การรักษาเกลือแร่ในร่างกาย
คลิกเพื่อเพิ่มข้อควา

การรักษาดุลยภาพของเกลือแร่ในร่างกาย

การรักษาดุลยภาพของเกลือแร่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการรักษาดุลยภาพของน้ำ

  1. ไต

    เป็นอวัยวะในการขับถ่ายน้ำและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่เกินความต้องการของร่างกาย โดยขับถ่ายเกลือแร่ที่มากเกินพอและดูดเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายกลับคืนที่ท่อหน่วยไต

  2. สัตว์ที่อาศัยในน้ำจืด

    สัตว์ที่อาศัยในน้ำจืด เช่นปลาน้ำจืด มีความเข้มข้นของเกลือแร่ในร่างกายสูงกว่าแหล่งที่

    อยู่อาศัย คือ มีแรงดันออสโมติกของของเหลวในร่างกายสูงกว่าแรงดันออสโมติกของแหล่งที่

    อยู่อาศัย น้ำจึงออสโมซิส เข้าตัวปลาตลอดเวลา จึงทำให้ปลาสูญเสียเกลือแร่ออกจากร่าง

    กาย ดังนั้นในปลาน้ำจืดจึงมีการปรับตัวและกลไกต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดย

    1. ผิวหนังและเกล็ดทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำผ่านเข้าร่างกายได้

    2. บริเวณเหงือกเป็นเยื่อบาง ๆ ที่จะสัมผัสกับน้ำอยู่ตลอดเวลา หรือย่อมมีน้ำปะปนเข้าไป

    ด้วย ปลาจึงมีการขจัดน้ำในส่วนที่ไม่ต้องการในรูปปัสสาวะที่ค่อนข้างเจือจาง และ

    ปัสสาวะบ่อย

    3. เกลือแร่ที่สูญเสียไปนั้น ร่ากายจะมีอวัยวะพิเศษบริเวณเหงือกคอยดูดแร่ธาตุกลับคืนสู่

    ร่างกาย โดยกระบวนการแอกทีฟทรานสปอร์ต

  3. สัตว์ที่อาศัยในทะเล

สัตว์ที่อาศัยในทะเล เช่น ปลาทะเล มีความเข้มข้นของเกลือแร่ในเลือดต่ำกว่าท้องทะเล

คือ มีแรงดันออสโมติกในร่างกายต่ำกว่าน้ำทะเล จึงมีการควบคุมระดับน้ำในร่างกายตรงกัน

ข้ามกับปลาน้ำจืด เกลือแร่จึงแพร่ผ่านเข้าออกร่างกายตลอดเวลา จึงทำให้ปลาสูญเสียน้ำออก

จากร่างกาย ดังนั้นปลาในทะเล จึงมีการปรับตัวและกลไกต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดย

    1. มีผิวหนังและเกล็ดเป็นตัวป้องกันไม่ให้เกลือแร่เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
    2. ดื่มน้ำทะเลมาก ๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ เป็นวิธีการที่สำคัญที่สุด เมื่อดื่มน้ำทะเลมาก ๆ ทั้งน้ำและเกลือแร่จะเข้าสู่ร่างกาย จึงมีการขจัดเกลือแร่ออกจากร่างกาย โดย
      1. ขับถ่ายเกลือแร่ออกทางเหงือก บริเวณเหงือกจะมีอวัยวะพิเศษที่คอยขับเกลือแร่ที่

      เกินความจำเป็นออกจากร่างกาย ซึ่งเกลือแร่จะถูกขับออกโดยใช้พลังงาน เพราะ

      ว่า การขับสารจากความเข้มข้นต่ำไปสู่ด้านที่มีความเข้มข้นสูง

      2.2 เกลือแร่ที่เข้าไปในร่างกาย จะไม่มีการดูดซึม

    3. ไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นสูง

4. ปลาทะเลกระดูกอ่อน

ปลาทะเลกระดูกอ่อน เช่น ปลาฉลาม มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าน้ำทะเล จึง

สะสมยูเรียในเลือดปริมาณมากเพื่อให้แรงดันออสโมติกใกล้เคียงกับน้ำทะเล

5. สัตว์ทะเลชั้นต่ำ

กลไกร่างกายของสัตว์ทะเลชั้นต่ำจะไม่เหมือนปลาทะเลชนิดอื่น แต่จะแรงดันออสโมติก

ในร่างกายให้มีค่าเท่ากับแรงดันออสโมติกในน้ำทะเลและมีปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ใกล้เคียงกับ

น้ำทะเล

  1. นกทะเล

    นกทะเลมีปัญหาการหาน้ำจืดจึงไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ได้ ถึงแม้จะขับของเสียจากไตในรูปของกรดยูริกได้ แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก

    นกทะเลเกือบทุกชนิด เมื่อกินอาหารจากทะเลจะได้รับเกลือแร่ที่เกินความจำเป็น จะมีอวัยวะพิเศษสำหรับขับเกลือแร่โดยเฉพาะเกลือโซมเดียมคลอไรด์ คือ ต่อมใต้จมูก

  2. หนูแกงการู

ปัญหาของหนูแกงการู คือ ไม่โอกาสดื่มน้ำเลยตลอดชีวิต เพราะเป็นสัตว์ทะเลทราย จึงมี

กลไกและปรับตัว โดย

    1. ได้รับน้ำจากกระบวนการแมทาบอลึซึม
    2. ในไตมีห่วงเฮนเลที่ยาวมาก ทำให้ดูดน้ำกดลับได้ดี
    3. ปัสสาวะมีความเข้มข้นมาก
    4. อุจจาระมีน้ำน้อย
    5. ออกหากินเวลากลางคืน เพื่อลดการสูญเสียน้ำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ที่มา : คู่มือเตรียมสอบ ชีววิทยา ม.4-5-6 สมาน แก้วไวยุทธ

โดย : นางสาว สุณัฐดา พิมพ์ทอง, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 9 กันยายน 2545