ไม้กระถาง

ดินหรือเครื่องปลูก

ในธรรมชาตินั้น ต้นไม้เจริญเติบโตหรือขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมของพรรณพืชแต่ละชนิด แต่การปลูกเลี้ยงไม้กระถาง เป็นการกำหนดให้ต้นไม้ต้องอยู่ในที่ที่จำกัดในภาชนะปลูก ดินหรือเครื่องปลูกจึงมีความจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการยึดลำต้น การอุ้มน้ำ การถ่ายเทอากาศ และง่ายในการที่รากจะไชชอนได้สะดวก การปลูกพืชในกระถาง รากพืชจะถูกจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะภายในกระถางเท่านั้น

คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตตามความประสงค์ของผู้ปลูกเลี้ยง ดินหรือวัสดุปลูกควรมีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณภาพดี ซึ่งคุณสมบัติโดยทั่วไปดังนี้

ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตตามความประสงค์ของผู้ปลูกเลี้ยง ดินหรือวัสดุปลูกควรมีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณภาพดี ซึ่งคุณสมบัติโดยทั่วไปดังนี้

  1. ดินร่วนโปร่ง น้ำหนักเบา ระบายน้ำได้ดี ถ่ายเทอากาศได้ทั่วถึง ดูดซับน้ำได้ดี
  2. มีธาตุอาหาร หรือปุ๋ยที่พืชต้องการอย่างสมบูรณ์
  3. ไม่มีความเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป
  4. มีความแน่นพอที่จะยึดให้ลำต้นทรงตัวอยู่ได้
  5. ไม่มีสารเคมีที่เป็นพิษต่อรากพืช

เนื่องจากดินปลูกไม้กระถางอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด ดินปลูกจึงควรมีลักษณะร่วนโปร่ง อุ้มน้ำ หรือเก็บความชื้นได้ดี สามารถระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี ดินทั่วไปมีคุณสมบัติทางเคมี และทางกายภาพที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมเป็นเครื่องปลูกไม้กระถางจึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพโดยมีวัสดุอื่นๆ เป็นส่วนผสมดังนี้

  1. อินทรีวัตถุ ประกอบด้วย เศษซากใบไม้ผุ เปลือกไม้แห้ง แกลบ ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ฟางข้าว และเปลือกทั่ว เป็นต้น
  2. ปุ๋ยคอก ประกอบด้วย ขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู ขี้ไก่ และขี้ค้างคาว เป็นต้น
  3. ทราย อิฐป่น และถ่านป่น

วัสดุดังกล่าวเมื่อนำมาผสมกับดินธรรมชาติแล้ว จะมีคุณสมบัติร่วน โปร่ง มีน้ำหนักเบา อินทรีวัตถุ นอกจากจะช่วยปรับสภาพเนื้อดินให้ดีขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของไม้กระถาง คือเป็นปุ๋ยโดยตรงกับพืช แต่อาจจะไม่มากเหมือนปุ๋ยเคมีก็ตาม

ความเป็นกรด เป็นด่าง หรือมี พีเอ็ช (pH) ที่เหมาะสมกับไม้กระถางต่างๆ ดังนี้ ไม้ใบกระถางควรมีค่า pH ระหว่าง 5.5 – 7.5 ไม้ดอกกระถางควรมีค่า pH ระหว่าง 5.5 – 6.0 เช่นกล็อกซีเนีย อาฟริกันไวโอเลท บีโกเนีย และกุหลาบเป็นต้น

ช่วงความเป็นกรด เป็นด่าง หรือ pH ของดินปลูกระหว่าง 5.5 – 6.0 ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับไม้กระถาง และไม้ดอกกระถางอายุยืน เช่น ไฮเดรนเยีย เบ็ญจมาสหนู เบ็ญจมาสพวง กล็อกซีเนีย บีโกเนีย อาฟริกันไวโอเลท กุหลาบ เป็นต้น เพราะระบบรากพืชสามารถใช้ธาตุอาหารหรือปุ๋ยได้ดีระดับหนึ่ง

ดินปลูกที่ดีสำหรับไม้กระถางต้องคงทน มีอายุการใช้งานได้นาน ไม่สลายหรือยุบตัวเร็ว ดินปลูกที่มีส่วนผสมของเปลือกถั่ว แกลบ เปลือกไม้แห้ง กาบมะพร้าว จะอยู่ได้นานกว่าดินที่มีส่วนผสมใบไม้ผุ ฟางข้าว หรือ หญ้าแห้ง

