ผีเสื้อไหม


จุดประสงค์

อธิบายเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของผีเสื้อไหม

และเขียนแผนผังแสดงวัฏจักรชีวิตของผีเสื้อไหมได้

 

อาจารย์สุดา :  นั่นไง...ป้าอิ่ม  ยืนอยู่นั่น

อาธร :  สุนัขดุหรือเปล่าก็ไม่รู้               

น้ำฝน : ไม่เห็นมีสักตัว                         

กิ่งแก้ว : เข้าไปเลยดีกว่า                     

 

น้ำฝน :  ป้าอิ่มยังดูแข็งแรง ดีจังนะ 

  กิ่งแก้ว : นั่นนะซิ เดินเหินคล่องแคล่ว

  อาจารย์สุดา : สวัสดีค่ะป้าหนูพาเด็กๆ

                   มาขอดูการเลี้ยงไหมกับป้าค่ะ

  ป้าอิ่ม : อ๋อ!  เชิญตามสบายเลยนะคะ

 

    น้ำฝน : เอ๊ะ! ใบอะไรคะ อยู่ในตะกร้าเนี่ย

 ป้าอิ่ม : นั่นน่ะ ใบหม่อนจ้ะหนู               

 

       อาธร : เอาไปให้ไหมกินใช่หรือเปล่าครับ

                 ป้าอิ่ม : ใช่จ้ะ  นี่ไงตัวไหมมันกำลังกินใบหม่อน

       กิ่งแก้ว : อุ๊ย ! กินกันขยุกขยิกน่าอร่อยนะ

 

น้ำฝน : กินกันเสียงดังเชียว  นั่นตัวนั้น

อ้วนปี๋เลย                

                   กิ่งแก้ว :  ระยะนี้เป็นระยะที่เป็นตัวหนอนใช่ไหมคะ

              อาจารย์สุดา : ใช่จ้ะ  ระยะนี้เขาเรียกหนอนไหม

     หรือตัวไหม 

 

                    น้ำฝน : ดูซิ ตัวไหมมันกินใบหม่อนตลอดเวลาเลย

กิ่งแก้ว : น่าสนุกจริง                         

          อาธร : แต่เป็นช่วงที่ยุ่งยาก เพราะต้องเก็บ

ใบหม่อนมาให้มันกิน 

 

 

         อาธร : เอ๊ะ! ตัวไหมในแต่ละกระด้งมีขนาด

ไม่เท่ากันนี่นา             

ศักดา : จริงด้วยนะ อาธร                 

 

 

                        อาจารย์สุดา : ระยะที่เป็นตัวหนอน หรือหนอนไหม

                                             จะมี  5  ระยะ และในแต่ละระยะจะมี

                                    การลอกครบเพื่อขยายขนาด

น้ำฝน : อุ้ย! มีการลอกคราบด้วย       

 

  

                 อาธร : ตัวไหม ใช้เวลาลอกคราบ นานไหมครับ

                 อาจารย์สุดา : ก็ประมาณ  24  ชั่วโมง หรือ 1 วัน

 

 

  น้ำฝน : ดูนี่ซิคะ  ตัวใหญ่เชียว  เอ๊ะ!

      บางตัวมีเส้นใยด้วยค่ะ

                      อาจารย์สุดา : นั่นแหละ เป็นตัวไหมระยะสุดท้าย

                                    ที่เริ่มชักใยพันรอบตัว แล้วก็จะเปลี่ยนเป็น

    ดักแด้ ก็จะได้รังไหม

 

                อาจารย์สุดา : ดูนี่ซิจ๊ะ กระด้งทำเป็นช่องๆ 

เขาเรียกว่าจ่อ

   อาธร : รังไหมอยู่ในจ่อ               

 

 

              อาธร : อาจารย์ครับ ตัวไหมชักใยกี่วันจึง     

                  จะสามารถเก็บรังไหมได้ครับ

                     อาจารย์สุดา : ประมาณ 5-7  วัน และจะต้องเก็บ

         ในขณะที่ยังเป็นดักแด้

 

น้ำฝน : ทำไมคะอาจารย์            

              อาจารย์สุดา : ถ้ามันเปลี่ยนเป็นผีเสื้อก็จะ

                               เจาะรังออกมา จะทำให้เส้นไหมขาด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

โดย : นาง บุญเรือน ชุณหะเพศย์, ร.ร.สายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์, วันที่ 9 กันยายน 2545