มะเร็งเต้านม

   ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

             โรคนี้มักจะพบในหญิงไทยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป หรือหญิงที่มีประวัติครอบครัว คือ มีแม่ พี่สาว น้องสาวหรือญาติพี่น้องที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม จะทำให้บุคคลนั้นมีโอกาสเสี่ยงต่อการที่จะเป็นมะเร็งเต้านมด้วยและปัจจัยที่อาจเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ได้แก่ หญิงที่ไม่มีบุตรหรือหญิงที่มีบุตรน้อย การรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงมากเกินไป และการรับประทานฮอร์โมนเพศโดยที่ไม่ได้อยู่ในความดูและของแพทย์ ก็เป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้

อาการที่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งเต้านม

    1. พบก้อนหรือเนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ
    2. เต้านมมีขนาดและรูปร่างเปลี่ยนไป
    3. เต้านมทั้ง 2 ข้าง มีขนาดไม่เท่ากันหรือไม่อยู่ในระดับเดียวกัน
    4. มีรอยบุ๋มหรือการดึงรั้งของหัวนม
    5. มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกมาจากหัวนม

                   ถ้าพบอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยละเลยให้เป็นเรื้อรังจนรักษาไม่หายหรือ สายเกินไป

วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

มีวิธีการตรวจอยู่ 3 วิธี คือ

    1. ตรวจขณะอาบน้ำ

ขณะที่เราอาบน้ำผิวจะลื่น ทำให้การตรวจง่ายขึ้นโดยจะใช้ปลายนิ้วมือ คือ ปลายนิ้วชี้ ปลายนิ้วกลางและปลายนิ้วนาง คลึงเบาๆ ให้ทั่วบริเวณเต้านม เพื่อหาก้อนที่แข็งเป็นไตผิดปกติ

                    2. ตรวจหน้ากระจก

                        แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

      1. ยืนตรงมือแนบลำตัวแล้วยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วสังเกตเต้านมทั้ง 2 ข้าง เพราะว่า  วิธีนี้จะทำให้สังเกตเห็นสิ่งที่ปิดปกติได้ง่ายขึ้น
      2. ใช้มือกดที่สะโพกแรง ๆ ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้กล้ามเนื้ออกยืดและหดตัว หรือ เกิดการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้ออก หลังจากนั้นสังเกตสิ่งที่ผิดปกติของเต้านม

                     3. ตรวจในท่านอน

นอนราบยกแขนข้างหนึ่งหนุนไว้ใต้ศีรษะ แล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างหนึ่งคลำให้ทั่งทุกส่วนของเต้านมโดยเริ่ม   จากบริเวณส่วนนอกและเหนือสุดของเต้านม (ดังจุดXในรูป) เวียนไปรอบเต้านม แล้วจึงค่อยๆ บีบหัวนม แล้วสังเกตว่ามีน้ำหนอง เลือด หรือของเหลวใสอื่นๆ ไหลออกมาหรือไม่ หลังจากนั้นก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับเต้านมอีกข้าง


วิธีการรักษาหรือป้องกัน

               เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาตามควรต่อไป โดยที่อาจจะรักษาด้วยการผ่าตัด การบำบัดทางรังสีและการใช้ยาสังเคราะห์บางประเภท อาจจะให้การรักษาโดยวิธีการเดียวหรือร่วมกันก็ได้

                การป้องกันเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายๆ คือ หมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งหลังหมดประจะเดือน รับประทานผักและผลไม้ อาหารที่มีเส้นใยมาก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือปรึกษาแพทย์ทันทีทที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้


ที่มา : แผ่นพับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ,www.saksiri.hypermart.net/health/taonom.htm

โดย : นางสาว ขวัญฤทัย อยู่ทองอ่อน, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 9 กันยายน 2545