การให้น้ำ

ปกติการให้น้ำต้นไม้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการให้น้ำมากเกินไป น้อยเกินไป หรือให้น้ำไม่ถูกวิธีสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชเหมือนกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดของพรรณพืช สภาพของดิน หรือเครื่องปลูก สภาพแวดล้อม เช่น ในร่ม กลางแจ้ง มีลมพัดผ่านหรือไม่ อุณหภูมิ และฤดูกาล เป็นต้น

ถ้าพืชได้รับน้ำน้อยเกินไปจะทำให้ใบเหี่ยว เนื่องจากน้ำในดินมีไม่พอให้รากดูดไปเลี้ยงลำต้น ช่วงเวลาใกล้เที่ยงถึงบ่าย 3 โมงเย็น เป็นช่วงที่อากาศร้อนจัดพืชจะคายน้ำมาก เมื่อคายน้ำมากแล้วรากต้องดูดน้ำมาชดเชยให้กับใบที่เสียน้ำไปกับอากาศ ถ้าชดเชยไม่ทันก็จะทำให้ใบเหี่ยว

ถ้าน้ำมากจนเต็มช่องว่างทั้งหมดของดิน และไล่อากาศออกทำให้ดินอิ่มตัวจนเกิดน้ำขัง ก็จะไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช เพราะจำทำให้พืชขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการหายใจของราก เราเรียกความชื้นในดินระดับนี้ว่าระดับ Superfluous ถ้าดินมีน้ำขังเพียง 2–3 วัน พืชจะมีอาการเหี่ยวทั้งๆ ที่ไม่ขาดน้ำบางชนิดอาจตายได้ แต่ในทางกลับกันถ้าพืชได้รับน้ำน้อยเกินไปต้นก็เหี่ยวเหมือนกัน วิธีการให้น้ำไม้กระถาง

  1. ควรรดน้ำที่โคนต้น อย่าใช้วิธีฉีดทั้งใบ เพราะจะทำให้พุ่มและใบกระจ่ายล้มได้ และทำให้น้ำกระจายออกนอกกระถาง ทำให้น้ำไม่ถึงระดับราก
  2. ถ้าดินแห้งหดตัวหนีขอบกระถาง ทำให้น้ำไหลลงรูที่ก้นกระถางหมด และไม่ชุ่มถึงระดับราก ควรพรวนดินให้ฟูก่อนแล้งค่อนรดน้ำให้ชุ่ม
  3. ควรใช้น้ำที่ไม่แรง รดช้าๆ จนชุ่ม ไม่ควรฉีดน้ำแรงมาก เพราะจะทำให้น้ำชะหน้าดินออกจากกระถางทำให้รากลอย และแห้งได้

การรดน้ำที่ดีควรรดน้ำแล้วปล่อยให้ใบแห้งก่อนค่ำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคในขณะที่ใบพืชชื้น ควรพิจารณาตามฤดูกาล และความชื้นของดิน

ไม้กระถางในร่ม ต้องการแสงน้อย เนื่องจากการคายน้ำ การหายใจ การดูดธาตุอาหาร น้อยกว่าไม้กลางแจ้ง การให้น้ำต้องสังเกตความต้องการน้ำของพืชด้วย เช่น สัมผัสดินปลูก ความสดใสของใบ ในขณะที่อากาศแห้ง ถ้าอากาศชื้น-เย็น ควรให้น้ำวันเว้นวัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ไม้กระถางที่มีใบใหญ่ จำนวนใบมาก ใบและต้นมีลักษณะอวบน้ำ จะต้องการน้ำมากกว่าไม้ใบเล็ก หรือจำนวนใบน้อย ความต้องการน้ำแตกต่างกันตามชนิดของพรรณไม้ ไม้กระถางอายุยืน พุ่มใหญ่ ระบบรากสมบูรณ์ จะต้องการน้ำมากว่าไม้กระถางขนาดเล็ก อายุน้อย หรือระบบรากยังไม่เจริญเต็มที่ และความชื้นของดินมีผลมาจากส่วนผสมของดินปลูกที่แตกต่างกัน ดินที่มีส่วนผสมของอินทรีวัตถุ ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่น เช่น อิฐมอญทุบ ทราย จะอุ้มน้ำได้ดีกว่าดินร่วนธรรมดา ดินเหนียวระบายน้ำและอากาศได้ไม่ดี ดินแน่นแข็งตัวง่าย ทำให้ระบบรากเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ชนิดของกระถางมีส่วนสำคัญในการให้น้ำด้วยเช่นกัน เช่น กระถางดินเผามีรูพรุนทำให้การระเหยน้ำได้ง่าย ทำให้เครื่องปลูกแห้งเร็วกว่ากระถางพลาสติก แก้ว หรือโลหะ ดังนั้นไม้ที่ปลูกในกระถางดินเผาจึงควรให้น้ำบ่อยกว่ากระถางชนิดอื่น

สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับ แสง อุณหภูมิ ความชื้นและลม สิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการให้น้ำด้วย เพราะมีส่วนทำให้พืชสูญเสียน้ำจากต้นด้วยการคายน้ำกับระเหยไปจากเครื่องปลูกด้วยเช่นกัน

ชนิดของพรรณไม้ที่ต่างกันความต้องการน้ำมากน้อยก็แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นจึงมีข้อสังเกตบางประการที่พอจะบอกให้ทราบเกี่ยวกับการให้น้ำแก่พืช โดยดูจากสิ่งต่างๆ ดังนี้

  1. คุ้ยผิวดินในระดับความความลึกประมาณครึ่งนิ้ว หากดินแห้งก็ควรให้น้ำได้แล้ว
  2. สังเกตดูจากสีของผิวดินหน้ากระถาง ถ้าสีของดินจางลงมาก หน้าดินดูแห้งก็ควรให้น้ำได้แล้ว แต่ถ้าสีของดินยังค่อนข้างทึบแสดงว่าดินยังมีความชื้นอยู่ก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำขณะนั้น
  3. ดินในกระเริ่มหดตัวแยกออกจากขอบกระถางแสดงว่าดินแห้ง แต่ลักษณะนี้จะเห็นได้ชัดว่าเครื่องปลูกนี้มีส่วนผสมของดินเหนียวอยู่มาก วิธีแก้จึงควรพรวนดินให้ฟูก่อนรดน้ำ เพื่อให้ดินโปร่งและซับน้ำได้ดีขึ้น

ควรศึกษาและสังเกตนิสัยความต้องการน้ำของพืช เพราะแต่ละสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แม้จะเป็นพืชชนิดเดียวกัน ก็อาจจะต้องการที่แตกต่างกัน

วิธีการปลูก

การปลูกไม้กระถางนั้นอีกอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ขนาดของต้นไม้ และกระถางควรให้เหมาะสมกัน ถ้าต้นไม้ยังเล็กอยู่ก็ใช้กระถางเล็กไปก่อน พอต้นไม้โตพอที่จะเปลี่ยนกระถางจึงเปลี่ยนกระถางตานขนาดของต้นไม้ เนื่องจากการปลูกไม้กระถางเป็นไม้ประดับนั้นต้องการความสวยงามเป็นหลักอยู่แล้ว

ถ้าปลูกเพื่อให้เพื่อให้ไม้ในกระถางเป็นไม้ที่โตเร็ว ควรปลูกต้นไม้ต้นเดียวในหนึ่งกระถาง หรือถ้าต้นไม้เป็นทรงพุ่มแตกกิ่งก้านแผ่มากก็ควรปลูกต้นเดียวในหนึ่งกระถางเช่นกัน ส่วนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านน้อยทรงสูง แต่ถ้าต้องการให้เป็นพุ่มเพื่อความสวยงามก็ควรปลูกลงหลายต้นในหนึ่งกระถาง จำนวนต้นแล้วแต่ความเหมาะสมระหว่างต้นไม้กับขนาดของกระถาง ถ้าต้นไม้เป็นไม้ทรงสูงมีลำต้นเดี่ยวตั้งตรงแล้วแตกพุ่มตอนบน ก็ต้องปลูกลงต้นเดียวในหนึ่งกระถาง

วิธีการปลูก เมื่อเลือกกระถางตามความเหมาะสมกับต้นไม้ที่จะปลูกแล้ว เราเริ่มปลูกตามขั้นตอนดังนี้

    1. เอาเศษอิฐ หรือเศษกระถางแตกอุดที่รูระบายน้ำที่ก้นกระถางเสียก่อน ถ้าจะให้ดีต้องโรยทับด้วยกรวด อิฐมอญทุบ หรือถ่านอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ เพื่อให้ก้นกระถางโปร่ง และระบายน้ำได้ดี
    2. จากนั้นเอาดินหรือเครื่องปลูกที่เตรียมไว้ใส่กระถาง และทำมูลดินเป็นยอดแหลมเท่ากับความลึกของดินที่ปลูก
    3. ก่อนปลูกหากไม้มีรากมากเกินไปควรตัดรากเก่าออกบ้าง เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างระบบรากใหม่ที่แข็งแรง และแตกแขนงได้มากขึ้น
    4. วางโคนต้นไม้ลงที่ยอดแหลมของมูลดิน และจัดระบบรากให้แผ่ออกรอบด้าน ทิ้งตัวลงตามแนวลาดของมูลดิน
    5. เติมดินรอบๆ โคนต้นเพียงเล็กน้อยก่อน แล้วกดดินบริเวณรอบๆ โคนต้นเบาๆ เป็นการไล่โพรงอากาศ และเพื่อให้ดินสัมผัสรากพืชได้กระชับขึ้น

