 ของอัตราปกติ หัวใจจะเต้นนาทีละไม่กี่ครั้ง

ประโยชน์ของการจำศีลของสัตว์ มีประโยชน์ต่อการอยู่รอด เพราะว่าฤดูหนาวอาหารหายากมาก การอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่ทำให้ร่างกายค่อยๆเผาผลาญไขมันซึ่งสะสมไว้อย่างช้าๆเป็นเวลานานหลายเดือน เช่นในหนูตามปกติจะมีอัตราเมตาโบลิซึมสูงถ้าไม่จำศีลอาจจะขาดแคลนอาหารได้ง่าย


โดย : นาย ไชยกิจ ชิตานนท์, รร พนัสพิทยาคาร, วันที่ 14 กันยายน 2545