จากนั้นเติมดินและกดเบาๆ จนเกือบเต็มกระถาง ให้ระดับดินอยู่ต่ำกว่าขอบกระถางพอประมาณ พยายามอย่าเติมดินจนเต็มหรือพูนกระถางจนเกินไป เพราะเวลารดน้ำจะทำให้น้ำไหลออกนอกกระถางแทนที่จะซึมลงกระถาง แต่ถ้าเติมดินน้อยเกินไปก็จะทำให้ดินยุบตัวจนเกิดรากลอย หรือทำให้บริเวณโคนต้นชื้นเกินไป เป็นสาเหตุ

การให้ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยให้แก่ไม้กระถางควรพิจารณาถึงความอุดมสมบูรณ์ของเครื่องปลูกเป็นหลัก เครื่องปลูกที่มีดินร่วน ใบไม้ผุ และปุ๋ยคอกผสมอยู่ในปริมาณมาก อาจไม่ต้องให้ปุ๋ยเพิ่ม หรืออาจให้บ้างในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเครื่องปลูกที่มีใบไม้ผุ และปุ๋ยคอกผสมอยู่ในปริมาณน้อยหรือไม่มีเลยก็ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช

โดยทั่วไปการใส่ปุ๋ยให้แก่ไม้ประดับกระถางมักใช้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรีย (46-0-0) ช่วยเร่งการเจริญเติบโต โดยใส่หลังจากปลูกประมาณ 3–7 วัน และครั้งต่อไปใส่สัปดาห์ละครั้ง เพื่อเร่งให้ต้นไม้สร้างใบ แตกยอด กิ่งก้านได้ดีขึ้น เมื่อให้ปุ๋ยทุกครั้งควรรดน้ำตามเสมอเพราะน้ำจะเป็นตัวละลายให้พืชดูดน้ำไปใช้ได้สะดวก วิธีให้ปุ๋ยยูเรีย อาจจะใช้วิธีหว่านแล้วรดน้ำตามไป หรือละลายปุ๋ยในน้ำแล้วรดก็ได้

การให้ปุ๋ยไม้กระถางประดับในอาคารควรใส่ปุ๋ยเพียงเล็กน้อย ไม่ควรใส่มากเหมือนไม้กลางแจ้ง เนื่องจากภายในอาคารไม่เหมือนกับสภาพธรรมชาติปกติ จะทำให้พืชยืดลำต้นเร็ว และอ่อนแอไม่ทนต่อโรคแมลง ช่วงการใส่ปุ๋ย ควรใส่ระยะที่นำไม้ออกมาพักฟื้นภายนอกอาคาร ปุ๋ยที่ใช้อาจเป็นปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 โดยใส่ทางดิน ร่วมกับการใช้ปุ๋ยน้ำสูตรไนโตรเจนสูง เช่น 21-13-13 เสริมไปด้วยโดยการฉีดพ่นทางใบสัปดาห์ละครั้ง เมื่อเห็นว่าต้นไม้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นควรงดปุ๋ยทางใบให้เฉพาะปุ๋ยเม็ดทางดินอย่างเดียว โดยให้ปุ๋ยเคมีทุกๆ 3 เดือน ครั้งละ 1–2 ช้อนชาสำหรับไม้กระถางขนาด 8–12 นิ้ว โดยโรยรอบๆ กระถาง หรือฝังกลบ 2–3 จุด ชิดขอบกระถางปลูก รดน้ำให้ชุ่ม ไม้กระถางในร่มควรให้ปุ๋ยเคมีได้ในช่วงระยะเวลาที่พักไม้หลังจากใช้งานแล้ว ไม่ควรให้ปุ๋ยในระหว่างการตั้งประดับหรือระหว่างการใช้งาน

ให้เกิดโรคราได้ง่ายขึ้น


ที่มา : http://www.panmai.com/Pot_technic/Pot_Main.htm

โดย : เด็กหญิง อลิสา แซ่อั๊ง, โรงเรียนวัดนาวังหิน, วันที่ 12 กันยายน 2545